ศาสนา ลัทธิ ความเชื่อ นิกาย พิธีกรรม
» พระสูตร
พระไตรปิฎกฉบับประชาชน
พระวินัยเล่มที่ ๘
ชื่อปริวาร (เป็นพระวินัยปิฏก)
พระไตรปิฎกเล่มนี้ ๘ นี้ เป็นเล่มสุดท้ายของวินัยปิฎก และมีข้อความที่พึงนำมาย่อไว้เพียงเล็กน้อยเพราะข้อความในเล่มนี้เป็นการย้อนไปกล่าวถึงพระไตรปิฎก ตั้งแต่เล่มที่ ๑ ถึงเล่มที่ ๗ ที่กล่าวมาแล้วนั้นเอง เป็นแต่การย้อนกล่าวในครั้งนี้ เท่ากับประมวลความสำคัญที่น่ารู้ต่าง ๆ มากล่าว ไว้ มีหัวข้อใหญ่ ๆ อยู่ ๒๑ ข้อด้วยกัน คือ???-
๑. มหาวิภังค์โสฬสมหาวาร เป็นการย้อนกล่าวถึงศีลของภิกษุ ๒๒๗ ข้อ ทีละข้อ อันปรากฏในวินัยปิฎก เล่มที่ ๑ และ ๒ ซึ่งมีชื่อว่ามหาวิภังค์ โดยตั้งประเด็นไว้ ๒ ส่วน ส่วนละ ๘ ประเด็น รวมเป็น ๑๖ ประเด็น ( โสฬสมหาวาร). ส่วนแรกกับส่วนหลัง ความจริงก็พ้องกันทั้งแปดประเด็น เป็นแต่ว่าส่วนแรกพิจารณาถึงการทำผิดโดยตรง ส่วนหลังพิจารณาถึงผลอันเนื่องมาจากเหตุ คือการทำความผิด หรือกล่าวตาม ศัพท์ที่ปรากฏก็คือ ส่วนหลังพิจารณาปัจจัย คือการทำความผิดนั้น ๆ เป็นปัจจัยหรือเป็นเหตุให้เกิดอะไรขึ้น. ประเด็น ๘ ประเด็นซึ่งมีอยู่ใน ๒ ส่วนนั้น คือ
๑. กัตถปัญญัติติวาร ประเด็นที่ว่า บัญญัติไว้ ณ ที่ไหนหมายถึงสถานที่
ซึ่งทรงบัญญัติสิกขาบท รวมทั้งบุคคลผู้เป็นต้นเหตุให้บัญญัติสิกขาบท,
เรื่องราวที่เกิดขึ้นเป็นต้น
๒. กตาปัตติวาร ประเด็นที่ว่า เมื่อทำความผิดนั้น ๆ ลงไปแล้ว จะต้องอาบัติอะไรบ้าง
เช่น ภิกษุลักทรัพย์ในกรณีเช่นไร ต้องอาบัติปาราชิก อาบัติถุลลัจจัยและอาบัติทุกกฏ
๓. วิปัตติวาร ประเด็นที่ว่าการทำความผิดนั้น ๆ จะเป็นศีลวิบัติ ความบกพร่องทางศีล
หรือาจารวิบัติ ความบกพร่องทางความประพฤติ เป็นต้น
๔. สังคหิตวาร ประเด็นที่ว่า การทำความผิดนั้น ๆ
สงเคราะห์หรือจัดเข้ากับกองอาบัติอะไร
๕. สมุฏฐาน ประเด็นที่ว่า การทำความผิดนั้นเกิดขึ้น หรือมาสมุฏฐานทางกาย, วาจา,
หรือใจ
๖. อธิกรณวาร ประเด็นที่ว่า การทำความผิดนั้น ๆ เป็นอธิกรณ์ประเภทไหน ใน ๔ ประเภท
๗. สมถวาร ประเด็นที่ว่า การทำความผิดที่เป็นอธิกรณ์นั้น ๆ จะระงับด้วยวิธีระงับ ๗
อย่าง ข้อไหนบ้าง
๘. สมุจจยวาร คือกล่าวซ้ำ ๗ ข้อแรกอีกครั้งหนึ่ง. ในส่วนที่ ๒ อีก ๘ ประเด็น
ก็ทำนองเดียวกัน เพียงแต่เปลี่ยนหลักการเล็กน้อยว่า
เพราะปัจจัยแห่งการทำความผิดนั้นจะมีผลเป็นอย่างไรบ้าง.
||หน้าถัดไป >> หน้า 2
พระวินัยเล่มที่ ๑
พระวินัยเล่มที่ ๒
พระวินัยเล่มที่ ๓
พระวินัยเล่มที่ ๔
พระวินัยเล่มที่ ๕
พระวินัยเล่มที่ ๖
พระวินัยเล่มที่ ๗
พระวินัยเล่มที่ ๘