ศาสนา ลัทธิ ความเชื่อ นิกาย พิธีกรรม >>
บทบาททางการเมืองของพระสงฆ์ในประวัติศาสตร์
นอกจากพระสงฆ์ได้ทำหน้าที่หลักทั้ง 4 ประการแล้ว
พระสงฆ์ยังมีหน้าที่ที่ต้องคำนึงถึงอุปการคุณของคฤหัสถ์ โดยปฏิบัติต่อคฤหัสถ์ 5
ประการ ได้แก่
1. ห้ามปรามจากความชั่ว
2. (สั่งสอน)ให้ตั้งอยู่ในความดี
3. อนุเคราะห์ด้วยน้ำใจอันงาม
4. ให้ได้ฟังได้รู้สิ่งที่ไม่เคยฟังไม่เคยรู้
5. บอกทางสวรรค์ให้ (สอนวิธีดำเนินชีวิตให้ประสบความสุข)
หน้าที่ของพระสงฆ์ตามพระธรรมวินัย ซึ่งถือว่าเป็นหน้าที่หลักของพระสงฆ์
ส่วนพระสงฆ์กับการเมืองในทางกายกรรมเป็นสิ่งที่พึงระวังในคดีโลก
เพราะไม่เช่นนั้นจะทำให้การข้องเกี่ยวกลายเป็นมลทินในพระศาสนาไป
แทนที่จะกลายเป็นสิ่งเกื้อกูลกัน. การแสดงบทบาทและหน้าที่ของพระสงฆ์
คือให้พระสงฆ์ดำรงอยู่ในหลักพระธรรมวินัยพร้อมๆ
กับให้สั่งสอนธรรมที่เป็นไปเพื่อประโยชน์ในทางปกครอง
การเป็นอยู่ในสังคมร่วมกันอย่างชอบธรรมและเป็นธรรม มิให้พระสงฆ์ลงมือไปในทางกายกรรม
แต่จะเน้นหนักไปในทางวจีกรรม คือการเทศนาสั่งสอนธรรมด้วยมโนกรรม คือ
ใจที่ประกอบด้วยเมตตาปรารถนาดีต่อประชาชน
พระสงฆ์ในพระพุทธศาสนาจึงไม่ใช่พระสงฆ์ที่แสวงหาอำนาจใด ๆ โดยเฉพาะอำนาจทางการเมือง
เพื่อทำตนให้เป็นใหญ่ในเมือง ตรงกันข้ามพระสงฆ์ต้องมุ่งปฏิบัติเพื่อละ ลด หมดตัณหา
มานะ ทิฎฐิ เพียงแต่ดำรงตนเป็นกลางในสังคม
นโยบายของผู้มีเรือนกับผู้ไม่มีเรือนนั้นต่างกัน
พระสงฆ์เป็นบุคคลประเภทหนึ่งซึ่งมีบทบาทและหน้าที่จำเพาะในทางการเมือง บทบาทและหน้าที่ทางการเมืองของพระสงฆ์ที่สำคัญก็ คือ การแนะนำสั่งสอนธรรมเกี่ยวกับการเมือง โดยเฉพาะการแสดงหลักการปกครองที่ดีงามชอบธรรมและเป็นธรรม สอนให้นักการเมืองหรือผู้ปกครองเป็นนักการเมืองหรือผู้ปกครองที่ดีมีคุณธรรม ดำเนินกิจการการเมืองและปกครองโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขของผู้อยู่ใต้ปกครอง ความเหมาะสมหรือความสมควรแก่สมณเพศในการแสดงบทบาทดังกล่าวก็คือ การตั้งอยู่ในธรรมของสงฆ์ กล่าวคือมีความเป็นกลางที่จะแสดงธรรมเพื่อมุ่งประโยชน์สุขของประชาชน มิใช่เพื่อมุ่งให้เกิดประโยชน์ส่วนตัว แก่บุคคลกลุ่มคน หรือฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด ในประวัติศาสตร์ได้มีพระสงฆ์เข้าไปมีบทบาทในทางการเมือง เพื่อให้ความคิดและเป็นสื่อกลางระหว่าง”หลักการ”กับ”วิธีการ”เพื่อให้บ้านเมืองสงบสุข ดังตัวอย่างเหตุการณ์ต่อไปนี้
» หน้าที่ของพระสงฆ์ตามพระธรรมวินัย
» บทบาททางการเมืองของพระสงฆ์ในประวัติศาสตร์
» บทบาทพระสงฆ์ในประวัติศาสตร์ไทย
» เจ้าพระฝาง พระมหาเถราจารย์แห่งแผ่นดินสยาม
» สมเด็จพระพนรัตน วัดป่าแก้ว ต้นตำหรับพระสงฆ์กับการเมืองไทย
» พระอาจารย์ธรรมโชติ พระมหาเถระแห่งค่ายบ้านบางระจัน