ปรัชญา อภิปรัชญา ญาณวิทยา จิตวิทยา ตรรกศาสตร์ >>
พุทธปรัชญาในฐานะปฏิบัตินิยม
พุทธปรัชญาในฐานะสันตินิยม
พุทธปรัชญาในฐานะอเทวนิยม
พุทธปรัชญาในฐานะมานุษยนิยม
พุทธปรัชญาในฐานะธรรมาธิปไตยนิยม
พุทธปรัชญากับการศึกษา
ปรัชญาปฏิบัตินิยม
พุทธปรัชญาการเมืองและสังคม
พุทธศาสนากับการเมืองและสังคมเริ่มแรก (อัคคัญญสูตร)
วิกฤติด้านสังคม
ข้อเหมือนเรื่องการเมืองการปกครองในพุทธปรัชญาเถรวาทกับขงจื๊อ
ทัศนะพุทธปรัชญากับวิทยาศาสตร์
หลักการของพระพุทธศาสนา
การคิดตามนัยแห่งพระพุทธศาสนาและการคิดแบบวิทยาศาสตร์
พระพุทธศาสนาในฐานะเป็นรากฐานของวิทยาศาสตร์
พระพุทธศาสนาในฐานะเป็นรากฐานของวิทยาศาสตร์
สิ่งที่ทำให้วิทยาศาสตร์เจริญก้าวหน้ามาได้ สิ่งนั้นก็คือ วิธีการทางวิทยาศาสตร์
และวิธีการทางวิทยาศาสตร์ที่สำคัญก็คือ การสังเกต และการทดลอง
ในการสังเกตทดลองเบื้องต้น จะใช้ประสาททั้ง 5 คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย โดยเฉพาะตาดู
หูฟัง กายสัมผัส สามอย่างนี้สำคัญอย่างยิ่ง ในการสังเกตทดลองทางวิทยาศาสตร์
ภาษาพระเรียกว่าอินทรีย์
จุดกำเนิดของวิทยาศาสตร์คือ
1. ความใฝ่รู้ในความจริงของธรรมชาติ
2. ความเชื่อในธรรมชาติว่ามีกฎเกณฑ์แห่งความเป็นเหตุเป็นผลที่สม่ำเสมอแน่นอน
3. ความหยั่งรู้ และเล็งเห็นประโยชน์
เพราะฉะนั้นจุดกำเนิดของวิทยาศาสตร์จึงอยู่ที่ใจของมนุษย์
อยู่ที่ความใฝ่รู้และศรัทธาหรือความเชื่อ ถ้าปราศจากคุณสมบัติของจิตใจอย่างนี้แล้ว
วิทยาศาสตร์จะไม่เกิดขึ้น และไม่เจริญงอกงาม
ไม่เฉพาะความใฝ่รู้และศรัทธาที่กล่าวมาแล้วเท่านั้น
แม้แต่การค้นพบสิ่งสำคัญที่เป็นความก้าวหน้ายิ่งใหญ่ของวิทยาศาสตร์ก็เริ่มมาจากในจิตใจของนักวิทยาศาสตร์
นักวิทยาศาสตร์เหล่านั้นจะมีสิ่งหนึ่งที่เรียกว่า ความหยั่งรู้
และเล็งเห็นในใจของตนขึ้นมาก่อน ก่อนที่เขาจะเริ่มการค้นคว้าทางวิทยาศาสตร์ที่สำคัญ
โดยมากในจิตใจจะมีความหยั่งรู้อะไรขึ้นมา
เขาเล็งเห็นอะไรบางอย่างขึ้นมาก่อนและอันนี้เองที่เป็นจุดเริ่มต้นในการค้นคว้า
แล้วก็มีความมุ่งมั่นที่จะค้นคว้าต่อไป
นอกจากความใฝ่รู้และศรัทธาแล้ว สิ่งสำคัญที่ขาดไม่ได้ก็คือ ความหยั่งรู้
ซึ่งเป็นสาเหตุนำไปสู่การคิดใคร่ครวญ การคิดเป็นระบบ การคิดตั้งสมมุติฐาน
การทดสอบทดลอง แล้วนำไปสู่การค้นพบและทฤษฎีใหม่ ๆ
ไอน์สไตน์กล่าวไว้ตอนหนึ่งว่า
“ในยุควัตถุนิยมของพวกเรานี้ ผู้ทำงานทางวิทยาศาสตร์อย่างเอาจริงเอาจัง
เป็นคนจำพวกเดียวเท่านั้น ที่มีศาสนาอย่างลึกซึ้ง”
ไอนสไตน์กลับเห็นว่า ในยุคนี้หาคนที่มีศาสนายาก
มีนักวิทยาศาสตร์พวกเดียวเท่านั้นที่เป็นคนมีศาสนาอย่างจริงจัง
แต่ต้องเป็นนักวิทยาศาสตร์ที่ทำงานอย่างบริสุทธิ์ใจอย่างที่เรียกว่า
เป็นคนทำงานอย่างเอาจริงเอาจัง และกล่าวต่อไปอีกว่า
1
“วิทยาศาสตร์เกิดขึ้นได้ โดยเป็นการสร้างสรรค์ของคนที่เต็มเปี่ยมด้วย
ความใฝ่ปรารถนาต่อสัจจธรรมและปัญญาที่เข้าใจความจริง... บุคคลที่เราเป็น
หนี้ผลสำเร็จในทางสร้างสรรค์ที่ยิ่งใหญ่ทางวิทยาศาสตร์
ทุกคนล้วนเต็มเปี่ยมไปด้วยความเชื่อมั่นทางศาสนา (ศรัทธา)
อย่างแท้จริงว่าสากลจักวาลของเรานี้
เป็นสิ่งที่มีความสมบูรณ์และสามารถรับรู้ได้ด้วยการแสวงหาความรู้อย่างมีเหตุผล”
2
“สำนึกทางศาสนาที่หยั่งโยงสรรพสิ่งทั่วสากลนี้
เป็นแรงจูงใจที่แรงกล้าและประเสริฐที่สุดสำหรับการค้นคว้าวิจัยทางวิทยาศาสตร์”
3
“พุทธศาสนา... มีสภาวะที่เรียกว่า cosmic religious feeling
คือความรู้สึกหรือสำนึกทางศาสนาอันหยั่งโยงสรรพสิ่งทั่วสากลนี้อย่างเข้มข้น
หรือแรงกล้ามาก”
ไอน์สไตน์กล่าวว่า พุทธศาสนามี cosmic religious feeling สูงมาก และ cosmic
religious feeling นี้ เป็นต้นกำเนิดของการคิดค้นคว้าทางวิทยาศาสตร์
เพราะฉะนั้นจึงถือเป็นนัยได้ว่า
พุทธศาสนาเป็นรากฐานของวิทยาศาสตร์ในแง่ตามที่กล่าวมานี้