ศาสนา ลัทธิ ความเชื่อ นิกาย พิธีกรรม
» พระสูตร
พระไตรปิฎกฉบับประชาชน
เล่มที่ ๒๒
ปัญจมปัณณาสก์ หมวด ๕๐ ที่ ๕
๓.ตรัสแสดงโทษของการจาริกไปนาน โดยไม่มีจุดหมาย
ว่า มีอยู่ ๕ อย่าง คือไม่ได้ฟังสิ่งที่ยังมิได้ฟัง, ที่ฟังแล้วก็ไม่เข้าใจชัดขึ้น, ไม่แกล้วกล้า เพราะได้ฟังเพียงเล็กน้อย, มิโรคอย่างหนัก, ไม่มีมิตร.
ในทางดีตรงกันข้าม.
ตรัสแสดงโทษของการอยู่ประจำที่นานเกินไป ๕ อย่าง คือมีข้าวของ มาก สั่งสมข้าวของมาก, มีเภสัชมาก สั่งสมเภสัชมาก, มีกิจกรณียะมาก ไม่ฉลาดในการงาน, คลุกคลีกับคฤหัสถ์และบรรพชิต ด้วย การคลุกคลีกับคฤหัสถ์ในทางที่ไม่ควร, ออกจากอาวาสไปไหน ก็มีความห่วงใย.
แล้วตรัสแสดงอานิสงส์ของการไม่อยู่ประจำที่ นานเกินไป ในทางตรงกันข้าม.
แล้วได้ตรัสแสดงโทษของการอยู่ประจำที่นานเกินไปอีก ๕ ข้อ คือทำให้ตระหนี่ ในที่อยู่, ในตระกูล, ในลาภ, ในคุณความดี ( ชื่อเสียง ), ในธรรม.
ทรงแสดงโทษของการเข้าสู่สกุล ( ไปฉันเป็นประจำในหมู่บ้าน ) ซึ่ง มักทำให้ต้องอาบัติต่าง ๆ และโทษของการคลุกคลีในสกุลเกินขอบเขต เป็นต้น.
- ตรัสแสดงธรรมะแก่พระกิมพิละ
- ตรัสว่า ภิกษุด่าบริภาษเพื่อนพรหมจารี
ผู้กล่าวร้ายพระอริยเจ้า
- ตรัสแสดงโทษของการจาริกไปนาน โดยไม่มีจุดหมาย
- ตรัสแสดงถึงภิกษุผู้เป็นเจ้าถิ่นที่ประกอบด้วยธรรม ๕
อย่างว่าเป็นผู้ไม่ควร สรรเสริญ
- ตรัสแสดงโทษของทุจจริต ๕ อย่าง
ปฐมปัณณาสก์ หมวด ๕๐ ที่ ๑
ทุติยปัณณาสก์ หมวด ๕๐ ที่ ๒
ทุติยปัณณาสก์ หมวด ๕๐ ที่ ๓
จตุตถปัณณาสก์ หมวด ๕๐ ที่ ๔
ปัญจมปัณณาสก์ หมวด ๕๐ ที่ ๕
ฉักกนิบาต ชุมนุมธรรมะที่มี ๖ ข้อ
ทุติยปัณณาสก์ หมวด ๕๐ ที่ ๒
หมวดนอกจาก ๕๐
พระสูตรที่ไม่จัดเข้าวรรค