ศาสนา ลัทธิ ความเชื่อ นิกาย พิธีกรรม
» พระสูตร
พระไตรปิฎกฉบับประชาชน
พระวินัยเล่มที่ ๑
ชื่อมหาวิภังค์ (เป็นวินัยปิฎก)
อนิยตกัณฑ์
(ว่าด้วยอาบัติอันไม่แน่ว่า จะควรปรับในข้อไหน)
สิกขาบทที่ ๒
วิธีปรับอาบัติเพราะนั่งในที่ลับหูกับหญิงสองต่อสอง
เล่าเรื่องสืบมาจากสิกขาบทก่อน.
พระอุทายีเห็นว่าพระผู้มีพรภาคทรงบัญญัติสิกขาบท ห้ามนั่งในที่ลับตากับหญิงสองต่อสอง จึงนั่งในที่ลับสองต่อสองกับหญิงนั้น (ไม่ลับตา แต่ลับหู) สนทนาบ้าง กล่าวธรรมบ้าง.
นางวิสาขาไปพบเข้าอีก จึงทักท้วงว่าไม่สมควรเช่นเคย พระอุทายีก็ไม่เอื้อเฟื้อเชื่อฟัง.
ความทราบถึงพระผู้มีพระภาค จึงทรงเรียกประชุมสงฆ์ ทรงไต่สวนได้ความเป็นสัตย์แล้ว จึงทรงติเตียน และทรงบัญญัติสิกขาบท ใจความว่า ภิกษุนั่งในที่ลับ (หู) สองต่อสองกับหญิง ถ้าอุบาสิกาผู้มีวาจาควรเชื่อได้ กล่าวว่าภิกษุต้องอาบัติอย่างใดอย่างหนึ่งใน ๒ อย่าง คืออาบัติสังฆาทิเสส (เพราะพูดเกี้ยวหญิง หรือพูดล่องหญิงให้บำเรอตนด้วยกาม) ก็ตาม, อาบัติปาจิตตีย์ (เพราะนั่งในที่ลับหูกับหญิงสองต่อสอง) ก็ตาม. ถ้าภิกษุผู้นั่งในที่ลับหูรับสารภาพอย่าไร ในอาบัติ ๒ อย่าง ก็พึงปรับอาบัติเธอตามที่สารภาพนั้น หรือปรับตามที่ถูกกล่าวหานั้น (สุดแต่อย่างไหนจะเหมาะสม).
(หมายเหตุ : เรื่องของอนิยต หรือสิกขาบทอันไม่กำหนดแน่ว่าจปรับอาบัติอย่างไร ใน ๒-๓ อย่าง ทั้งสองสิกขาบทนี้ หนักไปในทางแนะวิธีตัดสินอาบัติ แต่ก็บ่งอยู่ว่า ห้ามภิกษุนั่งในที่ลับตาก็ตาม ลับหู (แม้ไม่ลับตา) ก็ตาม กับหญิงสองต่อสอง เว้นแต่ในที่ลับตาจะมีชายผู้รู้เดียงสาอยู่ด้วย, แต่ในที่ลับหูหญิงหรือชายผู้รู้เดียวสานั่งเป็นเพื่อนอยู่ด้วย ก็พ้นจากความเป็นที่ลับหูไป).
<< ย้อนกลับ ||
เวรัญชกัณฑ์
ปฐมปาราชิกกัณฑ์
ทุติยปาราชิกกัณฑ์
ตติยปาราชิกกัณฑ์
จตุตถปาราชิกกัณฑ์
ภูตคามวรรค
อนิยตกัณฑ์
พระวินัยเล่มที่ ๑
พระวินัยเล่มที่ ๒
พระวินัยเล่มที่ ๓
พระวินัยเล่มที่ ๔
พระวินัยเล่มที่ ๕
พระวินัยเล่มที่ ๖
พระวินัยเล่มที่ ๗
พระวินัยเล่มที่ ๘