วิทยาศาสตร์ ดาราศาสตร์ ฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา >>
ข้าว (Rice) Oryza sativa L.
ข้าวโพด (corn, maize) Zea mays L.
ข้าวฟ่าง (Sorghum) Sorghum bciolor (L.) Moench
ข้าวสาลี (Wheat) Tritcum aestivum Linn.
ข้าวบาร์เลย์ (Barley) Hordeum vulgare L.
ข้าวไรน์ (Rye) Secale cereale L.
เอกสารอ้างอิง
ข้าวบาร์เลย์ (Barley) Hordeum vulgare L.
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
เป็นพืชปีเดียว ลำต้นตั้งตรงสูงประมาณ 80-120 เซนติเมตร ระบบรากเป็นแบบระบบรากฝอยที่มีรากพิเศษเจริญออกมาจากลำต้นเพื่อช่วยในการดูดน้ำและเกลือแร่ ลำต้นมีขนจำนวนมาก ข้อของลำต้นมีลักษณะแข็ง ปล้องของลำต้นมีลักษณะกลวง มีประมาณ 5-7 ปล้อง มีใบ 5-10 ใบ การเรียงใบแบบสลับเจริญออกไปทางด้านข้างของลำต้นทั้งสองด้าน กาบใบเรียบ เขี้ยวใบเกยซ้อนกัน ลิ้นใบเป็นแผ่นเยื่อบางยาว 1-3 มิลลิเมตร แผ่นใบรูปแถบผสมรูปใบหอก กว้าง 0.5-1.5 เซนติเมตร ยาว 5-40 เซนติเมตร ช่อดอกเป็นรูปทรงกรวยเจริญออกมาจากปลายยอดของลำต้น ช่อดอกย่อยเป็นช่อเชิงลด ความยาวช่อดอก 5-12 เซนติเมตร ดอกย่อยแต่ละดอกมีหาง ดอกย่อยไม่มีก้านดอกติดอยู่ที่แกนกลางของช่อดอกเรียงกัน 2 แถว หรือ 6 แถว กาบช่อย่อยมีลักษณะแคบปลายผอมเรียวจำนวน 2 กาบ ดอกย่อยแต่ละดอกมีกาบล่างรูปไข่กว้าง 3 มิลลิเมตร ยาว 9-11 มิลลิเมตร มีหางยื่นออกมาจากส่วนปลายอาจยาวได้ถึง 15 เซนติเมตร แต่บางสายพันธุ์ไม่มีหาง กาบบนเป็นรูปเรือมีความยาวเท่ากาบล่างแต่ไม่มีหาง มีกลีบเกล็ด 2 กลีบ เกสรเพศผู้ 3 อัน เกสรเพศเมีย 1 อัน ซึ่งส่วนยอดของเกสรเพศเมียมีลักษณะเป็นพู่แยกออกจากกันเป็นสองแฉก ผลแบบธัญพืช มีจำนวน 20-60 ผลต่อช่อดอก ผลมีรูปรี ส่วนบริเวณเอ็มบริโอมีลักษณะเว้าเข้าไป ขนาดของผลแตกต่างกันไปตามสายพันธุ์ มีส่วนของแกลบคือกาบบนและกาบล่างห่อหุ้มไว้ (Ceccarelli and Grando, 1996)
ภาพวาดแสดงส่วนต่างๆ ของข้าวบาร์เลย์
1. ลำต้นและราก 2. ช่อดอกที่มีดอกย่อยเรียงกัน 6 แถว
3. ดอกย่อย 6 ดอกที่มีดอกไม่สมบูรณ์ 3 ดอก ในแต่ละแถว
(Ceccarelli and Grando,
1996)
ภาพรวงข้าวบาร์เลย์
(Northington and Schneider, 1996)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
การจำแนกสายพันธุ์
การใช้ประโยชน์
นิเวศวิทยา