วิทยาศาสตร์ ดาราศาสตร์ ฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา >>

ธัญพืช
(Cereals)

ข้าว (Rice) Oryza sativa L.
ข้าวโพด (corn, maize) Zea mays L.
ข้าวฟ่าง (Sorghum) Sorghum bciolor (L.) Moench
ข้าวสาลี (Wheat) Tritcum aestivum Linn.
ข้าวบาร์เลย์ (Barley) Hordeum vulgare L.
ข้าวไรน์ (Rye) Secale cereale L.
เอกสารอ้างอิง

ข้าวบาร์เลย์ (Barley) Hordeum vulgare L.

การใช้ประโยชน์

ในเขตร้อนและเขตกึ่งร้อนมีการปลูกข้าวบาร์เลย์เพื่อใช้เป็นอาหารหลัก โดยนำเมล็ดมาบดเป็นแป้งทำ ขนมปัง คุกกี้ เค้ก น้ำเชื่อม และน้ำหวาน ได้แก่ ประเทศอินเดีย เนปาล ทิเบต อัฟกานิสถาน รัสเซีย เอธิโอเปีย แอฟริกาเหนือ และบางส่วนของแอฟริกาใต้ ส่วนของฟางข้าวที่เหลือจากการเก็บเกี่ยวถูกนำไปใช้เลี้ยงสัตว์ ทำหลังคา ปูพื้นคอกสัตว์ ข้าวบาร์เลย์บางสายพันธุ์ถูกเก็บเกี่ยวลำต้นสด เพื่อนำมาใช้เลี้ยงสัตว์เป็นหญ้าสด หรือนำมาทำหญ้าหมัก โดยเฉพาะในช่วงที่มีการพัฒนาของเมล็ดในช่อดอกเป็นน้ำนมหรือแป้งอ่อน ต้นข้าวและตอซังข้าวที่เหลือจากการเก็บเกี่ยวก็สามารถนำมาทำหญ้าแห้งสำหรับเลี้ยงสัตว์ได้

ประเทศในเขตอบอุ่นมีการปลูกข้าวบาร์เลย์เป็นพืชอาหารสัตว์ และผลิตเมล็ดสำหรับทำข้าวมอลต์เพื่อใช้ในอุตสาหกรรมการผลิตเบียร์ เอธิลแอลกอฮอล์ วิสกี้ อาหารเสริม อาหารเด็กอ่อน อาหารเชื้อโรค เครื่องดื่มธัญพืช เครื่องดื่มมอลต์สกัดผสมช็อคโกแลต เช่น ไมโล และโอวัลติน ในการผลิตเบียร์จะใช้ข้าวบาร์เลย์สายพันธุ์ที่มีเมล็ด 2 แถว มีปริมาณโปรตีนต่ำ มีแป้งนุ่ม มีเปลือกบางมาเพาะให้มีรากงอกออกมาเป็นต้นกล้าเล็กๆ แล้วทำให้อยู่ในสภาพแห้งโดยการอบแห้ง แล้วแยกส่วนของรากออกเป็นข้าวมอลต์(malt) จากนั้นนำมาแช่น้ำที่สภาพอุณหภูมิสูงให้เอนไซม์ในต้นข้าวย่อยแป้งเป็นน้ำตาลมอลโทส(maltose) และกลูโคส(glucose) ซึ่งมีรสหวาน และเติมรสขมโดยใส่ช่อดอกของฮอพส์ (hops, Humulus lupulus L.) จากนั้นทำให้เย็นลงแล้วเติมยีสต์ที่ใช้ในการผลิตเบียร์คือ (Saccharomyces cerevisiae) ซึ่งในกระบวนการหมักจะมีเอธิลแอลกอฮอล์เกิดขึ้น 3-8 เปอร์เซ็นต์ มีก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และกลิ่นเฉพาะที่เกิดจากสารประกอบชนิดต่างๆ เกิดขึ้นด้วย จากนั้นทำการกรองแยกเชื้อยีสต์ออกมาจากเบียร์ก่อนบรรจุขวดหรือกระป๋อง (บุญล้อม, 2546; Ceccarelli and Grando, 1996; Levetin and McMahon, 2003)

คุณค่าทางอาหาร

เมล็ดข้าวบาร์เลย์หนัก 100 กรัม ประกอบด้วยน้ำ 13 กรัม โปรตีน 12 กรัม ไขมัน 2 กรัม คาร์โบไฮเดรต 68 กรัม เส้นใย 3.5 กรัม และเถ้า 1.5 กรัม (Ceccarelli and Grando, 1996)

การขยายพันธุ์

ข้าวบาร์เลย์ขยายพันธุ์โดยใช้ส่วนของเมล็ดหยอดเป็นแถวลงไปในแปลงปลูกโดยตรงซึ่งแปลงปลูกต้องมีการไถและพรวนดินให้ดีก่อน จากนั้นหยอดเมล็ดลงในดินที่เป็นร่องลึก 2-6 เซนติเมตร ระยะห่างระหว่างแถว 15-35 เซนติเมตร (Ceccarelli and Grando, 1996)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
การจำแนกสายพันธุ์
การใช้ประโยชน์
นิเวศวิทยา

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย