สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมือง เศรษฐศาสตร์ >>
การเดินทางในสมัยโบราณ
การเดินทางในสมัยกลาง
การเดินทางเพื่อทำสงครามครูเสด
การเดินทางเพื่อจาริกแสวงบุญ
การเดินทางในยุคฟื้นฟูศิลปะวิทยาการ
การเดินทางในสมัยใหม่
การท่องเที่ยวในประเทศไทย
อนุสาร อ.ส.ท.
การทำงานท่องเที่ยว
ปีท่องเที่ยวไทย
การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ
การท่องเที่ยวแบบยั่งยืน
วิวัฒนาการการท่องเที่ยว
การท่องเที่ยวแบบยั่งยืน
โฮมสเตย์ก็เป็นอีกทาง
เป็นเครื่องมือที่จะนำไปสู่การท่องเที่ยวที่ยั่งยืน
เมื่อพูดถึงการท่องเที่ยวที่เกี่ยวข้องกับชุมชนมากที่สุด
อันเป็นหนึ่งในการท่องเที่ยวเชิงนิเวศที่ ททท. ให้ความสำคัญในการพัฒนา
ว่ากันถึงจุดกำเนิดของโฮมสเตย์ ในทวีปยุโรปหลังสงครามโลกครั้งที่ 2
ผู้คนเริ่มแสวงหาความสงบสุขและการพักผ่อนที่เงียบสงบในพื้นที่ชนบทซึ่งห่างไกลจากชุมชนเมืองและแรงกดดันจากสงครามที่เพิ่งผ่านพ้น
อย่างไรก็ตาม
ดูเหมือนคนมีฐานะเท่านั้นที่สามารถเข้าพักผ่อนในโรงแรมหรูหราซึ่งตั้งอยู่ในชนบทที่งดงาม
ดังนั้น
แนวคิดในการพักแรมกับเจ้าของบ้านท้องถิ่นและเพลิดเพลินกับธรรมชาติจึงเริ่มก่อตัวขึ้นและได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก
ออสเตรียเป็นประเทศแรกๆ ในภูมิภาคยุโรปที่มีการท่องเที่ยวและพักแรมฟาร์ม
(Farmhouse) ซึ่งตั้งอยู่ห่างไกลจากเมืองหลวง
ให้ผู้มาเยือนได้สัมผัสถึงความเป็นอยู่ของเจ้าของบ้าน เรียนรู้วิถีชีวิต
ที่สำคัญที่สุด คือการบอกถึงคุณค่าและการมีตัวตนของคนในอีกหนึ่งสังคม
จริงๆ แล้วบ้านเรามันก็มีการท่องเที่ยวแบบนั้นอยู่นานแล้ว
เพียงแต่ยังไม่ได้ถูกมองแบบการจัดการ มุมมองจากหลักการบริหารของ ททท. นั้น
สอดคล้องกับการท่องเที่ยวของคนในกลุ่มเล็ก
อย่างวิธีการท่องเที่ยวของนิสิตนักศึกษาในการออกค่ายที่ต้องการเรียนรู้ชีวิตและรับทราบปัญหาของชนบท
นำมาพัฒนาสังคมตามอุดมคติหรือการเที่ยวของกลุ่มที่เน้นการเข้าถึงธรรมชาติอย่างป่าเขา
ชุมชนห่างไกล หรือเกาะเล็กๆ กลางผืนทะเล ซึ่งต้องไปพักอาศัยกับชาวบ้านเป็นหลัก
เห็นถึงความคิด ความเชื่อ
ตลอดจนประเพณีอันดีงามของบ้านเรือนต่างท้องถิ่นที่พวกเขาเข้าไปพัก
จากแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 8 ที่เน้นบทบาทการพัฒนาชุมชน
และการที่รัฐบาลออกกฎหมายการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น
เป็นแรงผลักดันให้องค์กรท้องถิ่นและหน่วยงานต่างๆ
ให้ความสำคัญกับการสร้างรายได้ให้กับชุมชนโดยใช้การท่องเที่ยวเป็นจุดขาย
จึงทำให้เกิดกิจกรรมการท่องเที่ยวหลายรูปแบบในชุมชน
ซึ่งการจัดกิจกรรมโฮมสเตย์ก็เป็นรูปแบบการท่องเที่ยวที่ได้รับความสนใจมาก
ทั้งจากองค์กรท้องถิ่น องค์กรเอกชน และหน่วยงานภาครัฐ
เมื่อการท่องเที่ยวในรูปแบบเชิงอนุรักษ์
หรือที่เรียกว่าการท่องเที่ยวเชิงนิเวศได้รับความนิยมเป็นอย่างมากจากนักท่องเที่ยวทั้งในประเทศและต่างประเทศ
อีกทั้งรัฐบาล
รวมถึงกระแสการท่องเที่ยวของโลกได้ให้ความสำคัญในด้านอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว
กล่าวได้ว่าในระยะ 20 ปีที่ผ่านมา
การท่องเที่ยวเชิงนิเวศมีการขยายตัวรวดเร็วทั่วทุกภูมิภาคของโลก
และคาดหมายว่าจะยังคงเติบโตต่อไปในอนาคต
องค์การสหประชาชาติได้ตระหนักถึงความสำคัญดังกล่าว จึงประกาศให้ปี พ.ศ.
2545 เป็นปีท่องเที่ยวเชิงนิเวศนานาชาติ
โดนคณะกรรมาธิการว่าด้วยการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Commission on Sustainable
Development) ได้ขอให้หน่วยงานต่างๆ ของรัฐบาล
ตลอดจนภาคเอกชนทั่วโลกจัดกิจกรรมสนับสนุน ททท.
เองในฐานะสมาชิกขององค์การท่องเที่ยวโลก (World Tourism Organization : WTO)
ได้กระตุ้นให้หน่วยงานต่างๆ
ทั้งภาครัฐและเอกชนเห็นความสำคัญของการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ
และร่วมจัดกิจกรรมการประชุมสัมมนาที่ ททท.
เป็นผู้จัดและเป็นองค์กรร่วมจัดกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ เช่น ล่องแก่ง
ขี่จักรยาน ชมธรรมชาติ ดูนก และการศึกษาชีวิตชุมชน
ตอนนั้นเราทำงานกันหนัก บ้านปราสาท นครราชสีมา เป็นที่แรก
โอ๊ย...สนุกจับต้นชนปลายกันไปเรื่อย สำหรับโฮมสเตย์ที่เป็นจุดทดลองและทาง ททท.
เข้าไปสนับสนุนในเรื่องการประชาสัมพันธ์นั้น คำว่า เป็นไปได้ ดูเหมือนค่อยๆ
ฉายชัดออกมาเมื่อเกิดการทำงานร่วมกันระหว่างตัวชุมชน หน่วยงานส่งเสริมอย่าง ททท.
และกลุ่มนักท่องเที่ยวแรกๆ ที่เข้าไปสัมผัส
กลุ่มเยาวชนจากหลากหลายท้องถิ่นได้เข้าไปเรียนรู้ชุมชนบ้านปราสาทที่ตั้งอยู่แนบชิดกับโบราณสถานอันตกทอดความเก่าแก่นับพันปีมาจากอารยธรรมขอม
ไม่เพียงแต่ซากอิฐซากศิลาแลง แต่วิถีชีวิตของชาวบ้าน ทั้งงานฝีมือ
รูปแบบพิธีกรรมทางความเชื่อ ประเพณี ล้วนทำให้เด็กๆ ที่เป็น ตัวแทน
ของผู้ไปเยือนประทับใจ
อย่าว่าแต่เด็กๆ เลยชาวบ้านที่นั่นก็น้ำตาซึมเหมือนกัน
วันที่ต้องผูกข้อมือบายศรีขากลับน่ะ เช่นนี้เองที่สะท้อนให้เห็นว่า
ความเป็นตัวตนของพวกเขามีค่า ควรแก่การเข้ามาศึกษา และอย่างสำคัญ
คือพัฒนาไปสู่เรื่องของการยังชีพได้อีกทางหนึ่งมากกว่าพึ่งดินฟ้าและการทำกิน
รูปแบบการท่องเที่ยวแบบโฮมสเตย์ดูจะมาแรงที่สุดในการท่องเที่ยวเชิงนิเวศที่
ททท. ให้ความสนับสนุน เกิดชุมชนโฮมสเตย์นับร้อยกระจายไปทั่วประเทศ
บางกลุ่มเน้นที่ธรรมชาติสวยงามรายรอบ
ขณะที่บางกลุ่มก็เน้นที่คติความเชื่อและเสน่ห์ของวัฒนธรรมประเพณี
และมีอีกหลายกลุ่มที่เน้นถึงการอยู่ร่วมกันของคนและธรรมชาติ
อย่างที่คนเมืองทั่วไปไม่เคยรู้จัก หรืออย่างมากก็เป็นได้แค่ความคิดในอุดมคติ
ดังคำบอกเล่าของคุณขนิษฐา พอนอ่วม อดีตบรรณาธิการอนุสาร อ.ส.ท.
และผู้ช่วยผู้อำนวยการภูมิภาคภาคเหนือ ททท. ในปัจจุบัน
เล่าถึงคืนวันที่เธอประจำอยู่ที่ ททท. สำนักงานภาคใต้ เขต 2
กับการเข้าไปสนับสนุนประชาสัมพันธ์บ้านคีรีวง อำเอลานสกา
ชุมชนเก่าแก่ของเมืองนครศรีธรรมราชที่ใช้ชีวิตอยู่กับเทือกเขาหลวง
ขุนเขาอันเป็นเหมือนบ้านหลังใหญ่ของคนนคร
จริงๆ แล้วพวกเขาอยู่กันแบบนี้มานานแล้ว
เราเพียงแต่ทำให้คนข้างนอกเห็นถึงคุณค่าของเขา เธอเล่าว่าความสนิทสนมระหว่าง
คนนอก กับเกลอภูเขาของเธอ
ถึงแม้จะเป็นเพียงแค่การทำหลายคนสนใจที่จะเข้าไปศึกษาถึงชีวิตแท้ๆ ของคนคีรีวง
แต่มันก็คืองานหนักทีเดียว
กว่าจะทำให้เกิดการสื่อสารอันเข้าใจระหว่างคนข้างในและนอกขุนเขา
รางวัลไทยแลนด์ ทัวริสซึม อวอร์ด นี่ล่ะสำคัญ
ก่อให้เกิดการพัฒนาหลายอย่างกับเขา เธอหมายถึงรางวัลอุตสาหกรรมท่องเที่ยวที่ทาง
ททท. จัดมอบให้กับชุมชนที่สมัครเข้าประกวดโครงการ ซึ่งเริ่มกันเป็นปีแรกในปี
พ.ศ.2539 โดยแบ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยวทั้งทางธรรมชาติ ศิลปวัฒนธรรม นันทนาการ
เชิงนิเวศ และเชิงเกษตร ไม่เพียงแต่รางวัลจะนำมาซึ่งการพัฒนาทั้งในเชิงกายภาพ
อย่างถนนหนทาง หรือสิ่งก่อสร้าง งบประมาณ
แต่ยังส่งผลถึงเรื่องของความรู้สึกร่วมและภาคภูมิใจในชุมชน
ซึ่งเป็นเหมือนจุดหมายหลักของการจัดมอบ
อันน่าจะส่งผลถึงความยั่งยืนในการดูแลท้องถิ่นของแต่ละชุมชน
คุณขนิษฐาเล่าถึงบรรยากาศของหมู่บ้านต่างๆ ในภาคใต้
โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมืองนครศรีธรรมราช ที่สวยงามด้วยความชุ่มชื้นของป่า
ความยิ่งใหญ่อลังการของขุนเขา และความน่าศึกษาในชีวิตของผู้คนที่อาศัยอยู่ร่วมกัน
ทุกอย่างนำมาเป็นอาหารและใช้ประโยชน์ได้หมด ทั้งผัก ผลไม้ สมุนไพร เธอแจงต่อ
เก็บกินได้ตามฤดูกาล นำมาสร้างผลผลิตเสริม ภูมิปัญญาท้องถิ่นต่างๆ ย้อมผ้า
ผลิตภัณฑ์เครื่องใช้สมุนไพร เหมือนกับเธอดึงความสุขที่คิดถึงช่วงทำงาน หนัก
ในอดีตออกมาตรงหน้า
มีคำกล่าวว่าการท่องเที่ยวที่ยั่งยืนต้องหันมาใส่ใจกับเรื่องวัฒนธรรมและวิถีความเป็นอยู่ของคนในท้องที่นั้นๆ
เป็นหลัก ใช่เพียงจะมองเรื่องของวัฒนธรรมเป็นเพียงรูปแบบที่ไปรับใช้การท่องเที่ยว
ดึงดูดคนให้เข้ามาพบเห็นและรู้จักแต่เพียงอย่างเดียว
มากกว่าที่จะรักษาไว้ให้ความสัมพันธ์กับชีวิต เช่นนั้นเอง
การส่งเสริมประชาสัมพันธ์เรื่องราวต่างๆ
ออกไปสู่ผู้คนภายนอกจึงต้องผ่านการกลั่นกรอง เข้าไปสัมผัสกับชุมชนหรือท้องถิ่นนั้นๆ
ด้วยหัวจิตหัวใจที่จริงแท้ เหมือนกับที่วัฒนธรรมและผู้คนเหล่านั้นตั้งต้นดำรงอยู่
การท่องเที่ยวต้องเข้าไปสนับสนุน ไม่ใช่เข้าไปทดแทนภาคเกษตร
คุณภราเดชได้บอกกับผมไว้อย่างนั้น
เมื่อเราคุยกันถึงผลกระทบซึ่งอาจตามมาหลังจากชุมชนทั่วไปเริ่มที่จะหันมาหาการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ
เส้นแบ่งสำคัญคืออย่ามองว่าทุกอย่างที่เราจะพัฒนาเป็นเพียงสินค้าทางการท่องเที่ยว
ให้ใช้การท่องเที่ยวเป็นเครื่องมือในการรักษาวัฒนธรรมเอาไว้
ใช่ว่าการมุ่งสู่การท่องเที่ยวที่ยั่งยืนของการท่องเที่ยวเชิงนิเวศจะราบรื่นเหมือนการโยนเรือกระดาษแล้วปล่อยให้ไหลไปตามสายน้ำ
แต่เมื่อหันมามองตัวเราแล้วเปรียบเทียบกับต่างชาติ
ถึงแม้กลุ่มเกษตรกรที่หันมาหาการท่องเที่ยวแบบโฮมสเตย์จะมีชีวิตที่เรียบง่ายและปักหลักอยู่กับธรรมชาติเหมือนบ้านเรา
แต่สิ่งที่แตกต่างกันค่อนข้างมากคือการได้รับการยอมรับทางสังคม
บ้านเราแย่อยู่หน่อยตรงที่เขาแร้นแค้นมาก ต่างจากคนในกรุง
การยอมรับนี่ล่ะงานยากเลย คุณภราเดชเล่าถึงหลายๆ
วิธีการที่การทำงานของคนในองค์กรอย่าง ททท.
จะทำให้พวกเขารู้สึกว่าสิ่งที่สั่งสมและตกทอดอยู่ล้วนมีค่าและน่าภาคภูมิใจไม่น้อยไปกว่าใครอื่น
อย่างโครงการบัญชีผู้รู้แห่งชุมชนนี่ก็สำคัญมาก เก็บข้อมูลกันละเอียด
เขาว่าถึงโครงการสำรวจและให้คุณค่ากับ ปราชญ์เดินดิน
ที่เต็มไปด้วยภูมิปัญญาพื้นบ้านของแต่ละชุมชน ทำออกมาเป็นหนังสือเลยครับ
ใครพกไปเที่ยวก็แวะไปหา แวะไปพูดคุยกับผู้เฒ่าผู้แก่ประจำบ้าน ได้ทั้งความรู้
ได้สัมพันธภาพและการยอมรับไปในตัว เขาเล่าถึงส่วนหนึ่งในอดีตอย่างภูมิใจ
เช่นนี้เอง ไม่เพียงแต่คนที่เข้าไปสำรวจและสนับสนุน แต่ ททท.
เองยังเต็มไปด้วยผู้คนที่พร้อมจะตามไปสัมผัสและถ่ายทอดเรื่องราวของการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนออกมาสู่คนทั่วไปในหลายทิศทางหลายครั้งที่เราพบว่าอนุสาร
อ.ส.ท. อันเป็นเสมือนนักเล่าแห่งการเดินทางอันยาวนานของ ททท.
ได้นำเสนอเรื่องราวสารคดีอันสอดรับกับทิศทางที่ต้องร่วมกัน เล่า
และชักชวนให้ผู้คนทั่วไปได้ เห็น ถึงความเป็นอยู่และความคิดความเชื่อจริงๆ
ของคนที่นั่น เห็นอย่างเข้าใจ ไม่ใช่เข้าไปเห็นและกลับออกมาอย่างว่างโหวง
หลายเรื่องราวสารคดีมีเนื้อหาและบรรยากาศที่เต็มไปด้วยความอุ่นอายความเป็นอยู่และวัฒนธรรมของชาวบ้านและชุมชนที่นักท่องเที่ยวสามารถเข้าไปสัมผัสได้ด้วยตนเอง
เพียงแต่ต้องนำ หัวใจ เข้าไปด้วย ช่วงหนึ่งนักเขียนสารคดีสาวอย่าง ฤโสพา
มักพาตัวเองไปจ่อมจมอยู่กับฉากและชีวิตของชุมชนโฮมสเตย์ต่างๆ ทั่วเมืองไทย
บางบทก็เสมือนดึงให้คนอ่านคล้ายได้เข้าไปนั่งร่วมชานบ้านเดียวกับผู้เขียน
ค่ำคืนหนึ่งที่บ้านหนองขาว ลานหน้าบ้านไอ้บุญทอง
ซึ่งแวดล้อมไปด้วยต้นไม้ใหญ่น้อย เต็มไปด้วยผู้คนมากหน้าหลายตานั่งล้อมวงกันบนเสื่อ
สำรับคับค้อนอาหารการกินที่เจ้าบ้านจัดเตรียมไว้สำหรับแขกผู้มาเยือนถูกแจกจ่ายกันไปทั่วหน้า
บ้างเดินไปตามซุ้มเถียงนาหลังน้อยๆ หลายหลังที่เรียงรายอยู่
เพื่อตักอาหารที่จัดวางไว้เพิ่มเติมภายในบ้านซึ่งเป็นเรือนไทยสองชั้น
ที่ห้องชั้นล่าง ผู้คนมากมายทั้งชายหญิง ผู้แก่ผู้เฒ่า เด็กน้อย
กำลังสาละวนกับการแต่งตัวกันยกใหญ่...หญิงสาวคนหนึ่งช่วยแต่งหน้าทาปากให้ชายหนุ่ม
ซึ่งนุ่งโจงกระเบน ใส่เสื้อแขนสั้นลายผ้าขาวม้าพื้นบ้าน...อีกไม่นาน
เมื่อถึงเวลาทุกคนในบ้านจะพลิกผันตัวเองเป็นใครอีกคนอย่างแนบเนียน
ขณะที่คนมากมายตรงลานกว้างหน้าบ้านเฝ้าคอยมองดูอย่างใจจดใจจ่ออีกไม่นาน...เมื่อละครเริ่มขึ้น
เธอเขียนถึงฉาก เวลา
และชีวิตปัจจุบันที่ชุมชนเริ่มหันมาหาการท่องเที่ยวแบบโฮมสเตย์และพร้อมที่จะเล่าเรื่องราวความเป็นอยู่ของพวกเขาสู่คนที่เข้ามาเยี่ยมเยือนไว้อย่างแสนมีชีวิตชีวา
ในสารคดีเรื่อง ละครแห่งชีวิตที่บ้านหนองขาว ฉบับตุลาคม 2545
หรือบางอย่างในบทที่เธอเลือกไปเยือนผู้คนและชุมชนทางภาคอีสาน
เมื่อฉบับมกราคม 2546 วงรอบแห่งธรรมชาติและวัฒนธรรม จากหนองหล่มบ้านผู้ไทย
ไปดงหลวงบ้านโส้
ที่พื้นที่แถบนั้นอาจไม่ได้มีความงดงามทางธรรมชาติเหมือนโฮมสเตย์ทางภาคอื่นๆ
แต่ก็มากมายไปด้วยเรื่องราวความเป็นอยู่และชีวิตวัฒนธรรมที่น่าค้นหา
ฉันกำลังนั่งอยู่ตรงนอกชานของกระท่อมไม้ไผ่น้อยๆ
บนเนินดินสูงที่ลาดลงสู่แม่น้ำโขงในหมู่บ้านท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์บ้านหนองหล่ม...กระท่อมไม้ไผ่ชายน้ำหลังนี้
ไม่ใช่บ้านพักที่จัดไว้ให้นักท่องเที่ยวพัก แต่เป็นอีก 5 หลังที่อยู่ถัดไป
ฉันเองในฐานะนักท่องเที่ยว ก็พักกระท่อมไม้ไผ่ 1 ใน 5
หลังนี้......เรื่องราวของความเชื่อพื้นบ้านจากป่า ฉันก็ได้พบที่นี่
อย่างรูของบึ้ง สัตว์ชนิดหนึ่งคล้ายแมงมุม แต่ตัวโตกว่า ชาวบ้านเขาก็เชื่อว่า
หากรูบึ้งรูไหนที่ปากรูหันไปทางทิศตะวันออก สามารถขอหวยได้
เขาจะเขียนตัวเลขใส่กระดาษแล้วนำไปใส่ไว้ในรูบึ้งที่ปากรู หันไปทางทิศตะวันออกนั้น
1 คืน พอเช้าขึ้นมาก็มาดูว่าบึ้งคาบกระดาษที่เขียนเลขใดออกมาอยู่ข้างนอก
ก็เอาไปแทงหวยต้นไม้ที่ฉันอยากเห็นดอกของมัน แต่ไม่ได้เห็นคือไส้ตัน
ฉันจะเล่าให้คุณฟังว่ามันมีความน่าสนใจเพียงไร...
การเข้าไปสัมผัสกับผู้คนเช่นนี้เอง
ที่เป็นคำตอบของการทำให้การท่องเที่ยวเป็นสิ่งส่งเสริมให้คนที่เข้ามาเยือนเข้าใจชุมชนมากกว่าที่จะเป็นเพียงดัชนีทางการตลาด
หรือเงื่อนไขของการพัฒนาที่สะท้อนออกมาเป็นเปอร์เซ็นต์ตัวเลข เช่นนั้นเอง
การทำงานหนักของคนหลายต่อหลายรุ่นจึงไม่เพียงจะเป็นการตั้งคำถามและพยายามหาคำตอบให้กับตัวเองว่า
เราก้าวกันมาไกลแค่ไหน และจำเป็นต้องมองออกไปข้างหน้ากันอีกยาวไกลเท่าไร
หากเป็นเพราะสิ่งที่เป็นปัจจุบันนั้นสำคัญยิ่งกว่า กับการอยู่ร่วมกันของทุกคน
ไม่ว่าจะเป็นต้นไม้สักต้น หมู่บ้านสักแห่ง หรือหน่วยงานองค์กรใหญ่โตใดๆ
อาจเพราะเรามิอาจก้าวย่างไปโดยไม่หันมาปาดหยาดเหงื่อและเหลียวมองรอยเท้าที่ทางเดินของกันและกัน
ยามเย็นของวันหนึ่งเมื่อผมลาจากบ้านของสำเริง ราเขต หรือบังหมี บนเกาะยาวน้อย
ชุมชนโฮมสเตย์แห่งท้องทะเลอันดามัน จังหวัดพังงา ที่นั่น
นอกจากความงดงามของท้องทะเล วิถีชีวิตน่าเรียนรู้
และศรัทธาในศาสนาอันเหนียวแน่นที่โลกปัจจุบันน่าจะกล่าวคำขอบคุณแล้ว
รอยยิ้มของคนที่นั่นล้วนเป็นสิ่งที่น่าจดจำ
เป็นรอยยิ้มประเภทเดียวกับนิยามของบ้านอันมีสุข
อย่างที่ใครสักคนเคยบอกกับผมบนยอดตึกขององค์กรแห่งหนึ่งที่ทำหน้าที่ส่งเสริมเรื่องราวเหล่านั้นเรื่อยมาเขาว่าเอาไว้
แหล่งท่องเที่ยวที่ดีที่สุดก็อยู่ที่ชุมชนที่มีความสุขที่สุด