ศาสนา ลัทธิ ความเชื่อ นิกาย พิธีกรรม >>
ศาสนาคริสต์
ศาสนสถานที่สำคัญในศาสนาคริสต์
นครรัฐวาติกัน
นครรัฐวาติกัน (State of the Vatican City)
ตั้งอยู่ในกรุงโรม ประเทศอิตาลี เป็นที่ประทับของพระสันตะปาปา
ซึ่งเป็นประมุขสูงสุดแห่งศาสนาคริสต์ นิกายโรมันคาทอลิก
นครรัฐวาติกันจัดว่าเป็นประเทศ ที่มีขนาดเล็กที่สุดในโลก ศูนย์กลางคือ
มหาวิหารเซนต์ปีเตอร์ ออกแบบโดยมีเกลันเจโล
การปกครองเป็นแบบอำนาจเบ็ดเสร็จ อำนาจตกอยู่ที่พระสันตะปาปาเพียงผู้เดียว
จะหมดวาระก็ต่อเมื่อสิ้นพระชนม์ พระสันตะปาปาองค์ปัจจุบันคือ
สมเด็จพระสันตะปาปาเบเนดิกต์ที่ 16 นครรัฐวาติกัน เป็นดินแดนที่ตั้งอยู่ใจกลาง
กรุงโรม ประเทศอิตาลี และมีพระสันตะปาปาเป็นผู้ปกครองสูงสุด
เมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1929
นครรัฐวาติกันและอิตาลีได้ลงนามสนธิสัญญายอมรับสถานะของนครรัฐวาติกันเป็นรัฐเอกราชมีอำนาจอธิปไตยของตนเอง
ตั้งแต่ ค.ศ. 1960
นครรัฐวาติกันได้รับการจารึกให้เป็นดินแดนที่จะต้องได้รับการปกป้องรักษาไว้เป็นพิเศษในสถานการณ์ที่มีความขัดแย้งทางอาวุธ
(International Register of Cultural Works under Special Protection in Case
of Armed Conflict) เนื่องจากเป็นแหล่งศิลปวัฒนธรรมของโลก
มีหอสมุดอันเก่าแก่ตั้งแต่ศตวรรษที่ 13 (the Apostolic Library of the Vatican)
ต่อมา ในศตวรรษที่ 15 ได้มีการจัดตั้งหอจดหมายเหตุนครรัฐวาติกัน (Secret
Archive of the Vatican) พิพิธภัณฑ์วาติกัน มหาวิหารเซนต์ปีเตอร์
และมีสำนักพิมพ์ของตนชื่อ the Vatican Polyglot Press
ซึ่งเป็นที่จัดพิมพ์ผลงานภาษาต่างๆ รวมทั้งออกหนังสือพิมพ์รายวัน Observatore
Romano ซึ่งตีพิมพ์เผยแพร่ตั้งแต่ ค.ศ. 1861 และตั้งแต่ ค.ศ. 1931
นครรัฐวาติกันได้จัดตั้งสถานีวิทยุกระจายเสียง ถ่ายทอดเสียงภาษาต่างๆ ถึง 30
ภาษา ปัจจุบัน นครรัฐวาติกันมีสถานีวิทยุกระจายเสียง 3 สถานี สถานีโทรทัศน์ 1
สถานี
สมเด็จพระสันตะปาปาทรงอำนาจสูงสุดทั้งด้านนิติบัญญัติ บริหาร และตุลาการ
สมเด็จพระสันตะปาปาองค์ปัจจุบัน คือ สมเด็จพระสันตะปาปาเบเนดิกต์ที่ 16
เป็นชาวเยอรมันมีพระนามเดิมว่า โจเซฟ รัตซิงเกอร์ (Joseph Ratzinger) พระชนมายุ
78 พรรษา ทรงได้รับเลือกตั้งเมื่อวันที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2548
โดยสภาที่ปรึกษาของสมเด็จพระสันตะปาปา ซึ่งประกอบด้วยสมเด็จพระราชาคณะชั้น
Cardinal (College of Cardinals)
ซึ่งมีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งเฉพาะสมเด็จพระราชาคณะชั้นคาร์ดินัล
ที่มีอายุต่ำกว่า 80 ปีเท่านั้น
สมเด็จพระสันตะปาปาที่ทรงได้รับเลือกตั้งแล้วจะอยู่ในตำแหน่งไปจนตลอดพระชนม์ชีพ
สมเด็จพระสันตปาปา Benedict ที่ 16 ทรงเข้าพิธีเข้ารับตำแหน่งเมื่อวันที่ 24
เมษายน พ.ศ. 2548
การบริหารศาสนจักรเป็นหน้าที่ของ the Roman Curia
หรือสำนักงานบริหารศาสนจักรส่วนกลาง ซึ่งมักเรียกในภาษาอังกฤษว่า Holy See หรือ
Apostolic See มีหน่วยงานหลักคือ สำนักเลขาธิการแห่งรัฐ (Secretariat of State)
รับผิดชอบการบริหารประเทศ โดยมีพระคาร์ดินัลผู้ดำรงตำแหน่งเลขาธิการแห่งรัฐ
(Secretary of State) เป็นหัวหน้า (เทียบเท่านายกรัฐมนตรี)
มีหน้าที่รับผิดชอบกิจการด้านการเมืองและการทูตของนครรัฐวาติกัน
เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2531 สมเด็จพระสันตะปาปาจอห์น ปอล ที่สอง
ทรงปรับโครงสร้างของสำนักเลขาธิการแห่งรัฐ โดยแบ่งเป็น 2 หน่วยงาน คือ
- The Section for General Affairs หรือ The First Section รับผิดชอบด้านการบริหารของศาสนจักรและดูแลสถานทูตต่าง ๆ ประจำนครรัฐวาติกัน หัวหน้าหน่วยงาน คือ The Substitute for General Affairs และมีผู้ช่วย คือ The Assessor for General Affairs
- The Section for Relations with States รับผิดชอบด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ และการแต่งตั้งบิชอปในประเทศต่างๆ หัวหน้าหน่วยงาน คือ The Secretary for Relations with States และมีผู้ช่วย คือ The Under-Secretary for Relations with States
นอกจากหน่วยงานทั้งสองข้างต้นแล้วยังมี Sacred Congregations ต่างๆ ซึ่งเทียบได้กับกระทรวงต่างๆ รวม 9 กระทรวง เรียกชื่อตามลักษณะงานในความรับผิดชอบ ได้แก่
- The Congregation for the Doctrine of the Faith รับผิดชอบเกี่ยวกับการส่งเสริมศรัทธาและศีลธรรมทั่วโลก
- The Congregation for the Causes of Saints รับผิดชอบเกี่ยวกับขั้นตอนในการประกาศแต่งตั้งนักบุญ
- The Congregation for the Oriental Churches รับผิดชอบเกี่ยวกับกิจกรรมของศาสนจักรคาทอลิกตะวันออก (ไบแซนไทน์)
- The Congregation for Bishops รับผิดชอบเกี่ยวกับการตั้งบิชอปและสังฆมณฑล
- The Congregation for Divine Worship and the Discipline of the Sacraments รับผิดชอบเกี่ยวกับกิจกรรมสักการะบูชาในคริสต์ศาสนา
- The Congregation for the Evangelization of Peoples รับผิดชอบเกี่ยวกับกิจกรรมแพร่ธรรมของมิชชั่นนารีในศาสนจักรในทวีปแอฟริกาและเอเชีย ซึ่งรวมถึงประเทศไทยด้วย
- The Congregation for Institutes of Consecrated Life and for Societies of Apostolic Life รับผิดชอบเกี่ยวกับการส่งเสริมและกำกับดูแลนักบวช
- The Congregation for the Clergy รับผิดชอบเกี่ยวกับบาทหลวงและผู้ช่วยบาทหลวงที่มิใช่นักบวช รวมถึงกิจกรรมและวินัยของบาทหลวงประจำสังฆมณฑล
- The Congregation for Catholic Education รับผิดชอบเกี่ยวกับสามเณราลัย รวมทั้งการส่งเสริมและการจัดตั้งสถานศึกษาแคธอลิก โดยเฉพาะ โรงเรียนและมหาวิทยาลัยต่างๆ
ตามสนธิสัญญาแห่ง ลาเตรัน นครรัฐวาติกันมีอาณาเขตประกอบด้วยวังวาติกัน วังกัสเตลกันดอลโฟ (Castelgandolfo) อันเป็นที่ประทับร้อนอยู่นอกชานกรุงโรมไปทางทิศใต้ มหาวิทยาลัยเกรโกเรียน (Gregorian University) และโบสถ์ 13 แห่งในกรุงโรม เฉพาะวังวาติกันมีเนื้อที่ 150 ไร่ หรือ 2/5 ตารางกิโลเมตร ซึ่งรวมมหาวิหารเซนต์ปีเตอร์ พิพิธภัณฑ์วาติกัน หอสมุดวาติกัน และทีประทับขององค์สันตะปาปาด้วย ภายในบริเวณดังกล่าวยังมีอุทยานวาติกันอันงดงาม มีสถานีวิทยุของวาติกัน มีที่ทำการไปรษณีย์วาติกัน สถานีรถไฟวาติกัน ธนาคารวาติกัน และร้านค้าของวาติกัน ซึ่งปลอดภาษีทุกชนิด แม้นครรัฐวาติกันจะมีการติดต่อทางการทูตกับประเทศต่างๆ ทั่วโลก รวมทั้ง ประเทศไทยด้วย แต่ในนครรัฐวาติกันหามีที่ตั้งสถานทูตไม่ เพราะทูตประจำวาติกันมักจะได้แก่ ทูตประจำประเทศหนึ่งในยุโรป ทูตประจำนครรัฐวาติกันจึงมีที่พำนักอยู่นอกเขตวาติกันทั้งสิ้น
ศาสนจักรวาติกันมีรายได้หลักจากการสนับสนุนทางการเงินขององค์กรคริสต์ศาสนานิกายโรมันแคธอลิคทั่วโลก
เงินรายได้นี้เรียกว่า "Peter s Pence" นอกจากนี้ ยังมีรายได้จากการลงทุนต่างๆ
ภายใต้การบริหารของหน่วยงาน The Patrimony of the Holy See
ค่าธรรมเนียมการเข้าชมพิพิธภัณฑ์รายได้จากการจำหน่ายหนังสือ สิ่งพิมพ์
ดวงตราไปรษณียากร ของที่ระลึกสำหรับนักท่องเที่ยว
คนเชื้อชาติวาติกันไม่มีในโลก มีแต่พลเมืองสัญชาติวาติกันเป็นอย่างมาก
นครรัฐวาติกันมีพลเมืองประมาณ 900 คน ประมาณ 200 คนเป็นสตรี
และมีคนทำงานในนครวาติกัน 1,300 คน พลเมืองอันประกอบด้วยองค์สันตะปาปา คาร์ดินัล
ผู้ปกครองนครรัฐ วาติกัน เจ้าหน้าที่ประจำวาติกัน
และทหารสวิสมีหอกโบราณเป็นอาวุธประดับเกียรติ ซึ่งเป็นองครักษ์ของสันตะปาปาประมาณ
100 คน ทหารสวิส มีมาตั้งแต่ ค.ศ. 1506 การแต่งกายของทหารสวิส
มีเครื่องแบบที่ออกแบบโดย มีเกลันเจโล ทุกคนเป็นชาวสวิส
และเป็นคาทอลิกที่ดีทหารสวิสแต่ละคนจะประจำการชั่วระยะหนึ่ง
นอกจากนั้นก็ได้แก่เจ้าหน้าที่ทูตวาติกันที่ประจำอยู่ในประเทศต่างๆ ทั่วโลก
รวมทั้งประเทศไทยด้วย
พลเมืองวาติกันเหล่านี้จะมีสัญชาติวาติกันเฉพาะในขณะดำรงตำแหน่งหรือเป็นภรรยาของพลเมืองวาติกัน
หรือเป็นบุตรที่มีอายุไม่เกิน 25 ของพลเมืองวาติกัน บุตรคนใดอายุถึง 25 ปี
ต้องกลับคืนสัญชาติเดิม ผู้ถือสัญชาติวาติกัน
หากพ้นตำแหน่งเมื่อใดก็ต้องคืนสู่สัญชาติเดิมของตน
พร้อมด้วยบุคคลทุกคนในครอบครัวที่ถือสัญชาติวาติกัน
หากชาติเดิมของตนไม่ยอมรับให้ขอสัญชาติอิตาลีซึ่งรัฐบาลอิตาลีมีข้อผูกมัดต้องรับเสมอ
มหาวิหารเซนต์ปีเตอร์
มหาวิหารเซนต์ปีเตอร์ (ภาษาอังกฤษ:
Basilica of Saint Peter, ภาษาละติน: Basilica Sancti Petri)
รู้จักกันโดยชาวอิตาลีว่า Basilica di San Pietro in Vaticano
หรือเรียกกันสั้นๆว่าเซนต์ปีเตอร์บาซิลิกา (Saint Peter's Basilica)
มหาวิหารนี้เป็นมหาวิหารหนึ่งในสี่ของมหาวิหารหลักในกรุงโรม, ประเทศอิตาลี
(อีกสามมหาวิหารคือ: มหาวิหารเซ็นต์จอห์นแลเตอร์รัน, มหาวิหารซานตามาเรียมายอเร และ
มหาวิหารเซ็นต์พอลนอกกำแพง
มหาวิหารเซนต์ปีเตอร์เป็นสิ่งก่อสร้างที่ใหญ่และสำคัญที่สุดในนครรัฐวาติกันสร้างทับวิหารเดิมที่ชื่อเดียวกัน
โดมของมหาวิหารเซนต์ปีเตอร์สูงโดดเด่นสามารถเห็นได้แต่ไกลในตัวเมืองโรม
วัดนี้ตั้งอยู่ในเนื้อที่ประมาณ 2.3 เฮกตาร์ สามารถจุคนได้กว่า 60,000 คน
เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ที่สุดที่หนึ่งของคริสตชนนิกายโรมันคาทอลิก
ที่ตั้งวัดเชื่อกันว่าเป็นที่ฝังร่างของ นักบุญปีเตอร์
ซึ่งเป็นหนึ่งในสาวกสิบสององค์ของพระเยซู
นักบุญปีเตอร์เดิมเป็นบาทหลวงองค์แรกของอันติโอก (Antioch)
ต่อมาก็ได้สถาปนาขึ้นเป็นพระสันตะปาปาองค์แรกของโรม
เพราะนิกายโรมันคาทอลิกเชื่อกันว่าร่างของนักบุญปีเตอร์ถูกฝังไว้ที่นี่
จึงเป็นประเพณีกันต่อมาว่าพระสันตะปาปาหลายองค์ก็ฝังไว้ที่วัดนี้
ตัวมหาวิหารปัจจุบันเริ่มสร้างเมื่อวันที่ 18 เมษายน ค.ศ. 1506
บนวัดแบบคอนแสตนทีน และเสร็จเมื่อปี ค.ศ. 1626
แต่เดิมนั้นมหาวิหารเซนต์ปีเตอร์มิได้เป็นสถานที่พำนักประจำตำแหน่งของพระสันตะปาปาเช่นปัจจุบันนี้
(สถานที่ประจำตำแหน่งของสันตะปาปาเดิมอยู่ที่มหาวิหารเซ็นต์จอห์น แลเตอร์รัน)
ถึงกระนั้นก็ยังถือกันว่าเป็นวัดสำคัญวัดหนึ่ง
เพราะวัดนี้ตั้งอยู่ในตัวนครรัฐวาติกันเอง และมีเนื้อที่มาก
การทำพิธีต่างๆที่เกี่ยวกับพระสันตะปาปาก็จะมาทำกันที่นี่
นอกจากนั้นก็ยังมีบัลลังก์บิชอปปีเตอร์ (Cathedra Petri)
ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นบัลลังก์ของนักบุญปีเตอร์เองเมื่อดำรงตำแหน่งเป็นสันตะปาปาที่นี่
แต่ปัจจุบันนี้เก้าอี้นี้ไม่ได้ใช้เป็นบัลลังก์บิชอปอีกแล้ว
แต่ยังเก็บไว้ไต้ฐานแท่นบูชาที่ออกแบบโดยจานลอเรนโซ เบร์นินี
มหาวิหารเซนต์ปีเตอร์ จากภาพเขียนโดยวิเวียโน โคดาซซี (Viviano Codazzi)
เมื่อ ค.ศ. 1630 หอสองหอที่เห็นในภาพถูกรี้อภายหลัง
มหาวิหารเซนต์ปีเตอร์เก่าเป็นวัดศตวรรษที่ 4 ซึ่งมีรูปทรงแบบบาซิลิคา พอมาถึง
ยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาก็อยู่ในสภาพที่ทรุดโทรมมากเพราะพระสันตะปาปาย้ายที่พำนักไปอยู่ที่เมืองอาวินยอง
(Avignon) ประเทศฝรั่งเศส ระหว่างปี ค.ศ. 1309 ถึงปี ค.ศ. 1377
การตัดสินใจสร้างมหาวิหารใหม่ก็เพื่อจะได้สร้างมหาวิหารที่ใหม่กว่าและใหญ่กว่าเดิมมากได้สะดวก
การใช้ชื่อมหาวิหารเซนต์ปีเตอร์เก่าก็ใช้มาตั้งแต่เมื่อสร้างมหาวิหารปัจจุบัน
เพี่อเป็นการแสดงถึงความแตกต่างระหว่างสิ่งก่อสร้างปัจจุบันและสิ่งก่อสร้างเดิม
เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม ค.ศ. 1950
ระหว่างการออกอากาศทางวิทยุสมเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที่
12ประกาศว่าได้มีการค้นพบที่ฝังพระศพของนักบุญปีเตอร์[4]
หลังจากที่นักโบราณคดีใช้เวลา 10 ปีศึกษาขุดค้นห้องใต้ดิน (crypt) ภายในมหาวิหาร
ภายในมหาวิหารมีที่ฝังศพกว่าร้อยที่ บางที่อยู่ภายในถ้ำวาติกัน (Vatican
grotto) ซึ่งอยู่ภายใต้มหาวิหาร ภายในถ้ำมีพระสันตะปาปาฝังไว้ 91 องค์
บุคคลสำคัญๆที่ฝังภายในมหาวิหารก็มี
- นักบุญอิกเนเชียสแห่งอันติโอก (St. Ignatius of Antioch)
- พระเจ้าอ็อตโตที่ 3 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์
- จิโอวานี เพียลุยจี แห่ง พาเลสทรินา (Giovanni Pierluigi da Palestrina) - คีตกวี
- เจมส์ ฟรานซิส เอ็ดเวิร์ด สจวต (James Francis Edward Stuart) และโอรสอีกสององค์ ผู้หนีภัยจากอังกฤษ
- ชาร์ลส์ เอ็ดเวิร์ด สจวต (Charles Edward Stuart) - โอรสของเจมส์ ฟรานซิส เอ็ดเวิร์ด
- เฮนรี เบเนดิกต์ สจวต (Henry Benedict Stuart) - โอรสของเจมส์ ฟรานซิส เอ็ดเวิร์ด
- พระราชินีคริสตีนาแห่งประเทศสวีเดน (Christina of Sweden) ผู้สละราชสมบัติเพื่อเปลี่ยนมานับถือนิกายคาธอลิก
เมื่อสมเด็จพระสันตะปาปานิโคลัสที่ 5 เริ่มสร้างมหาวิหาร พระองค์สั่งซื้อหิน 2,522 เล่มเกวียนจาก โคลอสเซียมที่อยู่ในสภาพที่เสื่อมโทรม เงินที่ซื้อหินเอามาจากสมบัติที่ขนมาจากเยรูซาเลมเมื่อเยรูซาเลมเสียเมือง และจากการทำลายวัดโดยนายพลของจักรพรรดิเวสปาเชียน (Vespasian) ผู้ที่ต่อมาได้เป็นจักรพรรดิไททัส (Titus) เมื่อ ค.ศ. 70
ประวัติความเป็นมาของศาสนาและผู้ก่อตั้งศาสนา
กำเนิดและวิวัฒนาการของนิกายที่สำคัญในศาสนาคริสต์
องค์ประกอบของคริสต์ศาสนา
ศาสนธรรมในศาสนาคริสต์
หลักคำสอนของศาสนาคริสต์
หลักคำสอนสำคัญ
เรื่องบาปกำเนิด
ศาสนบุคคลในศาสนาคริสต์
คริสต์ศาสนปราชญ์
ศีลศักดิ์สิทธิ์วิถีชีวิตของชาวคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก
พิธีกรรมและแนวความเชื่อของนิกายออร์ธอด็อกซ์
พิธีกรรมของนิกายโปรเตสแตนต์
วันสำคัญทางศาสนาคริสต์ นิกายโรมันคาทอลิก
วันสำคัญคริสตศาสนา นิกายโปรเตสแตนท์
วันสำคัญของคริสต์ศาสนาทุกนิกาย
ปัสกา
อัสสัมชัญ
ศาสนสถานที่สำคัญในศาสนาคริสต์
คาทอลิก กับ โปรเตสแตนท์ต่างกันตรงไหน