ศาสนา ลัทธิ ความเชื่อ นิกาย พิธีกรรม >>
ศาสนาคริสต์
ปัสกา
คำว่า " ปัสกา " ตรงกับภาษาฮีบรู ว่า "Paschal" และภาษาอังกฤษใช้คำว่า "passover" แปลว่า "ผ่านเว้น" เป็นเทศกาลที่ชาวยิวระลึกถึงการที่พระเจ้าทรงนำพวกเขาออกจากการเป็นทาสในอียิปต์ ในช่วงประมาณ 1500 ปีก่อนคริสตกาล โดยในคืนก่อนที่ฟาโรห์จะยอมปล่อยชาวอิสราเอลให้ออกเดินทาง พระเจ้าทรงสำแดงอิทธิฤทธิ์ให้เกิดภัยพิบัติประการที่ 10 หลังจากที่ฟาโรห์ปฏิเสธที่ปล่อยพวกอิสราเอล ตามคำบัญชาของพระเจ้ามาแล้ว 9 ครั้ง
ภัยพิบัติประการที่ 10 คือ ทูตมรณะจะเข้าไปในทุกครัวเรือนของชาวอียิปต์ เพื่อปลิดชีพของบุตรหัวปีของทุกครอบครัว ยกเว้นแต่ครอบครัวที่เชื่อฟังพระเจ้า โดยการนำเอาโลหิตของลูกแกะปัสกา มาทาไว้ที่ประตูบ้านของตน "บ้านใด ได้กระทำตามที่พระเจ้าทรงบัญชา ทูตมรณะก็จะไม่เข้าไปในบ้าน แต่จะ "ผ่าน เว้นไป" (Passover) และบุตรหัวปีของครอบครัวนั้นก็จะรอดตาย !" พิธีปัสกาในพระคริสตธรรมคัมภีร์
พิธีปัสกา
เป็นพิธีที่ถูกกล่าวถึงครั้งแรกในพระธรรมอพยพ ระบุว่า
พระเจ้าทรงกำหนดตั้งให้อิสราเอลถือปฏิบัติทุกปี
เพื่อเป็นการระลึกถึงเหตุการณ์เมื่อพระองค์ทรงนำอิสราเอล
ให้หลุดพ้นจากความเป็นทาสของอียิปต์ เป็นไทแก่ตนเอง
ปัสกา เป็นเหมือนเครื่องหมายเพื่อบอกถึง "ชนชาติอิสราเอล" แท้ เนื่องจากในพระธรรมอพยพ เมื่ออิสราเอลเป็นทาสอยู่ในอียิปต์นั้น พระเจ้าทรงตั้งพิธีปัสกาขึ้น เพื่อเป็นเครื่องหมายสำหรับพระเจ้าในภัยพิบัติครั้งสุดท้าย ที่พระเจ้าจะทรงพรากบุตรหัวปีแห่งอียิปต์ไป แต่จะทรงผ่าน (passover หรือ skip over) บ้านใดก็ตามที่ทาเลือดแกะปัสกา อันเป็นเครื่องหมายของพิธีปัสกาติดไว้ที่หน้าบ้าน จึงเป็นที่มาของชื่อเรียกของพิธีนี้
พิธีปัสกา มีชื่อเรียกอีกอย่างว่า เทศกาลขนมปังไร้เชื้อ เนื่องจากในเทศกาลดังกล่าว มีข้อกำหนดที่ให้รับประทานขนมปังไร้เชื้อ เป็นเวลา 7 วัน ทั้งนี้เพื่อเป็นเครื่องรำลึกว่า พระเจ้าทรงเลือกอิสราเอลเป็นชนชาติบริสุทธิ์ของพระเจ้า ไม่ปะปนกับชนชาติ หรือ เชื้อชาติอื่น และกำหนดให้ชาวต่างชาติที่ต้องการเข้าร่วมพิธีปัสกา ต้องผ่านพิธีเข้าสุหนัตก่อน เพื่อแสดงถึงการเป็นชนชาติของพระเจ้า ในพระธรรมอพยพ พระเจ้าทรงให้อิสราเอล กินขนมปังไร้เชื้อเป็นเวลา 7 วัน โดยเริ่มจากเย็นวันที่ 14 ของเดือนแรก ไปจนกระทั่งเย็นวันที่ 21 ของเดือนดังกล่าว จะต้องปัดกวาดบ้าน ให้ปราศจากเชื้อใดใด หากผู้ใดรับประทานขนมปังที่มีเชื้อในช่วงเวลาดังกล่าว จะถูกอัปเปหิออกจากชุมชน และในวันที่ 7 กำหนดให้เป็นวันเฉลิมฉลองบริสุทธิ์ของพระเจ้า
ในวันนี้พระศาสนจักรรำพึงถึงการสิ้นพระชนม์ของพระเยซูเจ้า ทรงอยู่ในพระคูหา
และเสด็จลงไปยังแดนผู้ตาย ไม่มีพิธีมิสซาบูชาขอบพระคุณ
และเราสามารถอดอาหารเพื่อเตรียมสมโภชปัสกาตามที่พระศาสนจักรแนะนำ
รูปพระเยซูเจ้าซึ่งถูกตรึงกางเขน บรรทมอยู่ในพระคูหา หรือเสด็จลงไปยังแดนผู้ตาย
ซึ่งวันเสาร์ศักดิ์สิทธิ์ระลึกถึงธรรมล้ำลึกเหล่านี้
อาจนำมาตั้งไว้ในวัดให้สัตบุรุษนมัสการ รวมทั้งรูปแม่พระมหาทุกข์ด้วย
พิธีแสงสว่าง เสกไฟและเทียนปัสกา
การเสกไฟ
แสงสว่างใหม่ที่จะใช้จุดเทียนปัสกาชี้แสดงให้เห็นถึงชีวิตใหม่ที่เราได้รับจากพระเยซูเจ้า
เราอยู่ในคืนที่ทุกอย่างได้รับการฟื้นฟูขึ้นใหม่ เทียนปัสกาหมายถึง
พระเยซูเจ้าทรงเป็นอัลฟาและโอเมกา ทรงเป็นจุดเริ่มต้นและเป้าหมายของสรรพสิ่ง
กำยานห้าเม็ดที่ติดบนเทียนเป็นรูปกางเขนหมายถึงบาดแผลทั้ง 5 ของพระองค์
ขบวนแห่ที่นำหน้าโดยเทียนปัสกาให้ความหมายกับเราว่า
พระเยซูเจ้าทรงเป็นแสงสว่างส่องโลก ใครที่เดินตามพระองค์ จะไม่เดินในความมืด
แต่จะมีแสงสว่างส่องทางชีวิต (ยน 8:12)
พระเจ้านำชาวอิสราเอลไปสู่อิสรภาพและชีวิตใหม่ด้วยเสาเพลิงฉันใด (เทียบ อพย 13:21)
คริสตชนผู้ซึ่งเป็นอิสราเอลใหม่ก็ติดตามพระคริสตเจ้าไปสู่ชีวิตใหม่ในลักษณะเดียวกัน
พระสงฆ์ขับร้องว่า พระคริสตเจ้าองค์ความสว่างของชาวเรา และทุกคนรับว่า
ขอขอบพระคุณพระเป็นเจ้า
เมื่อถึงประตูวัดหลังจากพระสงฆ์ขับร้องว่า
พระคริสตเจ้าองค์ความสว่างของชาวเรา เป็นครั้งที่สอง ทุกคนตอบว่า
ขอขอบพระคุณพระเจ้า อีกครั้ง แล้วต่างคนต่างจุดเทียนของตนจากเทียนปัสกา
เพื่อแสดงว่าเราทุกคนได้รับความสว่างและชีวิตจากพระเยซูเจ้าผู้ทรงกลับคืนพระชนมชีพ
เมื่อเดินมาถึงแท่นบูชามีการขับร้องและตอบรับอีกครั้งหนึ่ง
ต่อจากนั้นจึงเปิดไฟในวัด พิธีแสงสว่างจบลงด้วยการประกาศสมโภชปัสกา (Exultet)
ที่อธิบายความหมายของความสว่าง ความหมายของการกลับคืนพระชนมชีพของพระเยซูเจ้า
และการกอบกู้มนุษย์ให้พ้นจากบาปและความตาย
การประกาศสมโภชปัสกาจบลงด้วยภาพที่ชัดเจนว่า พระคริสตเจ้า
ผู้ทรงกลับคืนพระชนมชีพทรงส่องแสงและนำสันติสุขมาให้มนุษยชาติ
ประวัติความเป็นมาของศาสนาและผู้ก่อตั้งศาสนา
กำเนิดและวิวัฒนาการของนิกายที่สำคัญในศาสนาคริสต์
องค์ประกอบของคริสต์ศาสนา
ศาสนธรรมในศาสนาคริสต์
หลักคำสอนของศาสนาคริสต์
หลักคำสอนสำคัญ
เรื่องบาปกำเนิด
ศาสนบุคคลในศาสนาคริสต์
คริสต์ศาสนปราชญ์
ศีลศักดิ์สิทธิ์วิถีชีวิตของชาวคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก
พิธีกรรมและแนวความเชื่อของนิกายออร์ธอด็อกซ์
พิธีกรรมของนิกายโปรเตสแตนต์
วันสำคัญทางศาสนาคริสต์ นิกายโรมันคาทอลิก
วันสำคัญคริสตศาสนา นิกายโปรเตสแตนท์
วันสำคัญของคริสต์ศาสนาทุกนิกาย
ปัสกา
อัสสัมชัญ
ศาสนสถานที่สำคัญในศาสนาคริสต์
คาทอลิก กับ โปรเตสแตนท์ต่างกันตรงไหน