ศาสนา ลัทธิ ความเชื่อ นิกาย พิธีกรรม >>
ศาสนาคริสต์
แล้วโมเสสเล่าเหตุการณ์ตอนที่ 2 ของโลกคือเรื่องบาปกำเนิด
ท่านหยุดรำพึงอย่างลึกซึ๊ง เพราะสิ่งที่จะเล่านี้ รู้สึกน่ากลัว ท่านเล่าว่า แผ่นดินที่อาดัมและเอวาอาศัยอยู่ เป็นสวนเต็มไปด้วยไม่ผล ทั้งสองมีสิทธิ์เก็บกินไม้ผลทุกชนิด เว้นแต่ "ต้นแห่งชีวิต"ที่อยู่กลางสวน พระเป็นเจ้าตรัสว่า "ถ้าเจ้ากินเมื่อไร เจ้าจะต้องตาย" ปีศาจได้จำแลงเป็นงูมาล่อลวงเอวาว่า "ทำไมไม่กินผลไม้ต้นนี้" เพราะพระเป็นเจ้าสั่งว่า กินแล้วต้องตาย "ไม่จริง" ปีศาจพูด " ตรงข้าม เธอจะมีฤทธิ์เหมือนพระเป็นเจ้า พระองค์กลัวจีงมิให้กิน " เอวามองลูกไม้อยู่นาน ที่สุดก็เก็บมากิน แล้วเอาไปให้อาดัมกินด้วย พระเป็นเจ้าทรงเรียกที้งสองมาถามว่า "ได้กินผลไม้ที่ห้ามหรือ" อาดัม เอวา แทนที่จะช่วยกัน กลับซัดกันเอง อาดัมว่า "เอวาทำผิด และเอามาให้ฉันกิน" เอว่าซัดไปถึงปีศาจ วว่า "งูมาล่อลวงให้ฉันกิน" พระเป็นเจ้าลงโทษงูให้เป็นสัตว์น่าแสยง ตรัสแก่เอว่า ว่า "เจ้าจะลำบากมากเมื่อมีบุตร" ตรัสแก่อดัมว่า "เจ้าจะหากินด้วยความยากลำบาก" เจ้าเป็นฝุ่นดินก็จะกลับเป็นดินใหม่" แผ่นดินก็ไม่เป็นอุทธยานอีก
ชาวอิสราเอลจำคำบอกเล่าของโมเสสไว้ เขารู้ว่า เรื่องผลไม้นี้เป็นวิธีเล่าความจริงที่อาดัมและเอวาทำคือ บาปจองหอง ไม่เคารพเชื่อฟังพระเป็นเจ้า พระองค์ต้องลงโทษ ชาวอิสราเอลรู้ว่า ทุกคนสืบาจาก อาดัม เอวา ก็พลอยติดบาปกำเนิดด้วย เมื่อมนุษย์ไม่เป็นไมตรีกับพระ เข้าก็ไม่เป็นายของโลก ไม่รู้หันไปพึ่งใคร ต้องลำบาก
เมื่อโมเสสพูดจบ ชาวอิสราเอลนิ่งอยู่นานเขาคิดถึงมหันตภัยบาป โมเสสเตือนเขาว่า พระเป็นเจ้ามิได้ทรงทอดทิ้งมนุษย์ แต่สักวันหนึ่ง พระองค์จะเลือกสตรีผู้หนึ่งซึ่งโอรสของพระนางบดขยี้ปีศาจ และบรูณะแผนการของพระเสียใหม่สตรีนั้นคือ พระนางพรมจารีมารีอา และพระโอรสคือ พระเยซูเจ้า
ของคาทอลิก
ทุกสิ่งที่พระเป็นเจ้าสร้าง พระองค์ทรงทำอย่างดี พระองค์ทรงให้อดัม และเอวา อยู่ในโลก อยู่ในสถานที่สวยงาม ชีวิตพระหรรษทาน เขาเรียกที่นั้นว่า สวนสวรรค์ ณ แผ่นดิน อดัม และเอว่า เป็นคนดีทุกอย่าง วิญญาณของเขายังไม่มีตัญหาชักจูง ไม่เจ็บไม่ไข้ และถ้าเขายั่งคงซื่อสัตย์เสมอไป เขาจะไปสวรรค์ทั้งเป็นทีเดียว แต่พระเป็นเจ้า ได้ประทานของขวัญดีเลิศกว่านั้น คือพระเป็นเจ้าเสด็จมาประทับอยู่ ของวัญญาณท่านทั้งสอง ความปรารถนายิ่งใหญ่ของพระเป็นเจ้าคือ มาประทับอยู่ในวิญญาณของเรา เพื่อทำให้เราเป็นบุตรของพระองค์ เป็นบุตรของพระเป็นเจ้า พระเป็นเจ้าสั่งสอนให้อาดัมและเอวาเชื่อฟังพระองค์ แต่อนิจจา อาดัมและเอวา เมื่อเห็นว่าสุขสบายทุกอย่าง มีปัญญาเฉียบแหลม ก็ได้เชื่อปีศาจที่มาชักชวนให้เกิด ความจองหอง ไม่ยอมนบนอบต่อพระเป็นเจ้า เอวา เกิดความจองหองบ้าบิ่น ปรารถนาจะเหมือนพระเป็นเจ้า ได้เชื่อฟังคำล่อลวงของปีศาจ และมิได้นบนอบเชื่อฟังพระบิดาในสวรรค์ และอาดัมก็ทำอย่างเอวาด้วย ทันทีที่กินผลไม้รู้ดีรู้ชั่วเข้าไป ทั้งสองรู้สึกอายเหลือเกิน และเป็นต้น เมื่อเขาทำบาปหนัก พระเป็นเจ้าก็ได้ ออกจากวิญญาณเขา พระองค์ ทรงขับไล่เขาที้งสองออกจาก ชีวิตพระหรรษทาน เขาต้องทำงานอาบเหงื่อต่างน้ำ จิตใจเอียงข้างบาป ต้องเจ็บไข้ ต้องตาย ยิ่งกว่านั้น เมื่ออาดัมและเวาได้ทำลายมิตรภาพ กับพระเป็นเจ้า และความสุขทั้งฝ่ายกายและฝ่ายวิญญาณแล้ว ผลร้ายมาถึงลูกหลานของเขาด้วย ฉะนั้นเมื่อเธอเกิดมา เธอต้องตาย จึงไม่มีชีวิตพระหรรษทาน และความทุกข์ยากต่างๆๆ เพราะทุกคนมีบาปกำเนิด มีแต่พระนางมารีพรมจารี มารีอา พระมารดาพระเยซูเจ้าพ้นจากบาปกำเนิด แต่พระเป็นเจ้าทรงพระทัยดี สัญญาว่า สักวันหนึ่งจะมีผู้หนึ่งมาช่วยอาดัม และเอวาให้รอด ช่วยทุกคนให้รอด ช่วยเราเอาตัวรอดด้วย พระเยซูเจ้าทรงทำให้เรา ประสานมิตรภาพระหว่างเรากับพระเป็นเจ้า
อาดัมและเอวา ได้นอบน้อมเชื่อฟังพระเป็นเจ้าหรือ?
- อาดัมและเอวามิได้เชื่อฟังพระเป็นเจ้า
แต่ได้เชื่อฟังปีศาจมุ่งเป็นใหญ่เสมอเท่าพระเป็นเจ้า
ทำบาปแล้ว อาดัมและเอวา ได้รับความเสียหายอะไรบ้าง?
- อาดัมและเอวา แม้ไม่เสียชีวิตตามธรรมชาติ แต่ก็เสียชีวิตเหนือธรรมชาติ
และพระคุณนอกธรรมชาติ
เสียชีวิตเหนือธรรมชาติ มีผลร้ายอะไรบ้าง?
- อาดัมและเอวาเสียพระหรรษทาน ทำให้ไม่เป็นบุตรบุณธรรมของพระเป็นเจ้า
มีบาปหนักติดวิญญาณ
เสียพระคุณนอกธรรมชาติ ให้โทษอะไรบ้าง?
- ฝ่ายวิญญาณ สติปัญญามืดมัว เจตนา น้ำใจ อ่อนเปลี๊ย เอียงไปทางความชั่ว
- ฝ่ายกาย ต้องทำมาหากินด้วยความลำบาก ต้องเจ็บป่วยและตาย
บาปที่อาดัมและเอวาทำนั้น ติดมนุษย์เราด้วยหรือ?
- ผลร้ายต่างๆๆจากบาปของอาดัมและเอวาติดมนุษย์เราทุกคน
เพราะเราเป็นลูกหลานของท่าน บาปนั้นเรียกว่า บาปกำเนิด
มีใครได้รับการยกเว้นจากบาปกำเนิดหรือไม่?
- พระนางมารีย์พรมจารีมารีอาผู้เดียว ได้รับการยกเว้นบาปกำเนิด
เพราะเห็นแก่พระบารมีของพระเยซูคริสเจ้า พระนางเป็นผู้ปราศจากมลทิน นิรมล
หลังบาปกำเนิด พระเป็นเจ้าได้ทิ้งมนุษย์หรือไม่?
- พระเป็นเจ้ามิได้ทรงทอดทิ้งมนุษย์ แต่ทรงสัญญาว่า เราจะประทานพระผู้ไถ่
มาช่วยให้พ้นบาป
(ปฐมกาล 3,9-18)
พระผู้ไถ่คือผู้ใด?
- พระผู้ไถ่ คือพระบุตร พระบุคคลที่สองในพระตรีเอกภาพที่ทรงบังเกิดเป็นมนุษย์
พระบุตรของพระเป็นเจ้า ทรงบังเกิดเป็นมนุษย์ได้อย่างไร?
- พระบุตรได้ทรงรับเอาวิญญณ และกายเหมือนเราจากพระนางพรมจารีย์มารีอา
ด้วยฤทธิเดชของพระติต
พระบุตรของพระเป็นเจ้าทรงยอมบังเกิดเป็นมนุษย์ทำไม
- พระบุตรของพระเป็นเจ้า ทรงยอมบังเกิดเป็นมนุษย์เพื่อไถ่บาปเรา
และเพื่อสอนเราด้วยพระวาจา และด้วยแบบฉบับของพระองค์
พระเจ้าได้ทรงสร้างมนุษย์ตามพระฉายาลักษณ์ของพระองค์ และได้สถาปนามนุษย์ไว้ในมิตรภาพของพระองค์ เนื่องจากมนุษย์เป็นสิ่งสร้างฝ่ายจิต มนุษย์จะสามารถดำเนินชีวิตอยู่ในมิตรภาพอันนี้ได้ ก็แต่ในแบบของการนอบน้อมอย่างอิสระต่อพระเจ้า นี่คือสิ่งที่แสดงออกอยู่ในคำสั่งห้ามมนุษย์รับประทานจากต้นไม้แห่งความสำนึกในความดีและความชั่ว "เพราะในวันใดที่เจ้าขืนกิน เจ้าจะต้องตาย" (ปฐก.2:17) "ต้นไม้แห่งความสำนึกในความดีและความชั่ว" (ปฐก.2:17) คือสัญลักษณ์ชวนใหัระลึกถึงขอบเขตจำกัดอันจะข้ามไปมิได้ ซึ่งมนุษย์ในฐานะสิ่งสร้าง จักต้องยอมรับอย่างอิสระและให้ความเคารพด้วยความไว้วางใจ มนุษย์ขึ้นอยู่ต่อพระผู้สร้าง มนุษย์ต้องอยู่ใต้กฎแห่งการสร้างสรรค์ และเกณฑ์บรรทัดฐานเชิงจริยธรรม ซึ่งเป็นเครื่องกำหนดวิธีใช้เสรีภาพ
บาปแรกของมนุษย์ มนุษย์ -เมื่อถูกปีศาจล่อลวง- ก็ปล่อยให้ความไว้เนื้อเชื่อใจต่อพระผู้สร้างตนขึ้นมาตายไปจากใจ และโดยการละเมิดเสรีภาพแห่งตน ก็ได้ฝ่าฝืนคำสั่งของพระเจ้า ในทำนองนี้เองที่บาปแรกของมนุษย์เกิดขึ้น (เทียบ ปฐก.3:1-11; รม.5:19) บาปทุกชนิด ในระยะต่อมา ก็จะเป็นการขัดขืนไม่ยอมเคารพเชื่อฟังต่อพระเจ้า และขาดความวางใจในพระมหากรุณาของพระองค์เช่นกัน ในบาปประการนี้ มนุษย์เลือกเอาตัวเองสำคัญกว่าพระเจ้า และจากการคิดดังนี้ มนุษย์ก็ได้หมิ่นประมาทพระเจ้า มนุษย์ได้เลือกตัวเขาเองในลักษณะที่เป็นปฏิปักษ์กับพระเจ้า ไม่ยอมทำตามข้อกำหนดในสภาวะของสิ่งสร้าง ดังนั้น จึงเป็นการขัดขืนต่อสิ่งที่เป็นคุณประโยชน์แก่ตนเอง พระเป็นเจ้าสร้างมนุษย์มาให้อยู่ในสภาพศักดิ์สิทธิ์ พระองค์กำหนดล่วงหน้าให้มนุษย์มีสภาวะพระองค์อย่างเต็มที่ในสิริโรจนา จากการล่องลวงของปีศาจ มนุษย์ก็ต้องการที่จะ "เป็นเหมือนพระเจ้า" แต่ "โดยปราศจากพระเจ้า และก่อนพระเจ้า และมิใช่ตามน้ำพระทัยของพระเจ้า" (St. Maximus the Confessor; PG 91,1156C; เทียบ ปฐก.3:5)
พระคัมภีร์ชี้ให้เห็นผลสืบเนื่องอันน่าสพรึงกลัวของการไม่เชื่อฟังครั้งแรกนั้น อาดัมและเอวาสูญเสียพระหรรษทานแห่งความศักดิ์สิทธิ์ดั้งเดิมไปในทันที (เทียบ รม.3:23) เขาทั้งสองเกิดมีความกลัวพระเจ้า ซึ่งเขาได้ตั้งมโนภาพไว้อย่างผิด คือเป็นพระเจ้าที่หวงแหนในสิทธิอำนาจแห่งตน (เทียบ ปฐก.3:5-10)ความประสานประสมกลมกลืน ซึ่งพวกเขาเคยมีอยู่ และซึ่งได้รับการสถาปนาขึ้นมา โดยอาศัยความชอบธรรมตั้งแต่เดิม ถูกทำลายไป อำนาจของวิญญาณในการควบคุมสมรรถภาพฝ่ายจิตเหนือร่างกายก็แตกสลาย ความเป็นหนึ่งเดียวระหว่างชายและหญิงตกอยู่ในภาวะตรึงเครียด ความสัมพันธ์ระหว่างชายและหญิงจะเห็นชัดว่าเต็มไปด้วยความโลภ และการพยายามจะใช้อำนาจครอบครอง (เทียบ ปฐก.3:7-16) ความกลมกลืนกับสิ่งสร้างอื่นๆ ก็ขาดสะบั้นลง สิ่งสร้างที่เห็นได้ด้วยตา ได้กลายเป็นสิ่งแปลกหน้าและเป็นศัตรูสำหรับมนุษย์ (เทียบ ปฐก.3:17,19) เพราะมนุษย์เป็นต้นเหตุ สิ่งสร้างจึงต้องตกอยู่ในภาวะ "การเป็นทาสแห่งความเสื่อมสลาย" (รม.8:20) สุดท้าย ผลสืบเนื่องที่ประกาศไว้อย่างชัดแจ้งในกรณีการไม่นบนอบ ครั้งนั้น จะปรากฏเป็นจริงขึ้นมา คือมนุษย์ "จะต้องกลับไปเป็นผงธุลีดินดังเดิม เพราะมนุษย์ถูกสร้างขึ้นมาจากดิน" (ปฐก.3:19) ความตายก็ย่างเข้ามาในประวัติศาสตร์แห่งมนุษยชาติด้วยประการฉะนี้ (เทียบ รม.5:12)
นับตั้งแต่ได้มีการทำบาปเป็นครั้งแรกนั้นแล้ว "การบุกรุก" ของบาปอย่างจริงจังก็แผ่ท่วมไปทั่วโลก บาปของคาอินที่สังหารอาแบลผู้เป็นน้องชาย ความชั่วช้าแผ่ไปทั่วโลกเพราะการกระทำบาป ในทำนองเดียวกัน ในประวัติศาสตร์ชนชาติอิสราเอล บาปจะสำแดงให้เป็นที่ประจักษ์บ่อยครั้ง โดยเฉพาะในรูปของการไม่ซื่อสัตย์ต่อพระเจ้าแห่งพันธสัญญา และการละเมิดบัญญัติของโมเสส หลังจากที่พระคริสต์ได้ไถ่กู้โลกแล้วก็เช่นกัน ในบรรดาคริสตชน บาปก็ยังสำแดงให้เห็นในลักษณะต่างๆ มากมาย (เทียบ ปฐก.4:3-15;6:5,12 รม.1:18-32; 1คร.1-6; วว.2-3) พระคัมภีร์ และธรรมประเพณีของพระศาสนจักรคอยเตือนอยู่เสมอให้สำนึกถึงการปรากฏอยู่ของบาปทั่วสากลโลกในประวัติศาสตร์แห่งมนุษย์สิ่งซึ่งการเผยแสดงของพระเจ้าเผยให้เราเห็นนั้น ประสบการณ์ของเราเองก็ยืนยันอยู่ เนื่องจากว่ามนุษย์นั้น -หากมองลึกลงไปในใจตนเอง- ก็จะพบเช่นกันว่าตนเองนั้นมีความโอนเอียงไปข้างความชั่ว จมอยู่ใต้ความเลวร้ายนานัปการ ซึ่งเป็นไปไม่ได้ที่จะมาจากพระผู้สร้างผู้เป็นองค์แห่งความดี จากการที่มนุษย์ปฏิเสธเสมอๆ ที่จะยอมรับพระเจ้าว่าเป็นหลักแรกเริ่มแห่งชีวิตตน -จากการทำอันนี้- มนุษย์ก็ได้ทำลายระเบียบที่คอยชี้ทิศทางให้มนุษย์ไปสู่จุดหมายสุดท้ายแห่งตน และในเวลาเดียวกัน มนุษย์ก็ได้ทำให้ความสนิทสนมกลมกลืนทั้งหมดหักสะบั้นลง ทั้งในส่วนที่เกี่ยวกับตนเอง และที่เกี่ยวกับมนุษย์อื่น ตลอดจนสิ่งสร้างอื่นๆ ทั้งมวลอีกด้วย (พระศาสนจักรในโลกสมัยนี้ ข้อ 13.1)
ผลจากบาปของอาดัมที่มีต่อมนุษยชาติมนุษย์ทุกคนพลอยได้รับผลกระทบไปด้วยจากการทำบาปของอาดัม นักบุญเปาโลยืนยันว่า "มวลมนุษย์กลายเป็นคนบาป เพราะความไม่เชื่อฟังของคนคนเดียวฉันใด มวลมนุษย์ก็จะเป็นผู้ชอบธรรมเพราะความเชื่อฟังของคนคนเดียวฉันนั้น" (รม.5:19) "เช่นเดียวกับที่บาปได้เข้ามาในโลกเพราะมนุษย์คนเดียว และความตายเข้ามาเพราะบาปฉันใด ความตายก็ได้แพร่กระจายไปถึงมนุษย์ทุกคน เพราะทุกคนได้กระทำบาปฉันนั้น..."(รม.5:12) ต่อสภาพความเป็นสากลของบาป ท่านอัครสาวกในเชิงตรงข้าม ก็เสนอความเป็นสากลของความรอดในพระคริสต์ "ด้วยเหตุนี้ การล่วงละเมิดของมนุษย์คนเดียวเป็นเหตุให้มนุษย์ทุกคนถูกลงโทษฉันใด กิจการชอบธรรมของมนุษย์คนเดียวก็นำความชอบธรรมที่บันดาลชีวิตมาให้แก่มนุษย์ทุกคนฉันนั้น" (รม.5:18)
ตามแบบฉบับของนักบุญเปาโล พระศาสนจักรได้สั่งสอนเสมอมาว่า ความทุกข์ยากอย่างใหญ่หลวงซึ่งบีบคั้นมนุษย์ และความโอนเอียงของมนุษย์ไปสู่ความชั่วและความตายนั้น จะเข้าใจไม่ได้เลย หากไม่มีการเชื่อมโยงไปถึงบาปของอาดัม และข้อเท็จจริงที่ว่า อาดัมไปถ่ายทอดบาปๆ หนึ่งมาให้เรา ซึ่งทำให้เราทุกคนเกิดมาในลักษณะที่ต้องกระทบกระเทือนเพราะบาปนี้ ซึ่งก็คือ "ความตายของวิญญาณ" (เทียบ DS 1512) เพราะความเชื่อมั่นในข้อความเชื่อประการนี้ พระศาสนจักรจึงโปรดศีลล้างบาปเพื่อเป็นการยกโทษบาป แม้สำหรับทารกน้อยซึ่งยังไม่ได้เคยทำบาปเป็นการส่วนตัวเลย (เทียบ DS 1514)
บาปของอาดัมได้กลายมาเป็นบาปของลูกหลานผู้สืบสายโลหิตของเขาอย่างไร มนุษยชาติทั้งมวลเป็น "ประดุจกายเดียวของมนุษย์คนเดียว" (น.โทมัส อไควนัส, De malo 4,1)ในตัวอาดัม จาก "ความเป็นหนึ่งเดียวแห่งมนุษยชาติทั้งมวล" นี้ มนุษย์ทุกคนก็มีส่วนพัวพันอยู่ในบาปของอาดัม เหมือนกับที่ทุกคนก็ข้องเกี่ยวอยู่ในความชอบธรรมของพระคริสต์ อย่างไรก็ดี การถ่ายทอดบาปกำเนิด เป็นธรรมล้ำลึกซึ่งเราไม่สามารถเข้าใจได้อย่างเต็มที่ แต่เรารู้จากการเผยแสดงของพระเจ้า ว่าอาดัมได้รับศีลศักดิ์สิทธิ์และความชอบธรรมแต่ดั้งเดิม มิใช่สำหรับตัวเขาคนเดียว แต่สำหรับธรรมชาติความเป็นมนุษย์ทั้งหมด ในการยอมเชื่อฟังผู้มาล่อลวงอาดัมและเอวาได้กระทำบาปส่วนตัว แต่บาปนั้นมีผลกระทบมาถึงธรรมชาติมนุษย์ ซึ่งเขาจะถ่ายทอดต่อไปในสภาพของคนที่ตกอับแล้ว (เทียบ DS 1511-1512) เป็นบาปซึ่งจะถูกถ่ายทอดโดยการแพร่ขยายออกไปยังมนุษยชาติทั้งมวล กล่าวคือ โดยการถ่ายทอดจากธรรมชาติความเป็นมนุษย์ ซึ่งไร้ศักดิ์สิทธิภาพและความชอบธรรมดั้งเดิมแล้ว ด้วยเหตุนี้ บาปกำเนิดจึงถูกเรียกว่า "บาป" ในลักษณะของความอุปมาน คือเป็นบาปที่ "ติดมา" และมิใช่ "กระทำด้วยตนเอง" เป็นสภาพและมิใช่เป็นการกระทำแม้ว่าบาปกำเนิดจะเป็นของเฉพาะแต่ละคน (เทียบ DS 1513) แต่ก็มิได้มีลักษณะเป็นความผิดส่วนตัวแต่อย่างใด ในบรรดาลูกหลานของอาดัม เป็นการหมดสิทธิ์ในศักดิ์สิทธิภาพและความชอบแต่ดั้งเดิม แต่ธรรมชาติความเป็นมนุษย์ยังมิได้เสื่อมสลายไปจนหมดสิ้น เพียงแต่ถูกทำร้ายให้บาดเจ็บในส่วนที่เป็นพลังโดยธรรมชาติ ต้องตกอยู่ในอวิชชา ความทุกข์ทรมาน และอยู่ใต้อำนาจแห่งความตาย และมีใจโน้มเอียงไปข้างบาป (ความโน้มเอียงไปทางความชั่วนี้ เรียกว่า "ราคะตัณหา") ศีลล้างบาป พร้อมกับการให้ชีวิตพระหรรษทานจากพระคริสต์ ก็ลบล้างบาปกำเนิดและคืนมนุษย์กลับสู่พระเจ้า แต่ผลสืบเนื่องสำหรับธรรมชาติมนุษย์ ซึ่งอ่อนแอลงและโน้มเอียงไปทางความชั่ว ก็ยังคงมีอยู่ในตัวมนุษย์ และเรียกร้องให้มนุษย์ต้องทำการต่อสู้ในเชิงจิตวิญญาณ
หลักคำสอนของพระศาสนจักรเกี่ยวกับการถ่ายทอดบาปกำเนิด แสดงออกมาอย่างชัดเจนโดยเฉพาะในคริสต์ศตวรรษที่ 5 ภายใต้แรงดลใจจากข้อคิดของนักบุญออกัสติน ซึ่งต่อต้านลัทธิของฤาษีเปลาช และในคริสต์ศตวรรษที่ 16 ในลักษณะคัดค้านการปฏิรูปของลัทธิโปรแตสแตนท์ เปลาชถือว่ามนุษย์นั้น -อาศัยพลังตามธรรมชาติของความตั้งใจจริงโดยอิสระ โดยไม่ต้องอาศัยความช่วยเหลืออันจำเป็นจากพระหรรษทานของพระเจ้า สามารถดำเนินชีวิตอยู่อย่างดีในเชิงจริยธรรม การพูดเช่นนี้เป็นการลดอิทธิพลแห่งการผิดของอาดัมลง ว่าเป็นเพียงอิทธิพลของตัวอย่างที่ไม่ดี ฝ่ายนักปฏิรูปคนแรกๆ ของพวกโปรแตสแตนท์นั้น ตรงกันข้าม สอนว่ามนุษย์เลวทรามอย่างเด็ดขาด และเสรีภาพถูกเพิกถอนไปก็เพราะบาปกำเนิด พวกเขาชี้ให้เห็นว่าบาปที่มนุษย์แต่ละคนได้รับมรดกตกทอดมานี้ คือสิ่งเดียวกับการโน้มเอียงไปสู่ความชั่ว ซึ่งย่อมจะเอาชนะไม่ได้ พระศาสนจักรได้อธิบายเรื่องนี้อย่างชัดเจนเป็นพิเศษ เกี่ยวกับความหมายของประเด็นที่ได้เผยแสดงแล้ว ในเรื่องของบาปกำเนิด ในสภาสังคายนาสากลครั้งที่สองที่ออเรนจ์ ใน ค.ศ. 529 (DS 371-372) และในการประชุมสภาสังคายนาที่เตรนท์ ใน ค.ศ. 1546 (เทียบ DS 1510-1516)การต่อสู้ที่ทารุณ
หลักคำสอนเกี่ยวกับบาปกำเนิด
-เมื่อเชื่อมโยงเข้ากับหลักคำสอนเรื่องการไถ่กู้โดยพระคริสต์-
เป็นการทอดสายตาพินิจพิเคราะห์อย่างแจ่มแจ้งลงบนสภาพการณ์ของมนุษย์
และการประพฤติปฏิบัติของมนุษย์ในโลก จากการทำบาปของบิดามารดาเดิม
ปีศาจสามารถเข้ามามีอำนาจครอบงำมนุษย์อยู่พอสมควร
แม้ว่ามนุษย์จะยังคงมีอิสรภาพอยู่บาปกำเนิดชักนำไปสู่
"การเป็นทาสอยู่ใต้อำนาจของมันผู้เป็นเจ้าของอาณาจักรแห่งความตาย คือปีศาจ" (DS
1551 เทียบ ฮบ.2:14) การทำเป็นไม่รู้ว่ามนุษย์มีธรรมชาติที่บาดเจ็บ
โน้มเอียงไปทางความชั่ว เป็นเหตุให้เกิดความผิดพลาดร้ายแรงในวงการด้านการศึกษา
การเมือง กิจการสังคม (เทียบ พระสันตะปาปา ยอห์น ปอล ที่ 2, CA 25) และศีลธรรม
ผลสืบเนื่องจากบาปกำเนิดและบาปส่วนตัวทั้งหมดของมนุษย์ ทำให้โลกโดยทั่วไปตกอยู่ในสภาพเป็นคนบาป ซึ่งอาจจะเรียกได้ตามสำนวนของนักบุญยอห์น ว่า "บาปของโลก" (ยน. 1:29) จากถ้อยคำนี้ เรายังหมายถึงอิทธิพลในทางลบ ซึ่งสภาวการณ์ในชุมชนและโครงสร้างของสังคม มีอยู่เหนือตัวบุคคล อันเป็นผลจากบาปของมนุษย์อีกด้วย (เทียบ RP 16) สภาพการณ์อันน่าสะพรึงกลัวของโลก ซึ่ง "ทอดกายอยู่ภายใต้อำนาจแห่งความชั่วโดยสิ้นเชิง" (1ยน.5:19 เทียบ 1ปต.5:8) ทำให้ชีวิตมนุษย์กลายเป็นการต่อสู้ การต่อสู้อย่างทารุณกับอำนาจมืด เกิดขึ้นตลอดประวัติศาสตร์ของมนุษย์ เมื่อได้เริ่มขึ้นแต่เดิมมาแล้ว ก็จะคงอยู่ต่อไปจนถึงวันสุดท้าย นี่คือสิ่งที่องค์พระผู้เป็นเจ้าตรัสแก่เรา เมื่อผูกพันอยู่กับการสู้รบ มนุษย์ก็จำต้องต่อสู้ต่อไปโดยไม่หยุดยั้ง เพื่อยึดมั่นอยู่ในความดี และมิใช่โดยปราศจากการใช้ความพยายามเป็นอย่างยิ่ง อาศัยพระหรรษทานจากพระเป็นเจ้า มนุษย์ก็สามารถบรรลุความสำเร็จในการสร้างเอกภาพขึ้นภายในตน (พระศาสนจักรในโลกสมัยนี้ ข้อ37.2)
บาปกำเนิด 7 ประการ ตามคติของคริสต์ศาสนาบาป 7 ประการ (อังกฤษ: seven deadly sins) เป็นหลักคำสอนของศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาธอลิคในอดีตกาล ให้มนุษย์ไม่ทำตามสัญชาตญาณของตนมากจนเกินไป ทางศาสนาคริสต์ได้แบ่งบาปออกเป็น 2 ประเภทคือ แบบที่สามารถยกโทษให้ได้ และ แบบรุนแรง ในต้นศตวรรษที่ 14 หลักคำสอนนี้เป็นที่นิยมในหมู่ศิลปิน (หรือแม้กระทั่งในปัจจุบัน) ผลงานศิลปะมากมายที่สื่อถึงบาป 7 ประการแพร่ไปทั่ววัฒนธรรมต่างๆทั่วโลก
บาปทั้ง 7 เรียงลำดับจากความรุนแรงน้อยไปหามาก ตามคำสอนของสมเด็จพระสันตะปาปาเกรกอรีที่ 1 ในคริสต์ศตวรรษที่ 6
- ราคะ (ภาษาละติน: luxuria ลุกซุเรีย ; ภาษาอังกฤษ: lust) การคิดในทางเสื่อม ความต้องการเป็นที่สนใจจากผู้อื่น ความต้องการความเร้าใจ หมกมุ่นทางเพศที่มากจนเกินไป หรือที่ผิดมนุษย์ปกติ ความใคร่ที่เกิดขึ้นในทางทุจริต เช่น การมีเพศสัมพันธ์กับสัตว์ กับพ่อแม่หรือลูกหลานตัวเอง การข่มขืน การมีชู้ แอสโมดิวส์ ปีศาจที่หลงรักมนุษย์หญิงสาวคนอื่นและฆ่าชายที่จะแต่งงานกับนางทุกคน เป็นปีศาจประจำบาปข้อนี้ สัญลักษณ์แห่งราคะคืองูหรือวัว สีประจำบาปนี้คือสีน้ำเงิน บทลงโทษผู้กระทำบาปข้อนี้คือ ถูกรมด้วยสารกำมะถันและไฟ และ ตัดอวัยวะเพศ ศีลธรรมที่ช่วยกำจัดราคะคือ ความบริสุทธิ์ ความหวงแหนในพรหมจรรย์
- ตะกละ (ภาษาละติน: gula กูลา ; ภาษาอังกฤษ: gluttony)
การสนองความต้องการโดยไม่ยั้งคิด มุ่งร้ายเอาของคนอื่น
บริโภคสิ่งต่างๆจนขาดการการไตร่ตรอง บริโภคจนมากเกินไป มากจนเกินความจำเป็น
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง อาหาร รวมถึงการบริโภคสิ่งๆ ต่างๆ โดยไม่คำนึงสนใจ
หรือเห็นใจคนอื่น ทำให้เวลาสรรเสริญพระเจ้าน้อยลง
และยังเป็นบาปที่สามารถชักจูงให้ทำบาปอื่นๆ ได้ เช่น ปรารถนาในความหิว (ราคะ)
ฆ่าเพราะความหิว (โทสะ) เป็นต้น เบลเซบับ
เจ้าชายแห่งนรกหรือเจ้าแห่งหมู่แมลงวัน เป็นปีศาจประจำบาปข้อนี้
สัญลักษณ์ของตะกละคือหมูหรือกา สีประจำบาปคือสีส้ม
บทลงโทษของผู้ที่ตะกละในนรกคือการที่ถูกกินทั้งเป็นโดยหนู คางคก และงู
ตะกละสามารถแบ่งออกเป็น Praepropere
- กินเร็วเกินไป Laute
- กินแพงเกินไป Nimis
- กินมากเกินไป Ardenter
- กินอย่างกระตือรือร้นเกินไป Studiose
- กินอย่างประณีตเกินไป Forente
- กินอย่างแรงกล้าเกินไป ศีลธรรมที่ช่วยกำจัดตะกละคือ ความพอดี การยับยั้งชั่งใจ - โลภะ (ภาษาละติน: avaritia อวาริเทีย ; ภาษาอังกฤษ: greed/avarice) ความทะเยอทะยานอันแรงกล้าในการให้ได้มาซึ่งทรัพย์สินและอำนาจ โดยไม่คำนึงถึงแนวทางหรือคุณธรรมในการได้มาซึ่งสิ่งเหล่านั้น ไม่ว่าจะเป็นการขโมย การขู่กรรโชกทรัพย์ ยักยอก การกักเก็บทรัพย์สินต่างๆ โดยไม่แบ่งปันหรือช่วยเหลือผู้อื่น ต่อมาโลภะรวมถึง การหาทรัพย์อย่างทุจริตมาใช้เพื่อประโยชน์ทางศาสนาด้วย ถือเป็นการมุ่งร้ายต่อศาสนา และเป็นการหักหลังต่อผู้นับถือคริสต์ศาสนาอีกด้วย แมมมอน ปีศาจแห่งความมั่งคังที่ไม่เป็นธรรม เป็นปีศาจประจำบาปข้อนี้ สัญลักษณ์ของโลภะคือ กบ สีประจำบาปคือสีเหลือง บทลงโทษของผู้ที่โลภมากคือการถูกแช่ในน้ำมันเดือด ศีลธรรมที่ช่วยกำจัดโลภะคือ ความเมตตา การแบ่งปัน
- เกียจคร้าน (ภาษาละติน: acedia อาซีเดีย ; ภาษาอังกฤษ: sloth/laziness) ความไม่สนใจใยดีต่อการเปลี่ยนแปลง ต่อสิ่งรอบข้าง ใช้เวลาอย่างไร้ค่า ความไม่ต้องการที่จะทำอะไร โดยปล่อยให้ผู้อื่นเป็นผู้ทำงานหนักเพื่อตนเองเท่านั้น การปล่อยปละละเลยต่อหน้าที่ของตน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการละเลยที่จะทำดีรวมถึงการละเลยที่จะเคารพต่อพระเจ้าด้วย ผู้ที่เกียจคร้านจะอยู่เฉยๆ รักษาสภาพความเป็นอยู่ของตนเองในภาวะเดิมตลอดเวลา ไม่ทำอะไรมาก แต่ก็ไม่ใช้อะไรมากเช่นกัน เบลฟีเกอร์ ปีศาจผู้ไม่ยอมทำอะไรเพียงแต่บอกให้มนุษย์คอยทำสิ่งเหล่านั้นให้เป็นปีศาจประจำบาปข้อนี้ สัญลักษณ์ของเกียจคร้านคือแพะ สีประจำบาปคือสีคราม บทลงโทษของผู้เกียจคร้านคือการถูกโยนลงไปในบ่องูพิษ ศีลธรรมที่ช่วยกำจัดเกียจคร้านคือ ความกระตือรือร้น ความทะเยอทะยาน
- โทสะ (ภาษาละติน: ira ไอรา ; ภาษาอังกฤษ: wrath) ความโกรธเคืองและพยาบาทที่ขาดความเหมาะสม การทนรับสภาพในบางสิ่งบางอย่างไม่ได้ การแสวงหาหนทางผิดกฎหมายบ้านเมือง ในศีลธรรมในการล้างแค้น การมุ่งร้ายที่จะทำสิ่งต่างๆแก่บุคคลที่ตนไม่ชอบ รวมถึงการไม่ชอบบุคคลอื่นโดยไร้เหตุผล เช่น สีผิว เชื้อชาติ ศาสนา นำไปสู่การฆ่าและฆาตกรรมผู้อื่น โมหะคือความโกรธที่ไม่ต้องการที่จะยกโทษ ซาตาน ปีศาจแห่งความมืดเป็นตัวแทนประจำบาปข้อนี้ สัญลักษณ์ของโมหะคือหมี สีประจำบาปคือสีแดง บทลงโทษของผู้ที่มีบาปโมหะคือ การถูกฉีกร่างทั้งเป็น (ซ้ำแล้วซ้ำเล่า) ศีลธรรมที่ช่วยกำจัดโมหะคือ ความนอบน้อม การให้อภัย
- ริษยา (ภาษาละติน: invidia อินวิเดีย ; ภาษาอังกฤษ: envy) ความปรารถนาให้ผู้อื่นรับเคราะห์ การไม่ยอมรับผู้อื่นที่มีสิ่งต่างๆ ดีกว่าตนเอง ทั้งด้านทรัพย์สมบัติ ลักษณะรูปร่างนิสัย และ การประสบความสำเร็จ ความอิจฉานำไปสู่การรังเกียจตัวเอง ต้องการอยากเป็นผู้อื่น นำไปสู่การขโมยและทำลายผู้อื่น ความอิจฉาริษยาเป็นการพัฒนาต่อจากตะกละและโลภะที่สุดขั้ว ลิวาธาน ปีศาจอสรพิษทะเลแห่งนรก ผู้เป็นสัญลักษณ์แห่งการต่อต้านพระเจ้าถือเป็นปีศาจประจำบาปนี้ สัญลักษณ์ของริษยาคือสุนัข สีประจำบาปคือสีเขียว บทลงโทษผู้ที่มีความอิจฉาคือถูกเย็บตาอย่างทรมาน ศีลธรรมที่ช่วยกำจัดอิจฉาคือ ความกรุณา ความเผื่อแผ่
- อัตตา (ภาษาละติน: superbia ซูเปอร์เบีย ; ภาษาอังกฤษ: Vanity/pride) อัตตาเป็นยอดแห่งบาปทั้งปวง หมายถึงความต้องการเป็นผู้ที่มีความสำคัญและอำนาจเหนือผู้อื่น (เช่นต้องการเป็นพระราชา) การที่รักตนเองมากจนเกินไป หลงในอำนาจและรูปลักษณ์ของตัวเอง (โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเปรียบตนเองเทียบเท่ากับพระเจ้า) ซึ่งบาปประการนี้ทำให้ ลูซิเฟอร์ (ปีศาจประจำบาปนี้) ถูกขับไล่ออกจากสวรรค์ เนื่องจากลูซิเฟอร์เห็นว่าตนมีอำนาจเท่ากับพระเจ้าและสามารถสร้างพรรคพวกของตัวเองเพื่อต่อต้านและไม่เคารพพระเจ้า คนที่มีความโอหังจะสนใจเฉพาะตนเองเท่านั้น ไม่สนใจว่าผู้อื่นจะเป็นเช่นไร สัญลักษณ์ของอัตตาคือ ม้า สิงโต หรือ นกยูง สีประจำบาปคือสีม่วง บทลงโทษของผู้ที่โอหังคือการถูกทรมานบนวงล้อ (มัดกับวงล้อแล้วให้วงล้อหมุนเรื่อยๆ ผู้ถูกทรมานจะถูกบดขยี้กับพื้น) ศีลธรรมที่ช่วยกำจัดโอหังคือ ความถ่อมตน การเห็นอกเห็นใจผู้อื่น
ประวัติความเป็นมาของศาสนาและผู้ก่อตั้งศาสนา
กำเนิดและวิวัฒนาการของนิกายที่สำคัญในศาสนาคริสต์
องค์ประกอบของคริสต์ศาสนา
ศาสนธรรมในศาสนาคริสต์
หลักคำสอนของศาสนาคริสต์
หลักคำสอนสำคัญ
เรื่องบาปกำเนิด
ศาสนบุคคลในศาสนาคริสต์
คริสต์ศาสนปราชญ์
ศีลศักดิ์สิทธิ์วิถีชีวิตของชาวคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก
พิธีกรรมและแนวความเชื่อของนิกายออร์ธอด็อกซ์
พิธีกรรมของนิกายโปรเตสแตนต์
วันสำคัญทางศาสนาคริสต์ นิกายโรมันคาทอลิก
วันสำคัญคริสตศาสนา นิกายโปรเตสแตนท์
วันสำคัญของคริสต์ศาสนาทุกนิกาย
ปัสกา
อัสสัมชัญ
ศาสนสถานที่สำคัญในศาสนาคริสต์
คาทอลิก กับ โปรเตสแตนท์ต่างกันตรงไหน