ปรัชญา อภิปรัชญา ญาณวิทยา จิตวิทยา ตรรกศาสตร์ >>

การศึกษเรื่องในพุทธปรัชญา

พุทธปรัชญาในฐานะปฏิบัตินิยม
พุทธปรัชญาในฐานะสันตินิยม
พุทธปรัชญาในฐานะอเทวนิยม
พุทธปรัชญาในฐานะมานุษยนิยม
พุทธปรัชญาในฐานะธรรมาธิปไตยนิยม
พุทธปรัชญากับการศึกษา
ปรัชญาปฏิบัตินิยม
พุทธปรัชญาการเมืองและสังคม
พุทธศาสนากับการเมืองและสังคมเริ่มแรก (อัคคัญญสูตร)
วิกฤติด้านสังคม
ข้อเหมือนเรื่องการเมืองการปกครองในพุทธปรัชญาเถรวาทกับขงจื๊อ
ทัศนะพุทธปรัชญากับวิทยาศาสตร์
หลักการของพระพุทธศาสนา
การคิดตามนัยแห่งพระพุทธศาสนาและการคิดแบบวิทยาศาสตร์
พระพุทธศาสนาในฐานะเป็นรากฐานของวิทยาศาสตร์

หลักการของพระพุทธศาสนา

พระพุทธศาสนาคือ คำสั่งสอน ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพื่อช่วยมนุษย์ให้พ้นทุกข์ ซึ่งมีหลักการสำคัญ 3 ประการคือ

1. ให้ละเว้นการกระทำความชั่ว
2.ให้ตั้งมั่นอยู่ในการกระทำแต่ความดี
3.ให้ชำระจิตของตนเองให้ผ่องใสอยู่เสมอ

หลักการสำคัญทั้งสามประการนี้จะเห็นว่าเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับร่างกายจิตใจทั้งสิ้น ซึ่งเป็นไปตามความที่พระพุทธองค์ตรัสไว้ว่า
“เราย่อมบัญญัติโลก เหตุให้เกิดโลก ความดับแห่งโลก และข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งโลก และข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งโลก ในร่างกายอันมีประมาณวาหนึ่ง มีสัญญา มีใจครองนี้”

จากข้อความนี้ จะเห็นว่าพระพุทธองค์ทรงย่อโลกทั้งโลกให้มาอยู่ในที่ร่างกายและจิตใจของมนุษย์ การปฏิบัติให้พ้นทุกข์ก็อยู่ที่การปฏิบัติทางกายและจิตใจของมนุษย์ด้วย กายและใจที่สัมพันธ์กัน หากกายไม่สบายใจก็จะมีผลต่อจิตใจ ในทางตรงกันข้ามหากใจไม่สบายก็จะมีผลกระทบต่อร่างกายด้วย แต่พระพุทธองค์ทรงเน้นความสำคัญของจิตใจเหนือร่างกายดังพุทธภาษิตว่า

“จิต เตน นียติโลโก แปลความว่า โลกอันจิตย่อมนำไปคือมีจิตเป็นผู้นำ”

“มโนปุพพงคมา ธมมา” แปลความว่า ธรรมทั้งหลายมีใจเป็นหัวหน้า ดังสำนวนที่ใช้กันบ่อยว่า ใจเป็นนาย กายเป็นบ่าว ซึ่งเน้นความสำคัญที่จิตใจ มรรคมีองค์ 8 คือทางแห่งการดับทุกข์นั้น เมื่อแรกเริ่มก็คือสัมมาทิฎฐิ หรือความเห็นชอบ ก็เป็นเรื่องของจิตใจ ไม่ใช่ร่างกาย ตามด้วยสัมมาสังกัปปะ หรือดำริชอบ ก็เป็นเรื่องของจิตใจ เช่นกัน และสองทางสุดท้าย คือ สัมมาสติ หรือระลึกชอบ กับสัมมาสมาธิ หรือตั้งใจชอบ ก็เป็นเรื่องของจิตใจทั้งสิ้น ซึ่งตรงกันข้ามกับวิทยาศาสตร์ ในแง่ของประโยชน์ พระพุทธศาสนา มุ่งหมายให้เกิดประโยชน์ต่อมนุษย์ 3 ประการคือ ประโยชน์ปัจจุบันได้แก่ ประโยชน์ที่เกิดขึ้นในการดำรงตัวอยู่ในทางโลก ประโยชน์อนาคต คือ การมีหลักศีลธรรมประจำใจ ช่วยให้การดำเนินชีวิตเป็นไปโดยราบรื่น มีอนาคตอันแจ่มใสและประโยชน์สูงสุด หรือประโยชน์อย่างยิ่ง คือสามารถระงับเหตุแห่งทุกข์ คือ กิลเลสตัณหาต่างๆ ได้โดยเด็ดขาด จึงพ้นจากทุกข์โดยสมบูรณ์หรือ วิมุติหรือ ความหลุดพ้นจากกิเลสเครื่องเศร้าหมองต่างๆ



แม้ว่าพระพุทธศาสนาจะเน้นในเรื่องจิตใจ เต่ก็มิได้ละเลยในเรื่องวัตถุเสียทีเดียว พระพุทธเจ้าเคยตรัสเกี่ยวกับ ปรมาณู หรือส่วนที่เล็กที่สุดของสสารในแง่ของวิทยาศาสตร์ไว้ แต่ทรงใช้วิธีเปรียบเทียนเพราะมิได้มีเครื่องมือวัดละเอียด ซึ่งเมื่อนำมาคิดคำนวณแล้ว ปรากฎว่าตรงกันกับการค้นพบทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งได้จากการทดลองอย่างน่าอัศจรรย์ทรงเปรียบเทียบว่า

  • 1 ธัญญามาตร (ขนาดเล็กของเมล็ดข้าว)ประกอบด้วย 7 อูกา (ศรีษะของตัวเล็น)
  • 1 อูกา ประกอบด้วย 7 สิกขา (รอยขีดเล็กๆ)
  • 1 สิกขาประกอบด้วย 37 รถเรณู (ละอองเกษรดอกไม้)
  • 1 รถเรณู ประกอบด้วย 36 ตัชชารี (ละอองรังสีมในแสงแดด)
  • 1 ตัชชารี ประกอบด้วย 36 อนู (อนุภาคขนาดเล็ก)
  • 1 อณู ประกอบด้วย 36 ปรมาณู
  • 1 ปรมาณู แบ่งแยกไม่ได้อีก เพราะหากแยกต่อไปจะหมดสภาพของสารนั้น

หากประมาณว่าเมล็ดข้าว 1 เมล็ด มีความยาวประมาณ 0.5-0.8 เซนติเมตร เมื่อคำนวนดู จะพบว่าปรมาณูมีขนาดใกล้เคียงกันกับปรมาณูที่นักวิทยาสาสตร์ค้นพบอย่างน่าอัศจรรย์

ข้อสังเกต คือ พระพุทธองค์มิได้ทรงค้นพบโดยวิธีการทดลองแบบวิทยาศาสตร์ แต่ทรงทราบโดยการหยั่งรู้ด้วยพระญาณ ซึ่งเป็นวิถีทางของจิตที่บริสุทธิ์ สามารถทราบสิ่งที่เหนือธรรมดาได้ และสิ่งที่ทรงทราบโดยวิธีนี้ก็คือ “ความจริง” ที่ท้าทายต่อการพิสูจน์ เช่นเดียวกับเรื่องสำคัญคือ “อริยสัจ 4 ” ซึ่งเป็นการค้นพบที่เป็นหัวใจของพระพุทธศาสนานั่นเอง ย่อมท้าทายต่อการพิสูจน์ได้ทุกเมื่อ ข้อแตกต่างระหว่างหลักการของพระพุทธศาสนากับหลักการของวิทยาศาสตร์คือ สิ่งที่พระพุทธเจ้าตรัสสอนไว้นั้นเป็นความจริงที่เที่ยงแท้ไม่แปรเปลี่ยน (อกาลิโก) แต่ทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์นั้นอาจล้มได้ แปรเปลี่ยนได้หากมีการค้นพบใหม่ ๆ ที่แตกต่างจากเดิม

โดยสรุป พระพุทธศาสนาเน้นที่จิตใจ ซึ่งเป็นต้นเหตุสำคัญของการเกิดทุกข์ และการแก้ทุกข์ ให้คนพ้นทุกข์ เจตนาจึงต่างกับวิทยาศาสตร์ที่ให้ความสำคัญกับความรู้ต่าง ๆ และการนำความรู้มาใช้แก้ปัญหาของมนุษย์ แต่ไม่อาจทำให้คนพ้นทุกข์ได้ เพราะไม่มีแนวทางขจัดสาเหตุที่แท้จริงแห่งทุกข์ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเป็นเพียงเครื่องมือที่สนองความต้องการ ความโลภ และตัณหา อันไม่มีขอบเขตของมนุษย์จึงต้องสนองกันเรื่อยไป ส่วนพระพุทธศาสนามุ่งลดที่เหตุแห่งทุกข์ คือ ตัณหา และกิเลส เมื่อลดความต้องการลงได้ก็ไม่จำเป็นจะต้องดิ้นรนหาอะไรมาสนองความต้องการนั้นอีกจึงเป็นวิธีดับทุกข์ที่ตรงเป้าหมาย

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย