ศาสนา ลัทธิ ความเชื่อ นิกาย พิธีกรรม
» พระสูตร
พระไตรปิฎกฉบับประชาชน
พระวินัยเล่มที่ ๑
ชื่อมหาวิภังค์ (เป็นวินัยปิฎก)
อนิยตกัณฑ์
(ว่าด้วยอาบัติอันไม่แน่ว่า จะควรปรับในข้อไหน)
สิกขาบทที่ ๑
วิธีปรับอาบัติเพราะนั่งในที่ลับตากับหญิงสองต่อสอง
เริ่มเรื่องเล่าว่า พระผู้มีพระภาคประทับ ณ เชตวนาราม ใกล้กรุงสาวัตถี สมัยนั้น พระอุทายี เป็นผู้เข้าสู่สกุลมากด้วยกัน ในกรุงสาวัตถี วันหนึ่งเข้าไปนั่งในห้องลับตาสองต่อสองกับหญิงสาว สนทนาบ้าง กล่าวธรรมบ้าง. นางวิสาขาได้รับเชิญไปสู่สกุลนั้น เห็นเข้า จึงทักท้วงว่าเป็นการไม่สมควร ก็ไม่เอื้อเฟื้อ เชื่อฟัง. ความทราบถึงพระผู้มีพระภาค จึงทรงเรียกประชุมสงฆ์ ทรงไต่สวนได้ความเป็นสัตย์แล้ว จึงทรงติเตียน และทรงบัญญัติสิกขาบท ใจความว่า ภิกษุนั่งในที่ลับตาสองต่อสองกับหญิงเป็นที่อันพอจะประกอบกรรมได้ ถ้าอุบาสิกา ผู้มีวาจาควรเชื่อได้ กล่าวว่า ภิกษุต้องอาบัติอย่างใดอย่างหนึ่งใน ๓ อย่าง คือ อาบัติปาราชิก (เพราะเสพเมถุน) ก็ตาม , อาบัติสังฆาทิเสส (เพราะถูกต้องกายหญิง หรือเกี้ยวหญิง เป็นต้น) ก็ตาม, อาบัติปาจิตตีย์ (เพราะนั่งในที่ลับสองต่อสองกับหญิง) ก็ตาม.
ถ้าภิกษุผู้นั่งในที่ลับตารับสารภาพอย่างไร ในอาบัติ ๓ อย่าง ก็พึงปรับอาบัติเธอตามสารภาพนั้น หรือปรับตามที่ถูกกล่าวหานั้น (สุดแต่อย่างไหนจะเหมาะสม).
เวรัญชกัณฑ์
ปฐมปาราชิกกัณฑ์
ทุติยปาราชิกกัณฑ์
ตติยปาราชิกกัณฑ์
จตุตถปาราชิกกัณฑ์
ภูตคามวรรค
อนิยตกัณฑ์
พระวินัยเล่มที่ ๑
พระวินัยเล่มที่ ๒
พระวินัยเล่มที่ ๓
พระวินัยเล่มที่ ๔
พระวินัยเล่มที่ ๕
พระวินัยเล่มที่ ๖
พระวินัยเล่มที่ ๗
พระวินัยเล่มที่ ๘