ศาสนา ลัทธิ ความเชื่อ นิกาย พิธีกรรม >>
หน้าที่ของพระสงฆ์
พระสงฆ์ คือ หมู่สาวกผู้ปฏิบัติตามคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า.
ในทางรัฐศาสตร์ พระสงฆ์หรือองค์การทางศาสนาเป็นกลุ่มทางสังคม
ที่มีวัตถุประสงค์ทางการเมือง (รวมด้วย) คือ
ให้รัฐบาลช่วยเหลือแก้ไขปัญหาของคณะสงฆ์และมีนโยบายการพัฒนาคณะสงฆ์ / พระพุทธศาสนา
การมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางการเมืองเป็นเรื่องแห่งปัจจุบันสมัยที่ทุกคนควรเข้าไปเกี่ยวข้อง
บางคนที่มีความคิดล้ำหน้ามองว่า พระสงฆ์ไม่ได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมทางการเมือง
และการเรียกร้องสิทธิของคณะบุคคลเท่าที่ควรจะเป็น โดยเหตุนี้
พระสงฆ์จึงคงเหลือบทบาทหรือพันธกิจอยู่เพียง 2 บ และ 2 ส คือ บ = บิณฑบาต บ =
บังสุกุล และ ส = สังฆทาน และ ส = สวดมนต์
ซึ่งเป็นเรื่องกิจวัตรและกิจกรรมทางพิธีกรรม
โดยไม่ได้ใส่ใจต่อทุกขสัจของสังคมรอบด้าน
หน้าที่ของพระสงฆ์ มีทั้งหน้าที่หลักและหน้าที่รอง
ซึ่งล้วนแต่เป็นกิจที่พระสงฆ์ไม่อาจเลี่ยงได้ การจะปฏิบัติกิจใด ๆ
ก็ตามต้องไม่ละเลยการประพฤติในส่วนที่เรียกว่า “พรหมจรรย์”
ซึ่งเป็นความประพฤติเพื่อความประเสริฐ เพื่อบรรลุถึงความสิ้นกิเลส
โดยประพฤติให้เป็นไปตามพุทธบัญญัติและต้องเอื้อเฟื้อ
ไม่ละเมิดพุทธอาณัติอันเป็นข้อห้ามมิให้ประพฤติ
หรือเรียกว่าประพฤติให้เป็นไปตามพระธรรมวินัย
ซึ่งถือว่าหน้าที่นั้นเป็นหน้าที่หลักของพระสงฆ์
เพราะพระธรรมวินัยนี้เป็นหน้าที่หลักการของพระพุทธศาสนาได้ทั้งหมด
จึงถือได้ว่าการปฏิบัติตามพระธรรมวินัยเป็นหน้าที่แรกของสงฆ์ในพระพุทธศาสนา
และเป็นหลักข้อกำกับควบคุมการกระทำหน้าที่อื่น ๆ ได้ทั้งหมดของพระสงฆ์
ซึ่งหน้าที่ที่สำคัญนั้นมี 4 ประการ ได้แก่
1. หน้าที่ในการศึกษาธรรม
2. หน้าที่ในการปฏิบัติธรรม
3. หน้าที่ในการเผยแผ่ธรรม
4. หน้าที่ในการรักษาธรรม
» หน้าที่ของพระสงฆ์ตามพระธรรมวินัย
» บทบาททางการเมืองของพระสงฆ์ในประวัติศาสตร์
» บทบาทพระสงฆ์ในประวัติศาสตร์ไทย
» เจ้าพระฝาง พระมหาเถราจารย์แห่งแผ่นดินสยาม
» สมเด็จพระพนรัตน วัดป่าแก้ว ต้นตำหรับพระสงฆ์กับการเมืองไทย
» พระอาจารย์ธรรมโชติ พระมหาเถระแห่งค่ายบ้านบางระจัน