ศาสนา ลัทธิ ความเชื่อ นิกาย พิธีกรรม >>

ศาสนาคริสต์

ศาสนธรรมในศาสนาคริสต์

คัมภีร์ของศาสนาคริสต์

ศาสนาคริสต์และศาสนายูดาย ต่างให้ความเคารพในคัมภีร์ไบเบิ้ล โดยถือว่าเป็น สิ่งศักดิ์สิทธิ์เป็นพระวาจาของพระผู้เป็นเจ้า ตลอดจนหนทางแห่งความรอดจากทุกข์ทั้งปวง อาจารย์เสรี พงศ์พิศ (เสรี พงศ์พิศ. 2531 : 102) ได้ให้ความหมายของ "ไบเบิล" (Bible) ว่า "หนังสือหลายเล่ม" เพราะเป็นความหมายที่ได้มาจากศัพท์ภาษาละตินและภาษากรีก คือ "บีบลีอา" (Biblia) ซึ่งเป็นพหูพจน์ของ "บีบลีออน" (Biblion) แต่ภาษาอังกฤษใช้ไบเบิล (Bible) และการที่เรียกว่าไบเบิลนี้ อาจเป็นเพราะคัมภีร์ไบเบิลประกอบด้วยหนังสือหลายเล่มแล้วนำมารวมเป็นเล่มเดียวกัน ในเล่มเดียวกันนี้ต่อมาแบ่งเป็นสองภาค คือ ภาคพันธสัญญาเดิม (The Old Testament) ซึ่งเขียนเป็นภาษาฮิบรูเกือบทั้งหมด มีบางส่วนที่เขียนเป็นภาษาอารามาอิคและภาษากรีก ไบเบิลในภาคนี้เป็นส่วนที่เกี่ยวข้องกับศาสนายูดายและศาสนาคริสต์ จึงเป็นที่ยอมรับของทั้งสองศาสนานี้ว่า มีความศักดิ์สิทธิ์และเป็นหลักสำคัญในการดำเนินชีวิตอย่างถูกต้องสมบูรณ์
  1. คัมภีร์เก่า ( Old Testament ) หรือพันธสัญญาเดิมเป็นบันทึกเรื่องราวก่อนพระเยซูประสูติ
  2. คัมภีร์ใหม่ ( New Testament ) หรือพันธสัญญาใหม่เป็นบันทึกเรื่องราวหลังจากที่พระเยซูประสูติ

 ในภาคพันธสัญญาเดิมนี้ประกอบไปด้วยข้อเขียนต่าง ๆ ทั้งหมด 46 เล่ม (แต่ในคริสต์ศาสนาโปรเตสแตนต์หลายนิกายยอมรับเพียง 39 เล่ม) สำหรับภาคพันธสัญญาใหม่ (The new Testament) เป็นส่วนที่ยอมรับกันในหมู่ชาวคริสต์เท่านั้น ประกอบไปด้วยหนังสือหรือข้อเขียน27 เล่ม ซึ่งเป็นบันทึกประวัติและคำสอนของพระเยซูที่เรียกว่า "พระวรสาร" (The Gospels) มีจำนวน 4 เล่ม หนังสือกิจการอัครธรรมทูต 1 เล่ม จดหมายของบรรดาสาวกถึงคริสตชนในที่ต่าง ๆ 21 เล่ม และหนังสือวิวรณ์ 1 เล่ม พระวรสาร 4 คัมภีร์ (The Gospels) คัมภีร์ไบเบิลในส่วนที่เป็นพระวรสาร 4 คัมภีร์ เป็นหนังสือที่มีคนอ่านมากที่สุดและ มีผู้วิจารณ์กันมากที่สุด ซึ่งมีดังนี้คือ

  1. พระวรสารของนักบุญมัทธิว (มธ.) มีจำนวน 28 บท
  2. พระวรสารของนักบุญมาระโก (มก.) หรือมาร์ค (Mark) มีจำนวน 16 บท
  3. พระวรสารของนักบุญลูกา (ลก.) หรือลูค (Luke) มีจำนวน 24 บท
  4. พระวรสารของนักบุญยอห์น (ยน.) มีจำนวน 21 บท

เนื้อหาในพระวรสารเกี่ยวกับการเทศน์สอนสาวก เพื่อยืนยันสิ่งที่พวกเขาได้ประสบมาในขณะที่มีชีวิตอยู่ร่วมกับพระเยซู และยืนยันว่าพระเยซูเป็นพระเมสสิยาห์บุตรของพระเจ้า ดังนั้นพระวรสารทั้ง 4 เล่มนี้ จึงเป็นหนังสือที่เกี่ยวกับชีวิต และคำสอนของพระเยซูที่ไม่ธรรมดาเหมือนหนังสือประวัติบุคคลทั่ว ๆ ไป แต่เป็นหลักฐานยืนยันและพิสูจน์ว่าพระเยซูเป็นพระเจ้าจริง พระวรสารทั้ง 4 เล่มนี้ เฉพาะของนักบุญมัทธิวที่เขียนด้วยภาษาอารามาอิค (Aramaic) ถูกยกย่องให้เป็นเล่มแรก ส่วนฉบับปัจจุบันที่อยู่ในคัมภีร์ไบเบิลนั้น ไม่ใช่ฉบับเดียวกับที่ใช้ภาษาอารามาอิคแต่เป็นฉบับที่มีผู้เรียบเรียงขึ้นใหม่ โดยนำเอาฉบับที่เป็นภาษากรีกมารวมกับฉบับของนักบุญมัทธิว และของนักบุญมาร์คหรือมาระโก รวมทั้งคนอื่น ๆ ที่ไม่ปรากฏนาม ทั้งหมดนี้ถูกเรียบเรียงใหม่แต่ยังคงเรียกว่าพระวรสารของนักบุญมัทธิว ในพระวรสารเล่มนี้ได้กล่าวถึงกำเนิดของพระเยซู การเทศนาสั่งสอนโดยเฉพาะ "การเทศนาบนภูเขา" (Sermon on the Mount) ซึ่งอาจกล่าวได้ว่า เป็นแถลงการณ์ฉบับแรกของพระเยซูที่ประกาศโครงการปฏิรูปแนวทางดำเนินชีวิตของมนุษย์ และเชื่อกันว่าเทศนาบทนี้เป็นตอนที่ไพเราะที่สุดในงานนิพนธ์ของนักบุญมัทธิว สำหรับพระวรสารของนักบุญมาระโกหรือมาร์ค (Mark) นั้น มีเนื้อหาที่เน้นเฉพาะการเป็นพระเมสสิยาห์ของพระเยซูมากกว่าเน้นเสนอคำสอน

ส่วนพระวรสารฉบับของนักบุญลูกาหรือลุค (Luke) เป็นพระวรสารที่เน้นเฉพาะ ในเรื่องคำสอนของพระเยซู แต่มีการจัดลำดับเหตุการณ์ต่าง ๆ ตามแบบพระวรสารของนักบุญมัทธิว พระวรสารของนักบุญยอห์นนี้มีเนื้อหาเน้นหนักการประกาศว่า พระเยซูเป็นพระเมสสิยาห์หรือพระคริสต์ เพื่อมาไถ่บาปมนุษย์ด้วยการรับทรมานต่าง ๆ จนต่อมาได้กลับคืนชีพ และได้ส่งสาวกออกไปประกาศคำสอนพร้อมด้วยพระจิตของพระเจ้า และอำนาจในการยกบาป นักบุญยอห์นจึงเป็นพยานสำคัญที่ยืนยันความเป็นพระเมสสิยาห์ของพระเยซูเจ้า

คัมภีร์ไบเบิล

ไบเบิล ( Bible) (มาจากภาษากรีกว่า บิบลิออน แปลว่า หนังสือ) พระคริสตธรรมคัมภีร์ เป็นหนังสือที่บอกเรื่องราวเกี่ยวกับพระเจ้า, มนุษย์, ความบาป และแผนการของพระเจ้าในการช่วยมนุษย์ให้รอดพ้นจากความพินาศอันเนื่องจากความบาป สู่ชีวิตนิรันดร์ เป็นหนังสือที่บันทึกหลักธรรมคำสอนของศาสนาคริสต์ ซึ่งในบางเล่มมีพื้นฐานมาจากหลักคำสอนของศาสนายูดายของชาวยิว ชาวคริสต์เรียกคัมภีร์ไบเบิลในชื่ออื่น ๆ อีกหลายชื่อเช่น พระวจนะของพระเจ้า (Word of God) หนังสือดี (Good Book) และคัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์ (Holy Scripture)

คัมภีร์ไบเบิลฉบับภาษาเดนมาร์กของคริสเตียนที่ 3 แห่งเดนมาร์ก พิมพ์ในกรุงโคเปนเฮเกน ในปี ค.ศ. 1550 จำนวน 3,000 เล่ม คริสตชนทุกคนเชื่อว่า พระคัมภีร์ทุกข้อทุกตอนนั้นได้รับการดลใจจากพระเจ้า ผ่านทางมนุษย์ที่ถูกเลือกให้เขียนพระคัมภีร์ในบทนั้นๆมีจำนวน 73 เล่ม ประกอบด้วยภาคพันธสัญญาเดิม กับพันธสัญญาใหม่ พันธสัญญาเดิมถูกเขียนขึ้นก่อนที่พระเยซูเจ้าประสูติ ส่วนใหญ่เขียนเป็นภาษาฮีบรู มีบางส่วนถูกเขียนด้วนภาษากรีก และภาษาอิยิปต์ ส่วนพันธสัญญาใหม่ ถูกเขียนขึ้นหลังจากพระเยซูเจ้าประสูติแล้ว โดยบันทึกถึงเรื่องราวของพระเยซูเจ้าตลอดพระชนม์ชีพ รวมทั้งคำสอน และการประกาศข่าวดีแห่งความรอด การยอมรับการทรมานและการไถ่บาปของมนุษย์โดยพระเยซูเจ้า การกลับคืนชีพอย่างรุ่งโรจน์ การส่งพระจิตเจ้ามายังอัครสาวก ประวัติศาสตร์ของพระศาสนจักรในยุคแรกเริ่ม ภายหลังการกลับคืนพระชนม์ชีพของพระเยซูเจ้าแล้ว การเบียดเบียนพระศาสนจักรในรูปแบบต่างๆ พันธสัญญาใหม่ทั้งหมดเขียนเป็นภาษากรีก โดยเหล่านักบุญอัครสาวก

ไม่มีหลักฐานชัดเจนว่า พระคัมภีร์ภาคพันธสัญญาเดิมถูกนำมารวมเล่มเมื่อใดและอย่างไร แต่ในสมัยของพระเยซู พระคัมภีร์เดิมก็ได้ถูกรวบรวมไว้อย่างครบถ้วนแล้ว แต่ถึงแม้จะไม่ทราบความเป็นมา ก็ยังมีเหตุผลเชื่อถือได้ว่าพระคัมภีร์ภาคพันธสัญญาเดิมที่มีอยู่ทุกวันนี้ คงความถูกต้องทุกคำพูดมาจากสมัยแรกของอิสราเอล เนื่องจากขั้นตอนการคัดลอกพระคัมภีร์ของชาวยิวมีความเคร่งครัดมาก หากพบข้อผิดพลาดหรือตำหนิอย่างใด จะไม่แก้ไขแต่ทำลายทิ้งแล้วเริ่มคัดลอกใหม่หมด

ส่วนพระคัมภีร์ภาคพันธสัญญาใหม่ประกอบด้วยข้อเขียนของบุคคลสำคัญหลายคน ซึ่งเริ่มแรกมีวัตถุประสงค์ในการเขียนแตกต่างกันออกไป เช่น พระวรสารนักบุญมัทธิว เขียนขึ้นเพื่อคริสตชนที่มีภูมิหลังเป็นชาวยิว พระวรสารนักบุญมาระโก เขียนให้คริสตชนที่ส่วนใหญ่เป็นกรีก ในขณะที่พระวรสารนักบุญลูกา เจาะจงเลยว่าจะเป็นการเล่าเรื่องราวของพระเยซูให้กับชายคนหนึ่งที่ชื่อ เธโอฟิลัส จดหมายเหตุของนักบุญเปาโล ส่วนมากถูกเขียนเพื่อส่งถึงพระศาสนจักรบางแห่ง เป็นต้น แม้ว่าจุดประสงค์ในการเขียนหนังสือแต่ละเล่มมีที่หมายแน่ชัด แต่ในไม่ช้าก็กลายเป็นสมบัติส่วนรวม เช่น เมื่อพระศาสนจักรแห่งหนึ่งได้รับจดหมายจากนักบุญเปาโลก็ได้คัดลอกส่งต่อไปให้พระศาสนจักรอื่นได้อ่านด้วย เวลาผ่านไปฉบับเดิมก็เปื่อยหรือสูญหายไป จึงไม่เหลือต้นฉบับดั้งเดิม แต่จากการเปรียบเทียบกับฉบับที่ถูกคัดลอกไว้มากมาย สามารถยืนยันได้ว่าตรงกับต้นฉบับจริงแน่นอน

ภาคพันธสัญญาเดิม

พระคริสตธรรมคัมภีร์ ประกอบด้วย ภาคพันธสัญญาเดิม (The Old Testament) มีหนังสือทั้งหมดจำนวน 46 เล่ม แบ่งได้เป็นสี่ส่วนใหญ่คือ

  • ปัญจบรรพ ประกอบด้วยหนังสือปฐมกาล จนถึง หนังสือเฉลยธรรมบัญญัติ
  • ประวัติศาสตร์ ประกอบด้วยหนังสือโยชูวา จนถึง หนังสือเอสเธอร์
  • เพลง ประกอบด้วยหนังสือโยบ จนถึง หนังสือเพลงโซโลมอน
  • ประกาศก ประกอบด้วยหนังสืออิสยาห์ จนถึง หนังสือมาลาคี
  1. หนังสือปฐมกาล กล่าวถึงการทรงสร้างโลกของพระเจ้า ประวัติของมนุษย์รุ่นแรกๆ บนโลก
  2. หนังสืออพยพ กล่าวถึงการอพยพของชาวอิสราเอลออกจากประเทศอียิปต์ มาตั้งถิ่นฐาน ซึ่งมีการนำโดยโมเสส
  3. หนังสือเลวีนิติ กล่าวถึงบัญญัติของพระเจ้าที่ให้กับชาวอิสราเอล กฎเกณฑ์ต่างๆในการดำเนินชีวิตของชาวอิสราเอล โดยผ่านทางโมเสส
  4. หนังสือกันดารวิถี กล่าวถึงการที่ชาวอิสราเอล ต้องผจญความทุกข์ในถิ่นทุรกันดาร ซึ่งนำโดยโมเสส
  5. หนังสือเฉลยพระธรรมบัญญัติ เป็นการสรุปพระธรรมบัญญัติและกล่าวตักเตือนประชากรอิสราเอลให้เชื่อฟังพระเจ้าโดยโมเสส ก่อนที่โมเสสจะเสียชีวิต
  6. หนังสือโยชูวา กล่าวถึงประวัติอิสราเอล ในสมัยที่ โยชูวา ซึ่งเป็นผู้เผยวจนะต่อจากโมเสส
  7. หนังสือผู้วินิจฉัย
  8. หนังสือนางรูธ กล่าวถึงหญิงสาวนางหนึ่งที่มีความประพฤติดี
  9. หนังสือซามูเอล ฉบับที่ 1
  10. หนังสือซามูเอล ฉบับที่ 2
  11. หนังสือพงษ์กษัตริย์ ฉบับที่ 1 ประวัติของประเทศอิสราเอลและกษัตริย์อิสราเอลรวมทั้งราชวงศ์ ฉบับที่ 1
  12. หนังสือพงษ์กษัตริย์ ฉบับที่ 2 ประวัติของประเทศอิสราเอลและกษัตริย์อิสราเอลรวมทั้งราชวงศ์ ฉบับที่ 2
  13. หนังสือพงศาวดาร ฉบับที่ 1 เนื้อหาเดียวกับพงษ์กษัตริย์ แต่ถูกเขียนจากบุคคลที่ต่างกัน และมุมมองต่างกัน (ฉบับที่ 1)
  14. หนังสือพงศาวดาร ฉบับที่ 2 เนื้อหาเดียวกับพงษ์กษัตริย์ แต่ถูกเขียนจากบุคคลที่ต่างกัน และมุมมองต่างกัน (ฉบับที่ 2)
  15. หนังสือเอสรา
  16. หนังสือเนหะมีย์
  17. หนังสือเอสเธอร์ *
  18. หนังสือโยบ
  19. หนังสือสดุดี รวบรวมบทเพลง และคำสรรเสริญพระเจ้า จากกษัตริย์หลายพระองค์ของอิสราเอล เช่นกษัตริย์ดาวิด
  20. หนังสือสุภาษิต รวบรวมคำสอน คำสุภาษิต ของชาวอิสราเอลจากบุคคลหลายคนที่สำคัญ เช่นกษัตริย์โซโลมอน
  21. หนังสือปัญญาจารย์
  22. หนังสือเพลงซาโลมอน
  23. หนังสือประกาศอิสยาห์ เป็นพยากรณ์การมาบังเกิดของพระเยซู
  24. หนังสือประกาศเยเรมีย์
  25. หนังสือเพลงคร่ำครวญ
  26. หนังสือประกาศเอเสเคียล
  27. หนังสือประกาศดาเนียล*
  28. หนังสือประกาศโฮเซยา
  29. หนังสือประกาศโยเอล
  30. หนังสือประกาศอาโมส
  31. หนังสือประกาศโอบาดีห์
  32. หนังสือประกาศโยนาห์
  33. หนังสือประกาศมีคาห์
  34. หนังสือประกาศนาฮูม
  35. หนังสือประกาศฮาบากุก
  36. หนังสือประกาศเศฟันยาห์
  37. หนังสือประกาศฮักกัย
  38. หนังสือประกาศเศคารียาห์
  39. หนังสือประกาศมาลาคี
  40. หนังสือโทบิต **
  41. หนังสือยูดิธ **
  42. หนังสือมัคคาบี ฉบับที่ 1 **
  43. หนังสือมัคคาบี ฉบับที่ 2 **
  44. หนังสือปรีชาญาณ **
  45. หนังสือบุตรสิรา **
  46. หนังสือประกาศบารุค **

ในเครื่องหมาย * จำนวนบทและข้อพระคัมภีร์ของนิกายโปรแตสแตนท์จะมีน้อยกว่าของนิกายโรมันคาทอลิก และนิกายออโธด็อก ในเครื่องหมาย**เป็นพระคัมภีร์สารบบที่2 มีใช้ในนิกายโรมันคาทอลิกกับนิกายออโธด็อกซ์ โปรแตสตันท์ จะไม่ยอมรับหนังสือ 7 เล่มนี้ และได้ตัดออกไป(นักบุญเยโรมผู้จัดสารบบพระคัมภีร์ได้จัดให้มีไว้ 73 เล่ม แต่โปรแตสตันท์มาตัดออกเองในภายหลัง)

พระคริสตธรรมคัมภีร์ภาคพันธสัญญาใหม่ พันธสัญญาใหม่ (The New Testament)

เป็นพระธรรมที่ถูกเขียนขึ้นภายหลังจากการประสูติของพระเยซู มีจำนวน 27 เล่ม ดังนี้

  1. พระวรสารนักบุญมัทธิว - นักบุญมัทธิวอีแวนเจลลิส
  2. พระวรสารนักบุญมาระโก - นักบุญมาระโกอีแวนเจลลิส
  3. พระวรสารนักบุญลูกา - นักบุญลูกาอีแวนเจลลิส
  4. พระวรสารนักบุญยอห์น - นักบุญยอห์นอีแวนเจลลิส
  5. หนังสือกิจการอัครสาวก ในหนังสือนี้ ได้เน้นเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ของพระศาสนจักรในยุคแรกเริ่ม ภายหลังการกลับคืนพระชนม์ชีพของพระเยซูเจ้าแล้ว อัครสาวกได้เผยแพร่ศาสนาคริสต์ต่อมา โดยได้เล่าถึงการต้อนรับบ้าง การกีดกันบ้าง การเบียดเบียนพระศาสนจักรในรูปแบบต่างๆบ้าง นอกจากนั้น จะได้พบเรื่องราวของบุคคลสำคัญในศาสนาบางคนเช่น การเป็นปฐมมรณสักขีของ นักบุญสเทเฟน และที่สำคัญคือ การเบียดเบียนพระศาสนจักร และการกลับใจของนักบุญเปาโล
  6. จดหมายนักบุญเปาโล ถึงชาวโรม
  7. จดหมายนักบุญเปาโล ถึงชาวโครินธ์ ฉบับที่ 1
  8. จดหมายนักบุญเปาโล ถึงชาวโครินธ์ ฉบับที่ 2
  9. จดหมายนักบุญเปาโล ถึงชาวกาลาเทีย
  10. จดหมายนักบุญเปาโลถึงชาวเอเฟซัส
  11. จดหมายนักบุญเปาโลถึงชาวฟีลิปปี
  12. จดหมายนักบุญเปาโล ถึงชาวโคลิสี
  13. จดหมายนักบุญเปาโลถึงชาวเธสะโลนิกา ฉบับที่ 1
  14. จดหมายนักบุญเปาโลถึงชาวเธสะโลนิกา ฉบับที่ 2
  15. จดหมายนักบุญเปาโลถึงทิโมธี ฉบับที่ 1
  16. จดหมายนักบุญเปาโลถึงทิโมธี ฉบับที่ 2
  17. จดหมายนักบุญเปาโล ถึงทิตัส
  18. จดหมายนักบุญเปาโล ถึงฟิโลโมน
  19. จดหมายถึงชาวฮิบรู
  20. จดหมายของนักบุญยากอบ
  21. จดหมายของนักบุญเปโตร ฉบับที่ 1
  22. จดหมายของนักบุญเปโตร ฉบับที่ 2
  23. จดหมายของนักบุญยอห์น ฉบับที่ 1
  24. จดหมายของนักบุญยอห์น ฉบับที่ 2
  25. จดหมายของนักบุญยอห์น ฉบับที่ 3
  26. จดหมายของนักบุญยูดา
  27. หนังสือวิวรณ์ โดยนักบุญยอห์น นิพนธ์โดยนักบุญยอห์น อัครสาวก ตามพระคัมภีร์กล่าวว่า นักบุญยอห์นได้นิพนธ์ขึ้นตามนิมิตของท่าน และเป็นภาษาสัญลักษณ์ทั้งหมด


อ่านต่อ หน้าถัดไป >>>

ประวัติความเป็นมาของศาสนาและผู้ก่อตั้งศาสนา
กำเนิดและวิวัฒนาการของนิกายที่สำคัญในศาสนาคริสต์
องค์ประกอบของคริสต์ศาสนา
ศาสนธรรมในศาสนาคริสต์
หลักคำสอนของศาสนาคริสต์
หลักคำสอนสำคัญ
เรื่องบาปกำเนิด
ศาสนบุคคลในศาสนาคริสต์
คริสต์ศาสนปราชญ์
ศีลศักดิ์สิทธิ์วิถีชีวิตของชาวคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก
พิธีกรรมและแนวความเชื่อของนิกายออร์ธอด็อกซ์
พิธีกรรมของนิกายโปรเตสแตนต์
วันสำคัญทางศาสนาคริสต์ นิกายโรมันคาทอลิก
วันสำคัญคริสตศาสนา นิกายโปรเตสแตนท์
วันสำคัญของคริสต์ศาสนาทุกนิกาย
ปัสกา
อัสสัมชัญ
ศาสนสถานที่สำคัญในศาสนาคริสต์
คาทอลิก กับ โปรเตสแตนท์ต่างกันตรงไหน
 

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย

🍁 "บ้าน" มรดกทางวัฒนธรรม
"บ้าน" คือการบอกเล่าความเป็นมา คือการบอกล่าวถึงพัฒนาการในการดำรงชีพของมนุษย์ "บ้าน" ที่อยู่อาศัยหนึ่งในปัจจัยสี่ ซึ่งมีความจำเป็นสำหรับมนุษย์ และบ่งบอกถึงความั่นคง

🍁 ภูมิปัญญากีฬาไทย
กีฬาไทยที่บรรพชนไทยค้นคิด และถ่ายทอดมาสู่ลูกหลาน บางชนิดกลายเป็นตำนานและความทรงจำ และบางชนิดยังคงมีการเล่นกันอยู่

🍁 สะพานสู่ฟ้าใหม่
สะพานข้ามน้ำเป็นสัญลักษณ์การข้ามอุปสรรคขวางกั้นไปสู่จุดหมาย และการเชื่อมโยงสิ่งตรงข้ามมา เพื่อสร้างเอกภาพอันกลมกลืนมั่นคง

🍁 ทิวธงมงคลชัย
สิ่งสะท้อนความคิด และสืบทอดคติความเชื่อ ขนบธรรมเนียมประเพณี ของชนรุ่นแล้วรุ่นเล่า จากยุคสมัยหนึ่งสู่อีกยุคสมัยหนึ่ง ดุจตัวแทนที่น้อมนำสู่มงคลแห่งชีวิต

🍁 พระราชลัญจกรประจำรัชกาล
ตราประจำพระมหากษัตริย์ แต่ละรัชกาล ซึ่งจะทรงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเมื่อเริ่มต้นรัชกาล เพื่อประทับกำกับพระปรมาภิไธย ในเอกสารสำคัญต่างๆของชาติ ที่เกี่ยวกับราชการแผ่นดิน

🍁 สามล้อไทย
วิถีหนึ่งของสายทาง ซึ่งแม้เวลาจะหมุนเวียนเปลี่ยนไป หากสายทางของสามล้อยังคงผูกพัน เป็นส่วนหนึ่งของสังคมไทย

🍁 กีฬาสัตว์
ด้วยนิสัยช่างสังเกตของคนไทย จึงเป็นที่มาของกีฬาซึ่งใช้สัตว์เป็นผู้แข่งขัน จนกลายเป็นกิจกรรมบันเทิงพื้นบ้าน ยามว่างนับแต่อดีต

🍁 ตาลปัตร พัดรอง
พัดที่ทำจากใบตาลมีหลายรูปแบบ สำหรับใช้โบกให้ความเย็น และใช้เป็นการบ่งบอกถึงฐานะ บรรดาศักดิ์ของผู้ใช้

🍁 ทฤษฎีแห่งการสร้างสรรค์ด้วยปัญญา
ผู้เรียนเป็นฝ่ายสร้างความรู้ขึ้นด้วยตนเอง มิใช่ได้มาจากครูและในการสร้างความรู้นั้น ผู้เรียนจะต้องลงมือสร้างสิ่งใดสิ่งหนึ่งขึ้นมา

🍁 ทฤษฎีและหลักการพัฒนาชุมชน
มิติทางวิชาการหลายมิติที่ซ้อนทับ เคลื่อนไหว และมีปฏิสัมพันธ์ต่อกัน รวมทั้งเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเข้าใจในทุกบริบทที่เกี่ยวข้อง

🍁 การเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมไทย
สังคมทุกสังคมย่อมมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นเสมอ ตราบใดที่สังคมนั้นยังต้องมีการติดต่อและสัมพันธ์กับสังคมอื่น การเปลี่ยนแปลงนั้นเป็นปรากฏการณ์ทางสังคมอย่างหนึ่ง

🍁 ทฤษฎีลำดับขั้นความต้องการ
เมื่อบุคคลปรารถนาที่จะได้รับความพึงพอใจและเมื่อบุคคลได้รับความพึงพอใจในสิ่งหนึ่งแล้วก็จะยังคงเรียกร้องความพึงพอใจสิ่งอื่นๆ ต่อไป ซึ่งถือเป็นคุณลักษณะของมนุษย์

🍁 กำเนิดโลกและสิ่งมีชีวิต
ทำไมโลกซึ่งแต่เดิมเป็นลูกไฟดวงหนึ่ง ไม่ได้ต่างจากดาวเคราะห์ดวงอื่น จึงเอื้อต่อสิ่งมีชีวิตได้มากมายเช่นนี้

🍁 โรคสัตว์สู่คน

🍁 ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรมนิยม

🍁 โรคอารมณ์สองขั้ว

🍁 คู่มือ อสม.กับการดูแลผู้สูงอายุในชุมชน

🍁 การจัดการกับอารมณ์และความเครียด

🍁 ทฤษฎีการสร้างพลังอำนาจ

🍁 การจูงใจ

🍁 การแกว่งแขน รักษาโรค

🍁 ประวัติขนมไทย

🍁 กัญชา

🐍 โปรดระวังงูฉก

เราล้วนมีความฝันและความปรารถนา
แต่สิ่งหนึ่งที่สมควรตระหนักรู้
คือไม่มีวันที่จะได้ทุกอย่างตามต้องการ

ความพอเพียงและความพอดี
คือการสร้างความหวังและกำลังใจ
เพื่อให้บรรลุถึงความเป็นไปได้
โดยไม่สูญเสียความเป็นตัวตน

ความต้องการเกินความจำเป็น
คือความอยากที่ทำร้ายเจ้าบ้าน
จากภายในสู่ภายนอก

อยากได้ ไม่ได้ก็ทุกข์
อยากมี ไม่มีก็ทุกข์
ความอยากอยู่ที่ไหน ความทุกข์อยู่ที่นั่น.

🐍 งูเขียว หางบอบช้ำ : เขียน

เชิญแวะอ่านสักนิดสักหน่อยก็ยังดี...

🌿 จอมยุทธ แห่งบ้านจอมยุทธ (รวมงานเขียน)
หูข้ารับได้แต่สิริมงคล ตาข้ารับได้แต่สวนดอกไม้ ความรู้สึกนึกคิดข้าสงบเย็น ด้วยแสงแห่งธรรมที่สาดส่อง อาบวิญญาณเปล่าเปลือยและล่อนจ้อน

🌿 ฉายเดี่ยว (รวมงานเขียน)
อย่ารอให้ผีปู่ผีย่าต้องลุกขึ้นมาเอากระโถนน้ำหมากเขกกบาล สยามของท่านให้เราอยู่กิน ไม่ได้ให้มางี่เง่ากันเยี่ยงนี้

🌿 งูเขียว หางบอบช้ำ (รวมงานเขียน)
มีแต่คนรักและหวังดีต่อประเทศชาติ มีแต่คนอยากเห็นประเทศชาติสงบสุขเป็นปึกแผ่น ไม่มีแม้แต่หมาสักตัวบนแผ่นดินนี้ อยากมีอำนาจ

🌿 ขอเป็นตาแก่ขี้บ่นในหัวใจเธอ
สง่างามแบบมนุษย์ๆ ไม่ขี้โกงเอารัดเอาเปรียบกัน ไม่นินทากันลับหลัง ไม่เหยียบย่ำทำลายกัน นั่นย่อมประเสริฐแล้ว

ยังมีอีก »


ชีวิตเริ่มต้นอีกครั้งหลังเกษียณ
ภูจอมยุทธ | Podcast

ชีวิตในแบบฉบับของตัวเอง หิวก็กินง่วงก็นอน อยากทำอะไรก็ทำ เบียดเบียนสภาพแวดล้อมแต่พองาม ประสบการณ์แบ่งปันผู้คน มากบ้างน้อยบ้าง วัดกับร้านเหล้าถือเป็นสถานอโคจร ที่ต้องรักษาระยะห่าง คลิกดู👆