ศาสนา ลัทธิ ความเชื่อ นิกาย พิธีกรรม >>

ศาสนาคริสต์

วันสำคัญของคริสต์ศาสนาทุกนิกาย

  • วันอาทิตย์ ของทุกสัปดาห์ - วันสะบาโต (Sabbath) - วันบริสุทธิ์ หยุดเพื่อพักผ่อนและร่วมทำกิกรรมที่โบสถ์
  • 21 มีนาคม ถึง 25 เมษายน - วันอีสเตอร์ (Easter) และวันสมโภชปัสกา (Pasqua) - สมโภชการกลับคืนชีพของพระเยซู และตรงกับการระลึกถึงเหตุการณ์ที่พระเจ้าทรงนำชาวยิวออกจากการเป็นทาสในอียิปต์ ในวันอาทิตย์แรก หลังจากพระจันทร์เต็มดวง วันใดวันหนึ่ง ระหว่าง 21 มีนาคม ถึง 25 เมษายน
  • 25 ธันวาคม - วันคริสต์มาส (Christmas) - วันสมโภชการเกิดของพระเยซู

วันสำคัญเฉพาะท้องถิ่น

  • พฤหัสบดีที่สี่ของพฤศจิกายน, จันทร์ที่สองของตุลาคม - วันขอบคุณพระเจ้า (Thanksgiving Day) (เฉพาะทวีปอเมริกา) - การระลึกถึงและขอบคุณพระเจ้าในช่วงสิ้นฤดูเก็บเกี่ยว ตรงกับ จันทร์ที่สองของตุลาคม ในประเทศแคนาดา และพฤหัสบดีที่สี่ของพฤศจิกายน ในสหรัฐอเมริกา เรียงตามที่มาที่มีแต่ดั้งเดิมจากศาสนายูดาย
  • วันสะบาโต (Sabbath) - วันอาทิตย์ ของทุกสัปดาห์ - วันบริสุทธิ์ หยุดเพื่อพักผ่อนและร่วมทำกิกรรมที่โบสถ์
  • วันฉลองปัสกา (Pasqua) หรือเทศกาลขนมปังไร้เชื้อ - อาทิตย์แรก หลังจากวันพระจันทร์เต็มดวง วันใดวันหนึ่ง ระหว่าง 21 มีนาคม ถึง 25 เมษายน - การระลึกถึงเหตุการณ์ที่พระเจ้าทรงนำชาวยิวออกจากการเป็นทาสในอียิปต์

เกี่ยวกับพระเยซูและตรีเอกานุภาพ

  • วันสมโภชพระคริสตเจ้าแสดงองค์ - 8 มกราคม • วันพุธรับเถ้า - 1 มีนาคม
  • วันอีสเตอร์ (Easter) - ตรงกับวันฉลองปัสกา - สมโภชการกลับคืนชีพของพระเยซู
  • วันอาทิตย์มหาทรมาน (วันแห่ใบลาน) - 9 เมษายน - ระลึกถึงการเข้ารับมหาทรมานของพระเยซูคริสตเจ้า
  • วันพฤหัสบดีศักดิ์สิทธิ์ - 13 เมษายน - ระลึกถึงพระเยซูคริสตเจ้าทรงตั้งศีลมหาสนิท
  • วันศุกร์ศักดิ์สิทธิ์ - 14 เมษายน - ระลึกถึงพระเยซูคริสต์ ทรงรับทรมานและสิ้นพระชนม์บนไม้กางเขน
  • วันเสาร์ศักดิ์สิทธิ์ - 15 เมษายน - ระลึกถึงชัยชนะและความหวังที่จะชนะต่ออำนาจบาป ความมืด และความชั่วทั้งหลาย
  • วันสมโภชพระเยซูเจ้าเสด็จขึ้นสวรรค์ - 28 พฤษภาคม - ระลึกถึงการได้อยู่กับพระบิดาและพระบุตร
  • วันสมโภชพระจิตเจ้า - 4 มิถุนายน - ฉลองตรีเอกานุภาพที่ 3 ของพระเจ้า ผู้ทรงเป็นพละกำลังของมนุษย์
  • วันสมโภชพระตรีเอกภาพ - 11 มิถุนายน - ฉลองสามพระบุคคล คือ พระบิดา พระบุตร พระจิต ที่ทรงเป็นหนึ่ง
  • วันสมโภชพระวรกายและพระโลหิตพระคริสตเจ้า - 18 มิถุนายน - ระลึกถึงพระเยซูคริสตเจ้าภายใต้ รูปลักษณ์ของขนมปังและเหล้าองุ่นในพิธีศีลมหาสนิท
  • วันขอบคุณพระเจ้า (Thanksgiving Day) - จันทร์ที่สองของตุลาคม พฤหัสบดีที่สี่ของพฤศจิกายน, (เฉพาะทวีปอเมริกา) - การระลึกถึงและขอบคุณพระเจ้าในช่วงสิ้นฤดูเก็บเกี่ยว ตรงกับ พฤหัสบดีที่สี่ของพฤศจิกายน ในสหรัฐอเมริกา และจันทร์ที่สองของตุลาคม ในประเทศแคนาดา
  • วันสมโภชพระเยซูเจ้ากษัตริย์แห่งสากลจักรวาล - 26 พฤศจิกายน -
  • วันคริสต์มาส (Christmas) - 25 ธันวาคม - วันสมโภชการเกิดของพระเยซู

เกี่ยวกับพระแม่มารีย์และนักบุญ

  • วันสมโภชพระแม่มารี - 1 มกราคม -
  • วันสมภพนักบุญโยเซฟ ภัสดาพระแม่มารีย์ - 19 มีนาคม -
  • วันสมโภชนักบุญเปโตรและนักบุญเปาโล - 29 มิถุนายน -
  • วันอัสสัมชัญ (Mary Assumption Day) - 15 สิงหาคม - สมโภชพระนางมารีย์รับเกียรติยกขึ้นสวรรค์ทั้งกายและจิต
  • วันสมโภชนักบุญทั้งหลาย (All Saints day) - 1 พฤศจิกายน -
  • วันสมโภชพระแม่มารีผู้ปฏิสนธินิรมล (Mary Immaculate Conception Day) - 8 ธันวาคม -

เกี่ยวกับทูตสวรรค์

  • ฉลองทูตสวรรค์ มิคาเอล คาเบรียล และราฟาเอล - 29 กันยายน

วันขอบคุณพระเจ้า
วันขอบคุณพระเจ้า (Thanksgiving Day) เป็นวันหยุดหนึ่งวันสำหรับการระลึกถึงและขอบคุณพระเจ้าในช่วงสิ้นฤดูเก็บเกี่ยว ในสหรัฐอเมริกา วันขอบคุณพระเจ้าจะตรงกับวันพฤหัสบดีที่สี่ของเดือนพฤศจิกายนของทุกปี ในขณะที่ในประเทศแคนาดาจะตรงกับวันจันทร์ที่สองของเดือนตุลาคม ประเพณีนี้เกิดขึ้นภายหลังจากการอพยพของชาวยุโรปมาที่ทวีปอเมริกาเหนือ ถึงแม้ว่าประเพณีนี้เป็นประเพณีหนึ่งของบุคคลในทวีปอเมริกาที่นับถือศาสนาคริสต์ แต่ในทวีปยุโรปนั้นไม่มีประเพณีนี้
ในวันขอบคุณพระเจ้านี้ชาวอเมริกันจะใช้เวลาอยู่ร่วมกับครอบครัวและรับประทานอาหารมื้อใหญ่ด้วยกัน โดยอาหารที่นิยมรับประทานจนเป็นประเพณีคือไก่งวง และนอกจากนี้ในเมืองนิวยอร์กจะมีขบวนพาเหรดที่มีชื่อเสียงจัดโดยห้างสรรพสินค้า เมซีส์ ในชื่อ เมซีส์เดย์พาเหรด (Macy's Day Parade)

ประวัติที่มา
วันขอบคุณพระเจ้านั้น มีประวัติความเป็นมาตั้งแต่สมัยโบราณ ตามที่มีบันทึกไว้ในพระคัมภีร์ พวกอิราเอลเชื่อว่าการทำไร่เพาะปลูกหรือเลี้ยงสัตว์ มนุษย์เป็นผู้หว่านและดูแลรักษา แต่พระเจ้าเป็นผู้อวยพระพรให้เกิดผลตามที่พอพระทัย เมื่อถึงฤดูเก็บเกี่ยว เขาจึงนำเอาผลแรกมา ถวายต่อพระเจ้า เพื่อเป็นการขอบพระคุณ อะไรก็ตามที่เป็นผลผลิตแรกและดีที่สุด เขาจะนำมาถวายพระเจ้า เช่น บุตรชายคนแรก ลูกแกะตัวแรก รายได้ครั้งแรกในชีวิต ฯลฯ และพระเจ้าทรงสัญญาว่า จะอวยพระพรชีวิตและการงานของเขาให้เจริญรุ่งเรือง

ในอเมริกาได้มีการจัดวันหนึ่งไว้เป็นวันขอบคุณพระเจ้าที่เรียกว่า แธงค์สกีฟวิ่งเดย์ซึ่งนับเป็นวันประวัติศาสตร์ เพราะเมื่อชาวยุโรปได้อพยพเข้ามาในอเมริกาใหม่ๆ ต้องต่อสู้กับภัยธรรมชาติหลายอย่าง อาหารที่ติดตัวมาก็หมด เมื่อเข้าสู่ฤดูหนาวที่มีหิมะจัดก็แทบตายกัน ชาวอินเดียนแดงที่เป็นชนพื้นเมืองได้ให้การช่วยเหลือ ตามตำนานเล่าว่า ได้เอาไก่งวงมาให้เป็นอาหาร และสอนให้รู้จักปลูกพืชพันธุ์ในฤดูใบไม้ผลิ พอถึงฤดูเก็บเกี่ยว เขาจึงได้ทำพิธีขอบคุณพระเจ้า และขอบคุณชนพื้นเมืองที่ได้ช่วยเหลือเอื้อเฟื้อ



ต่อมาในปี คศ.1621 ผู้ว่าราชการแบร์นฟอร์คแห่งพลีมัช ได้ประกาศให้มี "วันขอบคุณพระเจ้า" ขึ้นเป็นครั้งแรกในทวีปอเมริกาเหนือ แต่ยังไม่ได้กำหนดวันที่แน่นอน จนมาถึงปี คศ.1780 ประธานาธิบดีจอร์จ วอชิงตัน ได้ประกาศให้วันพฤหัสบดีที่ 26 พฤศจิกายน เป็นวันขอบคุณพระเจ้า ซึ่งตรงกับวันสถาปนารัฐ และให้เป็นวันหยุดประจำปี ทุกวันนี้ชาวอเมริกันจึงถือเอาวันพฤหัสบดีที่ 4 ของเดือนพฤศจิกายน ของทุกปีเป็น "วันขอบคุณพระเจ้า" ทั่วทั้งสหรัฐอเมริกา

ในวันนี้พวกคริสเตียนจะทำพิธีนมัสการขอบคุณพระเจ้า สำหรับผลิตผลที่พระเจ้าอวยพร และสำหรับเสรีภาพที่ได้รับ จะมีการร้องเพลงโมทนาพระคุณ อธิษฐานขอบพระคุณ และอ่านพระธรรมที่แสดงถึงการขอบคุณพระเจ้า พิธีนี้ส่วนมากจะทำกันในเวลาเช้า หลังจากนั้นในครอบครัวก็รับประทานอาหารร่วมกัน อาจจะเป็นมื้อกลางวันหรือเย็น ใช้บ้านญาติคนใดคนหนึ่ง เป็นที่รวมสมาชิกในครอบครัว และเชิญญาติพี่น้องมาร่วมกัน อาหารพิเศษของวันนี้ก็จะมีไก่งวงหรือหมูแฮม เพื่อระลึกถึงช่วงเวลาในอดีต

วันอาทิตย์ถัดมา คริสเตียนก็จะนำเอาผลผลิตของตน มาถวายต่อพระเจ้าที่คริสตจักร ส่วนมากก็จะเป็นพืชผักผลไม้ และดอกไม้นานาพันธุ์ เสร็จพิธีนมัสการแล้ว ก็จะนำเอาของเหล่านี้ไปแจกให้คนยากจน หรือตามโรงพยาบาล หรือสถานเลี้ยงเด็กกำพร้า

คริสต์มาส
คริสต์มาส (Christmas หรือ X'Mas) คือเทศกาลเฉลิมฉลองการประสูติของพระเยซู ศาสดาแห่งศาสนาคริสต์ ซึ่งตรงกับวันที่ 25 ธันวาคม พระองค์ประสูติที่เมืองเบ็ธเลเฮ็มและเติบโตที่เมืองนาซาเรท ประเทศอิสราเอลในปัจจุบัน

ประวัติ
คริสต์มาส เป็นคำทับศัพท์ภาษา อังกฤษ Christmas มาจากคำภาษาอังกฤษโบราณว่า Christes Maesse ที่แปลว่า "บูชามิสซาของพระคริสตเจ้า" คำว่า" Christes Maesse" พบครั้งแรกในเอกสารโบราณเป็นภาษาอังกฤษในปี ค.ศ. 1038 และในปัจจุบันคำนี้ก็ได้เปลี่ยนมาเป็นคำว่า Christmas

ประวัติความเป็นมาของวันคริต์มาส ซึ่งเป็นวันเกิดของพระเยซูนั้น ตามหลักฐานในพระคัมภีร์บันทึกไว้ว่า พระเยซูเจ้าประสูติในสมัยที่จักรพรรดิซีซาร์ ออกุสตุส แห่งจักรวรรดิโรมัน ซึ่งทรงสั่งให้จดทะเบียนสำมะโนครัวทั่วทั้งแผ่นดิน โดยฝ่ายคีรีนิอัส เจ้าเมืองซีเรียก็รับนโยบายไปปฏิบัติให้มีการจดทะเบียนสำมะโนครัวทั่วทั้งอาณาเขต แต่ในพระคัมภีร์ ไม่ได้ระบุว่า พระเยซูประสูติวันหรือเดือนอะไร ด้านนักประวัติศาสตร์วิเคราะห์ว่า เดิมทีวันที่ 25 ธันวาคม เป็นวันที่จักรพรรดิเอาเรเลียนแห่งโรมัน กำหนดให้เป็นวันฉลองวันเกิดของสุริยะเทพ ตั้งแต่ปี ค.ศ. 274 ชาวโรมันซึ่งส่วนใหญ่นับถือเทพเจ้าฉลองวันนี้เสมือนว่า เป็นวันฉลองของพระจักรพรรดิไปในตัวด้วย เพราะจักรพรรดิก็เปรียบเสมือนดวงอาทิตย์ ที่ให้ความสว่างแก่ชีวิตมนุษย์ แต่ชาวคริสต์ที่อยู่ในจักรวรรดิโรมัน รวมถึงชาวโรมันที่เปลี่ยนไปนับถือคริสต์อึดอัดใจที่จะฉลองวันเกิดของสุริยเทพ จึงหันมาฉลองการบังเกิดของพระเยซูเจ้าแทน หลังจากที่ชาวคริสต์ถูกควบคุมเสรีภาพทางศาสนาตั้งแต่ปี ค.ศ. 64-313 จนถึงวันที่ 25 ธันวาคม ปี ค.ศ. 330 ชาวคริสต์จึงเริ่มฉลองคริสต์มาสอย่างเป็นทางการและเปิดเผย

องค์ประกอบในงานฉลองวันคริสต์มาส

  • คำอวยพร
    คำอวยพรสำหรับเทศกาลคริสมาสใช้ คำอวยพรว่า Merry Christmas สุขสันต์วันคริสต์มาส คำว่า Merry ในภาษาอังกฤษโบราณ แปลว่า สันติสุขและความสงบทางใจ จึงเป็นคำที่ใช้อวยพรคนอื่น ขอให้เขาได้รับสันติสุข และความสงบทางใจ เนื่องในโอกาสเทศกาลคริสต์มาส ต่อมาคือ "เพลง" ที่ใช้เฉลิมฉลองทั้งจังหวะช้าและจังหวะสนุกสนาน ส่วนใหญ่แต่งในยุคพระราชินีวิกตอเรียแห่งอังกฤษ (ค.ศ.1840-1900) ปัจจุบันแพร่หลายไปทั่วโลกโดยแปลเป็นภาษาต่างๆ มากมาย
  • ซานตาคลอส
    นักบุญ(เซนต์)นิโคลัสแห่งเมืองไมรา นักบุญองค์นี้เป็นสังฆราช ของ ไมรา มีชีวิตอยู่ในศตวรรษที่4 ได้รับการยกย่องให้เป็นซานตาคลอสคนแรก เพราะวันหนึ่งท่านปีนขึ้นไปบนหลังคาบ้านของเด็กหญิงยากจนคนหนึ่งแล้วทิ้งถุงเงินลงไปทางปล่องไฟ บังเอิญถุงเงินหล่นไปทางถุงเท้าที่เด็กหญิงแขวนตากไว้ข้างเตาผิงพอดี ซานตาครอสจริงๆแล้ว แทบจะไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับเทศกาลนี้เลย นักบุญนิโคลาส เป็นนักบุญ ที่ชาวฮอลแลนด์นับถือว่าเป็นนักบุญอุปถัมภ์ของเด็กๆ เมื่อชาวฮอลแลนด์กลุ่มหนึ่งอพยพไปอยู่ในสหรัฐฯ ก็ยังรักษาประเพณีการฉลองนักบุญ นิโคลาส ในวันที่ 5 ธันวาคม ซึ่งหมายถึงนักบุญนี้จะ มาเยี่ยม เด็กๆ และเอาของขวัญมาให้ เด็กอื่นๆ ที่ไม่ใช่ลูกหลานของชาวฮอลแลนด์ที่อพยพมา ก็อยากมีส่วนร่วมในประเพณีแบบนี้บ้างเพื่อรับของขวัญ ประเพณีนี้จึงเริ่มเป็นที่รู้จักและแพร่หลายไปในอเมริกา โดย มีการเปลี่ยนแปลงบางอย่าง คือ ชื่อนักบุญนิโคลาสก็เปลี่ยน เป็นซานตาคลอส และแทนที่จะเป็น สังฆราชซึ่งเป็นนักบุญองค์นั้นก็กลายเป็น ชายแก่ที่อ้วนใส่ชุดสีแดงอาศัย อยู่ที่ขั้วโลกเหนือ มีเลื่อน เป็นยานพาหนะมีกวางเรนเดียร์ลาก และจะมาเยี่ยมเด็กทุกคนในโลกนี้ในโอกาสคริสต์มาส โดยลงมา ทางปล่องไฟของบ้าน เพื่อเอาของขวัญมาให้ เด็กเหล่านั้นตามความประพฤติ ของเขา
  • ต้นคริสต์มาส
    ต้นคริสต์มาสหรือต้นสนที่นำมาประดับประดาด้วยดวงไฟหลากสีสัน การตกแต่งนี้ย้อนไปในศตวรรษที่ 8 เมื่อเซนต์บอนิเฟส มิชชันนารีชาวอังกฤษที่เดินทางไปประกาศเรื่องพระเจ้าในเยอรมนี ได้ช่วยเด็กที่กำลังจะถูกฆ่าเป็นเครื่องสังเวยบูชาที่ใต้ต้นโอ๊ก โดยเมื่อโค่นต้นโอ๊กทิ้งก็ได้พบต้นสนเล็กๆ ต้นหนึ่งขึ้นอยู่โคนต้นโอ๊ก ท่านจึงขุดให้คนที่ร่วมพิธีกรรมเหล่านั้นเพื่อเป็นสัญลักษณ์ของชีวิต และตั้งชื่อว่า ต้นกุมารพระคริสต์ ต่อมา มาร์ติน ลูเธอร์ ผู้นำคริสตจักรชาวเยอรมัน ตัดต้นสนไปตั้งในบ้านในเดือนธันวาคม ปีค.ศ.1540 หลังจากนั้นในศตวรรษที่ 19 ต้นคริสต์มา สจึงเริ่มแพร่ไปสู่ประเทศอังกฤษและทั่วโลก นอกจากนั้น ชาวเยอรมันยังมีประเพณีอีกอย่างหนึ่งคือ มีการจุดเทียนหลายเล่มเป็นรูปปิรามิด ไว้ตลอดคืนคริสต์มาส โดยมีดาวของดาวิดที่ยอดปิรามิด ซึ่งประเพณีที่จะแขวนของขวัญและขนม ก็ได้รวมกับประเพณีของชาวเยอรมันนี้ มาตั้งแต่ศตวรรษที่ 16 โดยเอาเทียนมาไว้ที่ต้นไม้ เป็นรูปทรงปิรามิด นี่เป็นที่มาของประเพณีปัจจุบัน ที่มีการแขวนของขวัญ และไฟกระพริบไว้ที่ต้นคริสต์มาส และมีดาวของดาวิดไว้ที่สุดยอด ประเพณีนี้ เป็นที่นิยมชมชอบของชาวตะวันตกอยู่มาก แม้ว่าประเพณีการตั้งต้นคริสต์มาส มีความเป็นมาดังกล่าว ชาวคริสต์ในสมัยนี้ ก็ยังนิยมทำกันอยู่ เพราะเห็นว่า มีความหมายถึงพระเยซูเจ้า ผู้เปรียบเสมือนต้นไม้แห่งชีวิต (ปฐก.2:9) ที่เขียวสดเสมอในทุกฤดูกาล ซึ่งหมายถึง นิรันดรภาพของพระเยซูเจ้า และนอกจากนั้นยังหมายถึง ความสว่างของ พระองค์ เสมือนแสงเทียนที่ส่องในความมืด ทั้งยังหมายถึง ความชื่นชมยินดี และความสามัคคี ที่พระเยซูเจ้าประทานให้ เพราะต้นไม้นั้น เป็นจุดรวมของครอบครัวในเทศกาลนั้น
  • เพลงคริสต์มาส
    เพลงคริสต์มาส เริ่มมีขึ้นในศตวรรษที่ 5 ซึ่งผู้แต่งมีทั้งพระสงฆ์และฆราวาส เนื้อร้องเป็นภาษาลาติน ลักษณะของเพลงเป็นแบบสง่า เน้นถึงความหมายของการเสด็จมา ของพระเยซูเจ้า แต่ในศตวรรษที่ 12 ได้มีการแต่งในท่วงทำนองที่ร่าเริงสนุกสนานมากขึ้น เริ่มจากประเทศอิตาลี โดยนักบุญฟรังซิส อัสซีซี และนักบวชคณะฟรังซิสกัน เป็นผู้สนับสนุน ให้มีเพลงคริสต์มาสแบบใหม่ ซึ่งชาวบ้านชอบ คือมีท่วงทำนองที่ร่าเริงกว่า และเน้นถึงความชื่นชมยินดี ในโอกาสคริสต์มาส เพลงเหล่านี้มีทั้งที่เป็นภาษาลาติน และภาษาพื้นเมือง เพลงหนึ่งที่แต่งในสมัยนั้น (แต่งคำร้องในปี ค.ศ.1274) และยังใช้อยู่จนถึงปัจจุบัน คือ เพลง Oh Come, All Ye Faithful หรือ Adeste Fideles ในภาษาลาติน เพลงคริสต์มาส ที่นิยมร้องมากที่สุดในปัจจุบันได้แต่งขึ้นในศตวรรษที่ 19 จากประเทศเยอรมัน และประเทศอังกฤษเป็นส่วนใหญ่ เพลงที่มีชื่อเสียงมากได้แก่ เพลง Silent Night, Holy Night ความเป็นมาของเพลงนี้คือ วันก่อนวันฉลองคริสต์มาส ของปี ค.ศ.1818 คุณพ่อโจเซฟ โมห์ (Joseph Mohr) เจ้าอาวาสวัดที่โอเบิร์นดอฟ (Oberndorf) ประเทศออสเตรีย ได้ข่าวว่าออร์แกนในวัดเสีย ทำให้วงขับร้อง ไม่สามารถร้องเพลงตามที่ซ้อมไว้ได้ จึงมีการแต่งเพลงคริสต์มาสใหม่ นำไปเพื่อนชื่อ ฟรานซ์ กรูเบอร์ (Franz Gruber) ใส่ทำนอง ในคืนวันที่ 24 นั้นเอง สัตบุรุษวัดนี้ ก็ได้ฟังเพลง Silent Night เป็นครั้งแรก โดยมีการเล่นกีตาร์ประกอบการขับร้อง ซึ่งกลายเป็นเพลงที่นิยมมากที่สุดทั่วโลก
  • การทำมิสซาเที่ยงคืน
    เมื่อพระสันตะปาปาจูลีอัสที่ 1 ได้ประกาศให้วันที่ 25 ธันวาคมเป็นฉลองพระคริสตสมภพ (วันคริสต์มาส)ในปี นั้นเองพระองค์และสัตบุรุษ ได้พากันเดินสวดภาวนา และขับร้องไปยังตำบลเบธเลเฮม และไปยังถ้ำที่พระเยซูเจ้าประสูติ พอไปถึงก็เป็นเวลาเที่ยงคืนพอดี พระสันตะปาปาก็ทรงถวายบูชามิซซา ณ ที่นั้น เมื่อเสร็จแล้วก็กลับมาที่พักเป็นเวลาเช้ามืดราวๆ ตี 3 พระองค์ก็ถวายมิสซาอีกครั้ง และ สัตบุรุษเหล่านั้นก็พากันกลับ แต่ก็ยังมีสัตบุรุษหลายคนที่ไม่ได้ไป พระสันตะปาปาก็ทรงถวายบูชามิสซาอีกครั้งหนึ่งเป็นครั้งที่ 3 เพื่อสัตบุรุษเหล่านั้น ด้วยเหตุนี้เองพระสันตะปาปาจึงทรงอนุญาตในพระสงฆ์ถวายบูชามิสซาได้ 3 ครั้ง ในวันคริสต์มาส เหมือนกับการปฏิบัติของพระองค์ นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาจึงมีธรรมเนียมถวายมิสซาเที่ยงคืน ในวันคริสต์มาส และพระสงฆ์ก็สามารถถวายมิสซาได้ 3 มิสซา ใน โอกาสวันคริสต์มาส
  • เทียนและพวงมาลัย
    ในสมัยก่อนมีกลุ่มคริสตชนกลุ่มหนึ่งในประเทศเยอรมัน ได้เอากิ่งไม้มาประกอบ เป็นวงกลมคล้ายพวงมาลัย แล้วเอาเทียน 4 เล่ม วางไว้บนพวงมาลัยนั้น ในตอนกลางคืนของวันอาทิตย์แรกของเทศกาลเตรียมรับเสด็จ ทุกคนในครอบครัวจะมารวมกัน ดับไฟ แล้วจุดเทียนเล่มหนึ่ง สวด ภาวนาและร้องเพลงคริสต์มาสร่วมกัน เขาจะทำดังนี้ทุก อาทิตย์จนครบ 4 อาทิตย์ก่อน คริสต์มาส ประเพณีนี้เป็นที่นิยม และแพร่หลายในที่หลายแห่ง โดยเฉพาะที่สหรัฐอเมริกาซึ่งต่อมา มีการเพิ่ม โดยเอาพวงมาลัยพร้อมกับเทียนที่จุดไว้ตรง กลาง 1 เล่มไป แขวนไว้ที่หน้าต่างเพื่อช่วย ให้คนที่ผ่าน ไปมา ได้ระลึกถึงการเตรียมตัวรับวันคริสต์มาสที่ใกล้เข้ามา และพวงมาลัยนั้นยังเป็น สัญลักษณ์ที่คน สมัยโบราณใช้หมายถึงชัยชนะ แต่ในที่นี้หมายถึงการที่พระองค์มาบังเกิดในโลก และทำให้ทุกสิ่ง ทุกอย่างครบ บริบูรณ์ตามแผนการณ์ ของพระเป็นเจ้า ปัสกา

    อ่านต่อ หน้าถัดไป >>>

ประวัติความเป็นมาของศาสนาและผู้ก่อตั้งศาสนา
กำเนิดและวิวัฒนาการของนิกายที่สำคัญในศาสนาคริสต์
องค์ประกอบของคริสต์ศาสนา
ศาสนธรรมในศาสนาคริสต์
หลักคำสอนของศาสนาคริสต์
หลักคำสอนสำคัญ
เรื่องบาปกำเนิด
ศาสนบุคคลในศาสนาคริสต์
คริสต์ศาสนปราชญ์
ศีลศักดิ์สิทธิ์วิถีชีวิตของชาวคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก
พิธีกรรมและแนวความเชื่อของนิกายออร์ธอด็อกซ์
พิธีกรรมของนิกายโปรเตสแตนต์
วันสำคัญทางศาสนาคริสต์ นิกายโรมันคาทอลิก
วันสำคัญคริสตศาสนา นิกายโปรเตสแตนท์
วันสำคัญของคริสต์ศาสนาทุกนิกาย
ปัสกา
อัสสัมชัญ
ศาสนสถานที่สำคัญในศาสนาคริสต์
คาทอลิก กับ โปรเตสแตนท์ต่างกันตรงไหน
 

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย