วิทยาศาสตร์ ดาราศาสตร์ ฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา >>

ธัญพืช
(Cereals)

ข้าว (Rice) Oryza sativa L.
ข้าวโพด (corn, maize) Zea mays L.
ข้าวฟ่าง (Sorghum) Sorghum bciolor (L.) Moench
ข้าวสาลี (Wheat) Tritcum aestivum Linn.
ข้าวบาร์เลย์ (Barley) Hordeum vulgare L.
ข้าวไรน์ (Rye) Secale cereale L.
เอกสารอ้างอิง

ข้าวบาร์เลย์ (Barley) Hordeum vulgare L.

นิเวศวิทยา

ข้าวบาร์เลย์สามารถเจริญเติบโตได้ทั้งในสภาพอุณหภูมิต่ำ และอุณหภูมิสูงขึ้นกับสายพันธุ์ แต่เมื่อออกช่อดอกแล้วต้องเจริญเติบโตในสภาพอุณหภูมิค่อนข้างสูง ขณะที่ความชื้นในอากาศค่อย ๆ ลดลง ข้าวบาร์เลย์เจริญเติบโตได้ดีในเขตอบอุ่นและอากาศค่อนข้างแห้ง แต่เจริญเติบโตได้ไม่ดีนักในสภาพอากาศร้อนที่มีความชื้นในอากาศสูง สามารถเจริญเติบโตในพื้นที่ซึ่งมีปริมาณฝน ตั้งแต่ 200-1,000 มิลลิเมตร ทนทานต่อสภาพแห้งแล้ง แต่ไม่ทนทานต่อน้ำท่วมขัง ทนทานต่อสภาพอากาศหนาวเย็นได้น้อยกว่าข้าวสาลีหรือข้าวไรน์ ไม่ทนทานต่อดินกรด แต่สามารถทนทานต่อดินเค็มได้มากกว่าธัญพืชชนิดอื่น พื้นที่ปลูกข้าวบาร์เลย์ในประเทศไทย ได้แก่ เชียงราย เชียงใหม่ พะเยา ลำปาง น่าน ลำพูน และแม่ฮ่องสอน (บุญล้อม, 2546; Ceccarelli and Grando, 1996)

การเก็บเกี่ยว

การเก็บเกี่ยวกระทำเมื่อเมล็ดแก่เต็มที่ ลำต้นเริ่มเปลี่ยนเป็นสีเหลือง เมล็ดมีความชื้นลดลงเหลือประมาณ 35 เปอร์เซ็นต์ โดยใช้แรงงานคนเกี่ยวรวงข้าว หรือถอนต้นข้าวทั้งต้น หรืออาจทำการเก็บเกี่ยวโดยใช้เครื่องจักร วิธีการจัดการหลังการเก็บเกี่ยวขึ้นกับความต้องการของการนำไปใช้ประโยชน์ ว่าต้องการเมล็ดเพื่อใช้ เป็นอาหารหรือนำไปผลิตเบียร์ ซึ่งต้องใช้วิธีการที่เหมาะสมในการที่จะทำให้เมล็ดข้าวได้รับความเสียหายน้อยที่สุด (Ceccarelliand Grando, 1996)



การส่งออก

ในประเทศไทยมีพื้นที่ปลูกซึ่งเหมาะสมต่อการเจริญเติบโตและเก็บเกี่ยวผลผลิตน้อย แทบไม่มีการส่งออกแต่มีการนำเข้าข้าวไรน์จากต่างประเทศมาทดแทนความต้องการภายในประเทศซึ่งมีปริมาณเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ทุกปี เช่นเดียวกับข้าวสาลี โดยข้าวบาร์เลย์ที่มีทั้งการนำเข้าและส่งออกได้ในบางปีนั้น อยู่ในรูปของเมล็ดข้าวบาร์เลย์ เมล็ดข้าวบาร์เลย์ที่ขัดสีแล้ว ข้าวมอลท์ และข้าวมอลท์สกัด (ดิเรก, 2540)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
การจำแนกสายพันธุ์
การใช้ประโยชน์
นิเวศวิทยา

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย