ปรัชญา อภิปรัชญา ญาณวิทยา จิตวิทยา ตรรกศาสตร์ >>

การศึกษเรื่องในพุทธปรัชญา

พุทธปรัชญาในฐานะปฏิบัตินิยม
พุทธปรัชญาในฐานะสันตินิยม
พุทธปรัชญาในฐานะอเทวนิยม
พุทธปรัชญาในฐานะมานุษยนิยม
พุทธปรัชญาในฐานะธรรมาธิปไตยนิยม
พุทธปรัชญากับการศึกษา
ปรัชญาปฏิบัตินิยม
พุทธปรัชญาการเมืองและสังคม
พุทธศาสนากับการเมืองและสังคมเริ่มแรก (อัคคัญญสูตร)
วิกฤติด้านสังคม
ข้อเหมือนเรื่องการเมืองการปกครองในพุทธปรัชญาเถรวาทกับขงจื๊อ
ทัศนะพุทธปรัชญากับวิทยาศาสตร์
หลักการของพระพุทธศาสนา
การคิดตามนัยแห่งพระพุทธศาสนาและการคิดแบบวิทยาศาสตร์
พระพุทธศาสนาในฐานะเป็นรากฐานของวิทยาศาสตร์

พุทธปรัชญาการเมืองและสังคม

การเมืองในทัศนะของพุทธปรัชญา

การเมืองในทัศนะพระพุทธศาสนาเถรวาท พระพุทธศาสนาไม่ได้พูดการเมืองโดยตรง แต่ได้กล่าวถึงหลักการปกครองบุคลากรทางการปกครอง และเป้าหมายการปกครอง เกี่ยวกับหลักการปกครองนั้น ไม่ระบุว่าการปกครองแบบใดดีแบบใดเสีย ไม่ได้ตำหนิว่าแบบประชาธิปไตยไม่ดี แบบสังคมนิยมเสีย แต่ให้ยึดหลักการที่เป็นธรรมเป็นหลักปกครอง มุ่งการปกครองแบบธรรมาภิบาล คำสอนเรื่องอธิปไตย 3 ปรากฏอยู่ใน อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต พระไตรปิฎก เล่มที่ 20 ข้อ 479 กล่าวถึงการปฏิบัติธรรมของภิกษุไว้ 3 อย่าง ตามลักษณะของแรงกระตุ้นที่ก่อให้เกิดการปฏิบัติ 3 อย่าง

  1. อัตตาธิปไตย ถือตนเป็นใหญ่ คือ ถือเอาตนเอง ศักดิ์ศรีเกียรติภูมิ ตลอดจนผลประโยชน์ตนเป็นใหญ่ กระทำการด้วยปรารภตนและสิ่งที่เนื่องด้วยตนเป็นประมาณ
  2. โลกาธิปไตย ถือโลกเป็นใหญ่ คือความนิยมของชาวโลกเป็นใหญ่ หวั่นไหวไปตามเสียงสรรเสริญและนินทา ไม่มีหลักการที่แน่นอน กระทำการโดยปรารภจะเอาใจคนหมู่ชน หาความนิยมหรือหวั่นกลัวเสียงกล่าวเป็นประมาณ
  3. ธรรมาธิปไตย ถือธรรมเป็นใหญ่ คือถือหลักความจริงความถูกต้อง ความดีงาม เหตุผล เป็นใหญ่กระทำการด้วยปรารถสิ่งที่ได้ศึกษาตรวจสอบข้อเท็จจริงและความคิดเห็นที่ได้รับฟังอย่างกว้างขวางแจ้งชัด และพิจารณาอย่างดีที่สุดเต็มขีดแห่งสติปัญญาจะมองเห็นได้ด้วยความบริสุทธิ์ใจว่าเป็นไปโดยชอบธรรมและเพื่อความดีงามเป็นประมาณการปกครองที่ดีเลิศตามเมื่อรู้หลักอย่างนี้แล้วถ้าต้องการรับผิดชอบต่อรัฐ

อันที่จริงคำว่าอธิปไตยทั้งแบบที่ พระพุทธเจ้าทรงสอนแบบที่ใช้มาในปัจจุบันต่างก็หมายถึงความสมควรที่จะเป็นใหญ่ทั้งคู่ แต่อธิปไตย 3 นั้นเน้นหลักที่ปกครองพึงยึดถือ เมื่อเป็นผู้ปกครองแล้วจะยึดถืออะไรเป็นใหญ่ส่วนอธิปไตยที่ใช้ในคำต่าง ๆ ในปัจจุบันเน้นว่า อำนาจอธิปไตยหรืออำนาจในการปกครองควรอยู่ที่ใด หรืออยู่ที่ใคร เช่นอยู่ที่ประชาชนที่ขุนนางหรือพวกเศรษฐี เป็นต้น

สังคมในทัศนะของพุทธปรัชญา

สังคมในสมัยพุทธองค์มองจากพระไตรปิฎก เราจะเห็นว่า อาจแบ่งได้หลายลักษณะ กล่าวคือ

แบ่งตามภูมิศาสตร์

นครวาสี คนเมือง (มชฺฌิม)
ชนปทวาสี คนชนบท (ปจฺจนฺต)

แบ่งตามเชื้อชาติ

อริยกะ
มิลักขะ

แบ่งตามวรรณะ 4 คือ

ขตฺติย
พฺราหฺมณ
เวสฺส
สูทฺท
จนฺฑาล
ปุกฺกุสฺส

แบ่งตามลักษณะทางศาสนา 2

ปพฺพชิต-บรรพชิต
คิหิ-คฤหัสถ์

แบ่งตามลักษณะเศรษฐกิจหรืออาชีพ

เสฏฺฐี-มหาเสฏฺฐี-อนาถปิณฺฑิก-โชติก
กุฏุมฺพี-สุวณฺโณ นาม
คหปติ-จิตฺตคหปติ
สุวณฺณการ-กุมฺภาการ-หตฺถาการ
เคหการ-มาลาการ-คีตการ
เวชฺช-ติกิจฺฉก-กสก-อุยฺยาปาล
โคปาล-โคฆาตก-อชปาล
เนวิก-วาณิช-ยาจก-วณิพก
เนสาโท นายพราน ฯลฯ

 

แบ่งตามหน้าที่ในฐานะคนธรรมดา

คู่ 1 มาตาปิตา - ปุตฺตธีตา = พ่อแม่กับลูก
คู่ 2 ครู - สิสฺสา = ครูกับศิษย์
คู่ 3 ภริยา, ชายา - สามี-ปติ = สามีกับภรรยา
คู่ 4 สหาย - มิตฺต = เพื่อนกับเพื่อน
คู่ 5 สสามิก - กมฺมการา = นายกับลูกจ้าง
คู่ 6 ปพฺพชิต, สมณ, พราหมณ์ - คิหี = นักบวชกับประชาชน

แบ่งตามระบบราชการ

1. ราชา-มหาราชา-จกฺกวตฺติรา ราชินี - พระมหากษัตริย์
2. อมจฺจา, มหาอมจฺจา - ข้าราชการบริหาร
3. เสนาปติ - นายก
4. ราชปุริส - ข้าราชการ
5. พลนิกาโย ฯลฯ - ทหาร

อย่างไรก็ตาม ทุกคนจะต้องถือหลัก ธมฺมจารี สุขํ เสติ ผู้ประพฤติธรรมอยู่เป็นสุข จึงน่าจะเรียกว่า สังคมธัมมิก หรือ ธัมมิกสังคม ราชาก็มีธรรม ประชาชนก็มีธรรมสมณะก็มีธรรม อำมาตย์ก็มีธรรม เมื่อมีธรรมทุกฝ่ายก็อยู่เป็นสุขจะยกธรรมตามแนวพจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรมของพระราชวรมุนี (ประยุทธ์ ปยุตฺโต) ดังนี้.

1. ธรรมสำหรับทุกคน

  • ธรรมเพื่อส่งเสริมความเป็นมนุษย์ เช่น ศีล 5 สัปปุริสธรรม 7
  • ธรรมเพื่อชีวิตที่งอกงาม เช่น ปัจจัยสัมมาทิฏฐิ 2 ทสบารมีมงคล 38
  • ธรรมเตือนสติ, เช่น เทวทูต, มาร, อภิณหปัจจเวกขณ์

2. ธรรมเพื่อความดีงามแห่งสังคม

  1. ส่งเสริมชีวิตที่ดีร่วมกัน เช่น ปฏิสันถาร 2, สังคหวัตถุ 4, สาราณียธรรม 6
  2. ธรรมเพื่อการปกครอง-คุ้มครองชีวิตที่ดีร่วมกันคือพรหมวิหาร 4, ราชธรรม 10, จักกวัตติวัตร 12

3. ธรรมเพื่อผู้ครองเรือน (คฤหัสถ์)

  • ธรรมเพื่อครอบครัวเช่น ตระกูลยั่งยืน 4, ฆราวาสธรรม 4, สมชีวิธรรม 4
  • สัมพันธ์ในสังคม เช่น ทิศ 6, มิตรแท้ มิตรเทียม
  • อยู่ดีทางเศรษฐกิจ เช่นการใช้ทรัพย์ 4, ประโยชน์ปัจจุบัน 4, สุขคฤหัสถ์ 4
  • ธรรมที่พึงหลีกเว้น เช่น กรรมกิเลส 4 อบายมุข, อนันตริยกรรม, อคติ

4. ธรรมสำหรับบรรพชิต เช่น ธุระ 2, ปริสุทธิศีล 4, อภิณหปัจจเวกขณะ
5. ธรรมสำหรับอุบาสก เช่น บุญกิริยาวัตถุ อุปาสกธรรม อุโบสถศีล 8
6. ธรรมสำหรับครู เช่น ลีลาการสอน 4, กัลยาณมิตตธรรม 7
7. สัจจธรรม ที่ทุกคนควรเข้าใจและแจ่มแจ้ง คือ

1. ขันธ์ 5
2. ปฏิจจสมุปบาท 12
3. อริยสัจจ์ 4
4. มรรค 8

สังคมที่พึงประสงค์คือสังคมที่ดำเนินตามหลักสิงคาโลวาทสูตร เว้นจากสิ่งเลวร้ายคือ กรรมกิเลสและอบายมุข แล้วทำหน้าที่ให้ถูกทั้ง 6 ประการตามหลักทิศ 6 พัฒนาตน 4 ด้าน

1. ภาวิตกาโย มีปัจจัย 4 สมบูรณ
2. ภาวิตสีโล มีระเบียบด้วยศีล 5
3. ภาวิตจิตฺโต มีจิตมั่นคงด้วยสมาธิ
4. ภาวิตปัญญา มีปัญญาสูงส่งด้วยอริยชน

ข้อแรกจะต้องมีหลักทิฏฐธัมมิกัตถประโยชน์
ข้อสองจะต้องมีหลักศีลธรรมคือ ศีล 5 และสังคหวัตถุ 4 สาราณียธรรมและฆราวาสธรรม
ข้อสามจะต้องมีหลักสมาธิจิต รู้จักบำเพ็ญสมาธิ
ข้อสี่จะต้องมีหลักปัญญา 3 ให้ครบถ้วน

น.พ. ประเวศ วะสี ได้กล่าวไว้ว่า "แต่โบราณมามนุษย์ใฝ่ฝันถึงสังคมที่มีความสุขทั่วพร้อม ดังมีจินตนาการในเรื่องสวรรค์ ในเรื่องโลกพระศรีอารย์ เป็นการยากที่จะทำให้มนุษย์เลิกใฝ่ฝันเช่นนั้น นักคิดและนักปฏิบัติเพื่อสังคมมีจุดมุ่งหมายที่จะเห็นความสุขถ้วนหน้า (ปี 2538) ในสังคม สังคมที่มีความสุขถ้วนหน้าอาจมีลักษณะดังนี้.-

1. มีงานทำ มีรายได้ มีปัจจัย 4 ทั่วถึง
2. มีความปลอดภัยในชีวิต และทรัพย์สิน
3. มีครอบครัวที่เป็นสุข
4. มีคุณธรรม จริยธรรม
5. มีสิ่งแวดล้อมที่ดี
6. มีสุขภาพจิตดี มีความพอใจในชีวิต และสังคม

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย