สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมือง เศรษฐศาสตร์ >>
การเดินทางในสมัยโบราณ
การเดินทางในสมัยกลาง
การเดินทางเพื่อทำสงครามครูเสด
การเดินทางเพื่อจาริกแสวงบุญ
การเดินทางในยุคฟื้นฟูศิลปะวิทยาการ
การเดินทางในสมัยใหม่
การท่องเที่ยวในประเทศไทย
อนุสาร อ.ส.ท.
การทำงานท่องเที่ยว
ปีท่องเที่ยวไทย
การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ
การท่องเที่ยวแบบยั่งยืน
วิวัฒนาการการท่องเที่ยว
การเดินทางในสมัยกลาง
(The Middle Ages Travel)
สมัยกลางอยู่ในระหว่าง ค.ศ. 500 ค.ศ. 1500 ในระยะนี้ ความเจริญรุ่งเรืองต่างๆ
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุโรปค่อนข้างหยุดชะงักทั้งนี้เพราะหลังจาอาณาจักรโรมันตะวันตกสูญเสียอำนาจ
บ้านเมืองในยุโรปเกิดความไม่สงบ มีการแย่งชิงอำนาจระหว่างเมืองต่างๆ
นอกจากนี้ก็ยังมี โจรผู้ร้ายชุกชุม ทั้งนี้เพราะขาดศูนย์กลางแห่งอำนาจ
การเดินทางเพื่อการค้าขายและการท่องเที่ยวหยุดชะงักระยะหนึ่งเพราะไม่มีความปลอดภัย
จนกระทั่งคริสต์ศตวรรษที่ 12 การเดินทางจึงมีความปลอดภัยอีกครั้งหนึ่ง (Mill, 1990
: 6)
สภาพของสังคมในยุคกลางเป็นสังคมปิด ระบบที่ใช้เรียก
ศักดินาสวามิภักดิ์ (Feudalism)
ซึ่งเป็นรูปแบบความสัมพันธ์เชิงพึ่งพากันในระหว่างท้องถิ่น ระหว่างนาย (lord)
กับผู้สวามิภักด์ (vassal) เพื่อความอยู่รอดท่ามกลางความไม่ปลอดภัยรอบด้าน
ทางด้านการเมืองการปกครองเกิดภาวะสุญญากาศ ตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของคริสต์ศาสนา
สถานที่พักที่เคยเปิดบริการให้แก่นักเดินทางที่หลากหลายทั่วทุกพื้นที่ในยุโรปต่างหยุดการประกอบธุรกิจเพราะไม่มีลูกค้ามาใช้บริการ
เนื่องจากคำสอนของคริสต์ศาสนาในขณะนั้นสอนว่าการแสวงหาความสุขสำราญในโลกนี้ของมนุษย์เป็นสิ่งที่ไม่สมควรกระทำ
มนุษย์สมควรใช้เวลาที่อยู่ในโลกนี้เพื่อคิดและปฏิบัติเพื่อศาสนา
ด้วยความศรัทธาอย่างแท้จริง เพื่อจะได้รับผลตอบแทนในอาณาจักรแห่งพระเจ้า
ซึ่งเป็นความสุขที่แท้จริงนิรันดรมากกว่า
ศูนย์กลางการค้าขายและการเดินทางได้เปลี่ยนจากศูนย์กลางที่กรุงโรมในอิตาลีเป็นเมืองสำคัญทางเอเชียตะวันตกเฉียงใต้
เมืองสำคัญที่เป็นศูนย์กลางของการค้าขายและการเดินทาง ได้แก่ กรุงคอนสแตนติโนเปิล
(Constantinople) หรือเมืองอิสตันบูล (Istanbul) ในประเทศตุรกีปัจจุบัน
จากการบันทึกของนักเดินทางชาวสเปน ในคริสต์ศตวรรษที่ 12 ได้กล่าวว่า
กรุงคอนสแตนติโนเปิล ใหญ่โต หรูหรา เต็มไปด้วยพ่อค้าและสินค้าจากเปอร์เซีย อียิปต์
อินเดีย รุสเซีย และสเปน (คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2538 : 190)
กรุงแบกแดด (Baghdad) ในประเทศอิรัก (Iraq) ก็เป็นเมืองหนึ่ง
ซึ่งเป็นศูนย์กลางการค้า การเดินทาง และศูนย์กลางของศาสนาอิสลาม
กรุงแบกแดดเป็นที่รวมของสินค้าจากเอเชีย อาฟริกา และยุโรป
การเดินทางส่วนใหญ่ของประชาชนในยุคกลาง
เป็นการเดินทางของนักเดินทางเฉพาะกลุ่มและเฉพาะวัตถุประสงค์ เช่น
กลุ่มผู้มีอำนาจและกำลังทหารได้เดินทางไปทำสงครามครูเสด (Crusade)
เพื่อช่วงชิงนครศักดิ์สิทธิ์ทางศาสนา คือ นครเยรูซาเลม
คืนจากผู้ยึดครองที่นับถือศาสนาอิสลาม
หรือกลุ่มศาสนิกชนที่เดินทางไปจาริกแสวงบุญที่สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ