ศาสนา ลัทธิ ความเชื่อ นิกาย พิธีกรรม >>

พระสงฆ์กับการเมืองไทย

หน้าที่ในการศึกษาธรรม

หน้าที่แรกของสมณะที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสไว้ในสมณสูตร มี 3 ประการ ดังพุทธดำรัสที่ว่า

“ดูกรภิกษุทั้งหลาย กิจของสมณะที่สมณะควรทำ 3 อย่างนี้ 3 อย่างเป็นไฉน ? คือ การสมาทานอธิศีลสิกขา 1 การสมาทานอธิจิตสิกขา 1 การสมาทานอธิปัญญาสิกขา 1 ดูก่อนภิกษุทั้งหลายเพราะฉะนั้นแหละ ท่านทั้งหลาย พึงศึกษาอย่างนี้ว่า เราจักมีความพอใจอย่างแรงกล้าในการสมาทานอธิศีลสิกขา เราจักมีความพอใจอย่างแรงกล้าในการสมาทานอธิจิตสิกขา เราจักมีความพอใจอย่างแรงกล้าในการสมาทานอธิปัญญาสิกขา ดูกรภิกษุทั้งหลาย ท่านทั้งหลายพึงศึกษาเช่นนี้แล”



การศึกษาพระธรรม คือ การศึกษาในการเรื่องอธิศีล อธิจิต และอธิปัญญา ศีลจิต (สมาธิ) และปัญญา เป็นสิ่งที่สมณะในพระพุทธศาสนาจะต้องศึกษาให้เคร่งครัดแล้วจึงจะนำไปสู่กระบวนการที่จัดเจน หมายความว่าหน้าที่ศึกษาจะนำไปสู่การกระทำหรือการปฏิบัติที่ถูกต้อง. สิกขา 3 หรือไตรสิกขานั้นหมายถึงข้อที่จะต้องศึกษา ข้อปฏิบัติที่เป็นหลักสำหรับศึกษาคือฝึกหัดอบรมกาย วาจา จิตใจ และปัญญา ให้ยิ่งขึ้นไปจนบรรลุจุดหมายสูงสุด คือ พระนิพพาน. หน้าที่การศึกษาจะนำไปสู่การกระทำหรือการปฏิบัติที่ถูกต้องสิกขา 3 หรือไตรสิกขานั้น มีความหมายดังนี้ 

  • อธิศีลสิกขา สิกขา คือ ศีลอันยิ่ง, ข้อปฏิบัติสำหรับฝึกอบรมในทางความประพฤติอย่างสูง
  • อธิจิตตสิกขา สิกขา คือ จิตอันยิ่ง, ข้อปฏิบัติสำหรับฝึกอบรมจิตเพื่อให้เกิดคุณธรรม เช่น สมาธิอย่างสูง
  • อธิปัญญาสิกขา สิกขา คือ ปัญญาอันยิ่ง, ข้อปฏิบัติสำหรับฝึกอบรมปัญญา เพื่อให้เกิดความรู้แจ้งอย่างสูง

» หน้าที่ของพระสงฆ์

» หน้าที่ในการศึกษาธรรม

» หน้าที่ในการปฏิบัติธรรม

» หน้าที่ในการเผยแผ่ธรรม

» หน้าที่ในการรักษาธรรม

» หน้าที่ของพระสงฆ์ตามพระธรรมวินัย

» บทบาททางการเมืองของพระสงฆ์ในประวัติศาสตร์

» พระพุทธเจ้ากับการเมือง

» กรณีห้ามการทำสงคราม

» กรณีปราบแคว้นวัชชี

» บทบาทพระสงฆ์ในประวัติศาสตร์ไทย

» เจ้าพระฝาง พระมหาเถราจารย์แห่งแผ่นดินสยาม

» สมเด็จพระพนรัตน วัดป่าแก้ว ต้นตำหรับพระสงฆ์กับการเมืองไทย

» พระอาจารย์ธรรมโชติ พระมหาเถระแห่งค่ายบ้านบางระจัน

» สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี)

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย