ศาสนา ลัทธิ ความเชื่อ นิกาย พิธีกรรม >>

พระสงฆ์กับการเมืองไทย

เจ้าพระฝาง

 พระมหาเถราจารย์แห่งแผ่นดินสยาม

ก๊กเจ้าพระฝาง เมืองอุตรดิตถ์เป็นก๊กใหญ่ก๊ก 1 ใน 5 ก๊กที่ตั้งตัวเป็นอิสระ ปกครองกันเองในท้องถิ่น หลังจากกรุงศรีอยุธยาแตกเมื่อ พ.ศ. 2310 (อีก 4 ก๊กคือ ก๊กเจ้าพิมาย, ก๊กเจ้าเมืองนครศรีธรรมราช, ก๊กเจ้าพิษณุโลกและก๊กสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ทุกก๊กเหล่านี้มีเจตนาดีที่จะรวมประเทศให้เป็นหนึ่ง แต่สุดท้ายทุกก๊กถูกปราบโดยก๊กสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช)

“เจ้าพระฝาง” มีสถานภาพเป็นพระภิกษุสงฆ์ เหตุไฉนจึงสามารถตั้งก๊กได้ มีประวัติความเป็นมาอย่างไร? จากพระราชพงศาวดาร ฉบับพระราชหัคถเลขา ซึ่งได้บันทึกไว้ว่า… “เจ้าพระฝางเป็นพระสังฆราช เมืองสวางคบุรี เดิมชื่อว่า มหาเรือน ชาติภูมิเป็นชาวเหนือ แต่ลงมาเล่าเรียนพระไตรปิฎก ณ กรุงศรีอโยธยา ได้สมณศักดิ์ที่พระพากุลเถร อยู่ ณวัดศรีอโยธยา ภายหลังทรงพระกรุณาโปรดให้ตั้งขึ้นไปเป็นที่พระสังฆราช ณ เมืองสวางคบุรี (จังหวัดอุตรดิตถ์) มีสมัครพรรคพวกผู้คนนับถือมาก ครั้นรู้ว่ากรุงศรีอยุธยาเสียแก่พม่าแล้ว จึงซ่องสุมผู้คนเข้าด้วยเป็นหลายเมือง ตั้งตัวขึ้นเป็นเจ้า แต่หาสึกเป็นคฤหัสถ์ไม่ คงอยู่ในเพศสมณะ แต่งนุ่งห่มผ้าแดง (ย้อมด้วยไม้ฝาง) คนทั้งปวงเรียกว่าเจ้าพระฝาง. บรรดาเจ้าเมือง กรมการหัวเมืองฝ่ายเหนือตั้งแต่เหนือเมืองพิษณุโลกขึ้นไปต่างกลัวเกรงนับถืออยู่ในอำนาจทั้งสิ้น ตั้งแต่เหนือเมืองพิษณุโลกขึ้นไปจนถึงเมืองน้ำปาด กระทั่งแดนลาวกับแควแม่น้ำปากพิงนั้น เป็นอาณาเขตข้างเจ้าพระฝาง เจ้าพระฝางแต่งตั้งนายทัพนายกองล้วนแต่เป็นพระสงฆ์ทั้งสิ้น คือ พระครูคิริมานนท์ 1, พระครูเพชรรัตน 1, พระอาจารย์จันทร์ 1, พระอาจารย์ทอง 1, พระอาจารย์เกิด 1, แต่ล้วนเป็นอลัชชีมิได้ละอายแก่บาปทั้งปวง…”

พระราชพงศาวดาร ฉบับพระราชหัตถเลขาได้สร้างภาพเจ้าพระฝางให้เป็นอลัชชี เ พราะยังไม่ลาจากสมณเพศก็ออกรบราฆ่าฟัน ดังมีข้อความตอนหนึ่งว่า…“ ลุศักราช 1132 ปีขาล โทศก (พ.ศ.2311) ถึง ณ เดือน 6 ฝ่ายเจ้าพระฝางซึ่งเป็นใหญ่ในหัวเมืองฝ่ายเหนือทั้งปวงนั้น ประพฤติพาลทุจริตศีลกรรมลามก บริโภคสุรา กับทั้งพวกสงฆ์อลัชชี ซึ่งเป็นนายทัพนายกองทั้งปวงนั้น และชวนกันกระทำมนุษวิคหฆาฏกกรรมปาราชิก แล้วยังนุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์อยู่ หาละจากเพศสมณะไม่ แล้วเกณฑ์กองทัพให้ลงมาลาดตระเวนตีเอาข้าวปลาอาหารและเผาบ้านเรือนราษฎรเสียหลายตำบล จนถึงเมืองอุทัยธานี เมืองชัยนาท...” ในปลายปี 2311 นั้นเอง กองทัพของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชก็สามารถยึดเมืองฝางได้ แม่ทัพนายกองสำคัญที่เคยเป็นพระภิกษุคู่ใจเจ้าพระฝางถูกจับได้เกือบหมด แต่ปรากฏว่า เจ้าพระฝางได้พาสมัครพรรคพวกหนีออกจากเมืองในเวลากลางคืนไปข้างทิศเหนือ แล้วเรื่องราวของท่านก็ไม่มีใครบันทึกไว้อีกเลยว่าไปอยู่ ณ ที่ใด มรณภาพที่ไหน

» หน้าที่ของพระสงฆ์

» หน้าที่ในการศึกษาธรรม

» หน้าที่ในการปฏิบัติธรรม

» หน้าที่ในการเผยแผ่ธรรม

» หน้าที่ในการรักษาธรรม

» หน้าที่ของพระสงฆ์ตามพระธรรมวินัย

» บทบาททางการเมืองของพระสงฆ์ในประวัติศาสตร์

» พระพุทธเจ้ากับการเมือง

» กรณีห้ามการทำสงคราม

» กรณีปราบแคว้นวัชชี

» บทบาทพระสงฆ์ในประวัติศาสตร์ไทย

» เจ้าพระฝาง พระมหาเถราจารย์แห่งแผ่นดินสยาม

» สมเด็จพระพนรัตน วัดป่าแก้ว ต้นตำหรับพระสงฆ์กับการเมืองไทย

» พระอาจารย์ธรรมโชติ พระมหาเถระแห่งค่ายบ้านบางระจัน

» สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี)

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย