ศาสนา ลัทธิ ความเชื่อ นิกาย พิธีกรรม >>

เต๋าแห่งฟิสิกส์

บทที่ 1 ฟิสิกส์สมัยใหม่
บทที่ 2 การรู้และการเห็น
บทที่ 3 พ้นภาษา
บทที่ 4 ฟิสิกส์แนวใหม่
บทที่ 5 ศาสนาฮินดู
บทที่ 6 พุทธศาสนา
บทที่ 7 ปรัชญาจีน
บทที่ 8 ลัทธิเต๋า
บทที่ 9 นิกายเซน
บทที่ 10 เอกภาพแห่งสรรพสิ่ง
บทที่ 11 เหนือโลกแห่งความขัดแย้ง
บทที่ 12 จักรวาลอันเคลื่อนไหว
บทที่ 13 ความว่างและรูปลักษณ์

บทที่ 10 เอกภาพแห่งสรรพสิ่ง

2

10.1 การตีความของโคเปนฮาเกน

ความเป็นหนึ่งเดียวแห่งจักรวาลมิใช่เป็นเพียงแกนกลางของประสบการณ์ทางศาสนาเท่านั้น แต่ยังเป็นการค้นพบที่สำคัญที่สุดอันหนึ่งของวิชาฟิสิกส์สมัยใหม่เช่นกัน ปรากฏชัดเจนในการศึกษาในระดับอะตอม และยิ่งแสดงตัวมันเองชัดเจนยิ่งขึ้นเมื่อเราศึกษาลึกลงไปในวัตถุจนถึงระดับอนุภาคที่เล็กกว่าอะตอม ความเป็นเอกภาพของสรรพสิ่งจะเป็นหัวข้อเปรียบเทียบระหว่างวิชาฟิสิกส์สมัยใหม่และปรัชญาตะวันออกตลอดการพิจาณาของเรา เมื่อเรายิ่งศึกษาแบบจำลองต่าง ๆ ของวิชาฟิสิกส์ที่ว่าด้วยอนุภาคที่เล็กกว่าอะตอมมันจะแสดงให้เห็นแล้วเล่าในแง่มุมที่ต่าง ๆ กันว่า องค์ประกอบของสสารวัตถุและปรากฏการณ์พื้นฐานทั้งหลายที่เกี่ยวข้องกับมัน ล้วนเป็นสิ่งที่เกี่ยวเนื่องสัมพันธ์และอิงอาศัยกัน เราไม่อาจจะเข้าใจมันแต่ละสิ่งได้อย่างโดด ๆ แต่จะเข้าใจมันได้ เมื่อมันเป็นส่วนหนึ่งของทั้งหมด

ในบทนี้ข้าพเจ้าว่า ความคิดเรื่องความเกาะเกี่ยวสัมพันธ์กัน โดยพื้นฐานของธรรมชาติ เกิดขึ้นในทฤษฎีควอนตัม อันเป็นทฤษฎีเกี่ยวกับปรากฏการณ์ของอะตอมได้อย่างไร โดยจะเสนอการวิเคราะห์อย่างละเอียดต่อกระบวนการในการศึกษาสังเกต คำอธิบายต่อไปนี้ ยืนพื้นอยู่บนการตีความทฤษฎีควอนตัม ตามแบบ โคเปนฮาเกน ( Copenhagen Interpretation ) เสนอโดยบอหร์ และไฮเซนเบิร์ก ในปลายทศวรรษ 2463 ซึ่งยังคงเป็นแบบที่ยอมรับกันมากที่สุดจนถึงปัจจุบัน และข้าพเจ้าจะใช้วิธีในการนำเสนอของเฮนดรี แสตปแห่งมหาวิทยาลัยคาลิฟอเนีย ซึ่งมุ่งสนใจเฉพาะบางแง่มุมของทฤษฎีและสภาพการทดลอง ที่มักจะเกี่ยวข้องกับวิชาฟิสิกส์ของอนุภาคที่เล็กกว่าอะตอมอยู่เสมอ การนำแสดงของแสตปแสดงให้เห็นถึงความเกาะเกี่ยวสัมพันธ์กันของธรรมชาติอย่างไร การตีความแบบโคเปนฮาเกนเริ่มต้นด้วยการแบ่งโลกทางฟิสิกส์ออกเป็นระบบที่ถูกสังเกตุ ( วัตถุ ) และระบบที่ทำหน้าที่สังเกตระบบที่ถูกสังเกตอาจจะเป็นอะตอม อนุภาคที่เล็กกว่าอะตอม กระบวนการที่เกี่ยวเนื่องกับอะตอม หรืออื่น ๆ ระบบที่ทำหน้าที่สังเกตประกอบขึ้นด้วยเครื่องมือเครื่องใช้ในการทดลอง และอาจจะรวมถึงผู้สังเกตการณ์หนึ่งคนหรือมากกว่า ความยุ่งยากเกิดขึ้นจากข้อเท็จจริงที่ว่าทั้งสองระบบได้รับการปฏิบัติต่างกัน ระบบที่ทำหน้าสังเกตถูกอธิบายตามแบบฟิสิกส์ดั้งเดิม แต่แบบการอธิบายนี้จะใช้ไม่ได้กับ “วัตถุ” ที่ถูกสังเกต เรารู้ดีว่าความคิดแบบดั้งเดิมไม่พอเพียงต่อการอธิบายสิ่งต่าง ๆ เกี่ยวกับอะตอม ถึงอย่างนั้นเราก็จำเป็นต้องใช้มันในการอธิบายการทดลองและนำเสนอผการทดลอง เราไม่มีทางที่จะหลีกหนีความขัดแย้งนี้ไปได้ ภาษาทางวิชาการของฟิสิกส์ดั้งเดิมเป็นเพียงภาษาประจำวันที่ละเอียดละออยิ่งขึ้น และเป็นภาษาชนิดเดียวที่เรามีเพื่อใช้ในการถ่ายทอดผลการทดลอง

<< ย้อนกลับ | หน้าถัดไป >>

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย