วิทยาศาสตร์ ดาราศาสตร์ ฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา >>
เสือโคร่ง
เสือดาว
เสือดำ
เสือลายเมฆ
แมวป่าหัวแบน
แมวป่า
แมวลายหินอ่อน
แมวดาว
เสือปลา
เสือโคร่ง
เสือกินคน
แม้ว่าเสือใหญ่อย่างสิงโตหรือเสือดาวก็เคยมีประวัติฆ่าคนเหมือนกัน
แต่เสือโคร่งดูจะมีภาพลักษณ์ของสัตว์กินคนโดดเด่นกว่าเสือชนิดอื่น ๆ
โดยเฉพาะในประเทศอินเดีย ในช่วงปี 1902 ถึงปี 1910
มีผู้โชคร้ายตายเพราะถูกเสือโคร่งทำร้ายถึง 851 คนต่อปีโดยเฉลี่ย และในปี 1922
เพียงปีเดียวก็มีคนถูกเสือโคร่งฆ่าถึง 1,603 คน มีผู้เล่าว่าเสือโคร่งชื่อ
Champawat ในอินเดียและเนปาลเคยฆ่าคนถึง 434 คนก่อนที่จะถูกยิง อย่างไรก็ตาม
เนื่องจากประชากรเสือโคร่งทั่วโลกลดลงไปมาก
จำนวนคนที่ตายเพราะเสือโคร่งจึงลดลงตามไปด้วย
ยกเว้นที่ซุนดาบันส์ที่ยังคงมีข่าวคนถูกเสือฆ่าอยู่เนือง ๆ พื้นที่นี้ในระหว่างปี
2518-2519 มีคนถูกเสือฆ่าตายถึง 66 คน เฉพาะปี 2532 มี 15 คนและปี 2535 มี 42 คน
ผู้ที่ถูกฆ่าส่วนใหญ่จะเป็นคนที่เข้าไปจับปลา ตัดไม้ และหาน้ำผึ้งในป่านี้
ตัวเลขที่สูงผิดปรกติในปี 2535 เกิดขึ้นจากการบุกรุกป่าอย่างผิดกฎหมาย
วีธีหลีกเลี่ยงการถูกทำร้ายจากเสือของคนในบริเวณนี้คือการสวมหน้ากากคนไว้ที่ด้านหลังของศรีษะ
วิธีนี้สามารถลวงเสือไม่ให้เข้าทำร้ายได้ดีพอสมควร
เพราะตามปรกติเสือโคร่งมักจะจู่โจมจากด้านหลัง
นับตั้งแต่ปี 2521 เป็นต้นมา มีคนมากกว่า 200
คนถูกเสือโคร่งฆ่าตายบริเวณใกล้กับอุทยานแห่งชาติ Dudhwa ของอินเดีย
ซึ่งอยู่ใกล้กับทิศตะวันตกเฉียงใต้ของเนปาล
ปัญหานี้มักเกิดกับไร่อ้อยที่ติดกับชายป่า
บางครั้งเสือโคร่งอาจออกมาหากินถึงในไร่อ้อยนี้
ซึ่งสภาพของไร่อ้อยเหมาะอย่างยิ่งที่เสือโคร่งจะใช้เป็นที่กำบัง
เมือชาวไร่มาพบกับเสือเข้าโดยบังเอิญ
เสือโคร่งจึงต้องต่อสู้เพื่อป้องกันตัวและฆ่าชาวไร่ตายในที่สุด
ถึงแม้ว่าเสือโคร่งในซุนดาบันส์มีชื่อในเรื่องกินคนมาเป็นเวลานานตั้งแต่ศตวรรษที่
17 แต่เสือโคร่งในพื้นที่อื่นกลับไม่ค่อยทำร้ายคนหรือกินคน
เสือจะจับคนกินก็ต่อเมื่อเสือลำบาก บาดเจ็บ หรือแก่
จนไม่สามารถจะจับเหยื่อตามธรรมชาติได้ เมื่อเสือโคร่งนั้นได้กินคนสักครั้งหนึ่งแล้ว
อาจจะติดใจเพราะเห็นว่าคนเป็นเหยื่อที่ล่าง่าย
หากเสือโคร่งตัวนั้นเป็นแม่เสือก็อาจไปสอนลูกให้ล่าคนก็ได้
ส่วนการที่เสือกับคนพบปะกันโดยบังเอิญไม่ว่าจะเป็นเสือโคร่งตัวผู้หรือตัวเมียที่กำลังเลี้ยงลูกอ่อนก็ตาม
มักไม่ใช่สาเหตุหลักที่ทำให้เสือต้องทำร้ายหรือฆ่าคน
ปกติแล้วเสือโคร่งจัดว่าเป็นสัตว์อารมณ์ดี ไม่ฉุนเฉียวง่าย
แม้ยามที่ถูกบุกรุกมันจะส่งเสียงคำรามเตือนก่อน
แต่ถ้าผู้บุกรุกยังคงฝ่าฝืนก็จำต้องรับโทษทัณฑ์ที่บุกรุกนั้นตามกติกา
ในประเทศไทยก็เคยมีเสือโคร่งเข้าทำร้ายคนเช่นกัน แต่โอกาสที่จะเกิดมีน้อยมาก ดังจะเห็นได้จากสถิติของอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ซึ่งมีเสือโคร่งอาศัยอยู่ นับจากที่ประกาศตั้งเป็นอุทยานมาเป็นเวลากว่า 40 ปี มีกรณีเสือโคร่งทำร้ายคนเพียง 2 ครั้งเท่านั้น และมีคนตายเพียง 1 คน จำนวนนี้นับว่าน้อยมากเมื่อเทียบกับการตายจากสาเหตุอื่นที่เกิดขึ้นในป่า และจากการชันสูตรเสือทั้งสองหลังจากที่ถูกยิง ก็พบว่า เสือตัวแรกเป็นเสือชรา มีฟันผุกร่อนหลายซี่ ส่วนอีกตัวหนึ่งมีร่องรอยบาดเจ็บอยู่ก่อนแล้ว นี่อาจเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เสือโคร่งเข้าทำร้ายคน
ชีววิทยา
เสือโคร่งสามารถผสมพันธุ์ได้ตลอดทั้งปี แต่ส่วนใหญ่จะผสมพันธุ์ในราวปลายเดือนพฤศจิกายนจนถึงต้นเดือนเมษายน ช่วงเป็นสัดของตัวเมียจะยาวนานประมาณ 3-9 สัปดาห์ และยอมให้ตัวผู้ผสมพันธุ์ได้ประมาณ 3-6 วัน รังเลี้ยงลูกอ่อนของแม่เสือโคร่งมักจะเป็นใต้ไม้ล้ม ซอกหิน หรือพุ่มไม้ทึบ หลังจากตั้งท้องนานประมาณ 93-111 วัน ตัวเมียจะออกลูก ลูกครอกหนึ่งมีเสือ 1-7 ตัว แต่โดยทั่วไปจะมีประมาณ 2 หรือ 3 ตัว ลูกเสือโคร่งเมื่อแรกเกิดมีน้ำหนักประมาณ 760-1,600 กรัม ลืมตาได้เมื่อมีอายุ 6-14 วัน หย่านมเมื่ออายุได้ประมาณ 3-6 เดือน เมื่ออายุได้ 11-12 เดือนก็พร้อมที่จะออกล่าเหยื่อพร้อมกับแม่ได้ แม่เสือจะปล่อยลูกให้หากินด้วยตัวเองเมื่อลูกเสืออายุได้ 18-24 เดือน
เมื่อเริ่มใช้ชีวิตด้วยตัวเอง เสือโคร่งหนุ่มจะต้องเดินทางเป็นระยะทางไกลเพื่อหาอาณาเขตของตัวเอง บ่อยครั้งที่มันขับไล่เสือโคร่งตัวผู้ที่อายุมากแล้วยึดอาณาเขตแทน สำหรับเสือโคร่งสาว มันมักจะมีพื้นที่หากินไม่ไกลไปจากของแม่ของมันเท่าใดนัก และบางครั้งพบว่าอาจใช้พื้นที่บางส่วนร่วมกันกับแม่ของมันเอง
เสือตัวเมียจะเริ่มเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์เมื่ออายุได้ 36-48 เดือน ส่วนตัวผู้จะเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์เมื่ออายุได้ 48-60 เดือน ในราชาสถาน ประเทศอินเดีย ช่วงเวลาเป็นสัดของเสือโคร่งจะยาวนานประมาณ 15-20 วัน แม่เสือออกลูกได้ทุก ๆ 20-24 เดือน แต่เคยพบกรณีพิเศษสองครั้งคือลูกเสือตายไปตั้งแต่สองสัปดาห์แรก ทำให้แม่เสือสามารถให้กำเนิดลูกได้อีกครั้งหนึ่งในอีก 8 เดือนต่อมา
จากการเฝ้าศึกษาเสือโคร่งในอุทยานแห่งชาติจิตวันในเนปาล พบว่าวัยเจริญพันธุ์ของเสือโคร่งตัวเมียยาวนานประมาณ 6.1 ปีโดยเฉลี่ย บางตัวอาจมากถึง 12.5 ปี ส่วนในตัวผู้จะยาวนานตั้งแต่ 7 เดือน ถึง 6 ปี โดยเฉลี่ยเพียง 2.8 ปี และจำนวนลูกทั้งหมดของแม่เสือโคร่งตัวหนึ่งที่สามารถอยู่รอดจนกระทั่งแยกย้ายออกไปหากินเองมีประมาณ 4.54 โดยเฉลี่ย และในจำนวนนี้ตัวที่สามารถอยู่รอดไปจนกระทั่งผสมพันธุ์ได้มีประมาณ 2.0 โดยเฉลี่ย สำหรับตัวผู้ จำนวนลูกของมันที่สามารถอยู่รอดจนกระทั่งแยกย้ายออกไปหากินเองโดยเฉลี่ย 5.83 และจำนวนลูกที่สามารถอยู่รอดไปจนสามารถผสมพันธุ์ได้คือ 1.99
![](../../bulet2.gif)
![](../../bulet2.gif)
![](../../bulet2.gif)
![](../../bulet2.gif)
![](../../bulet2.gif)
![](../../bulet2.gif)
![](../../bulet2.gif)
![](../../bulet2.gif)
![](../../bulet2.gif)
![](../../bulet2.gif)
![](../../bulet2.gif)
![](../../bulet2.gif)
![](../../bulet2.gif)