สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมือง เศรษฐศาสตร์ >>
การเดินทางในสมัยโบราณ
การเดินทางในสมัยกลาง
การเดินทางเพื่อทำสงครามครูเสด
การเดินทางเพื่อจาริกแสวงบุญ
การเดินทางในยุคฟื้นฟูศิลปะวิทยาการ
การเดินทางในสมัยใหม่
การท่องเที่ยวในประเทศไทย
อนุสาร อ.ส.ท.
การทำงานท่องเที่ยว
ปีท่องเที่ยวไทย
การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ
การท่องเที่ยวแบบยั่งยืน
วิวัฒนาการการท่องเที่ยว
การเดินทางในสมัยใหม่
( Modern Ages Travel)
ประวัติศาสตร์สมัยใหม่ ตั้งแต่ยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม ในช่วงปีค.ศ.1780 ไปจนถึงสงครามโลกครั้งที่ 2 การเปลี่ยนแปลงของประวัติศาสตร์ในระยะเวลาดังกล่าวแล้ว เป็นขบวนการเปลี่ยนแปลงที่ต่อเนื่อง ในคริสต์ศตวรรษที่ 17 เมื่อเศรษฐกิจโลกขยายตัวขึ้น ความต้องการวัตถุดิบเพื่อผลิตสินค้าให้มากขึ้น เพื่อตอบสนองความต้องการของการขยายตัวทางด้านการค้า จึงทำให้นักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษเป็นชาติแรก ผลิตเครื่องจักรไอน้ำเพื่อใช้ในโรงงานทอผ้า ในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 18 ต่อจากนั้นก็ได้นำเครื่องจักรไอน้ำมาใช้ในการเดินเรือและอุตสาหกรรมอื่นๆ การนำเครื่องจักรมาใช้แทนแรงงานคน มีส่วนสำคัญต่อการปฏิวัติอุตสาหกรรม (Industrial Revolution) และการปฏิวัติอุตสาหกรรมซึ่งกระทำอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้เกิดการคิดค้นยานพาหนะ ที่ขับเคลื่อนด้วยเครื่องจักร โดยใช้พลังงานในรูปแบบแตกต่างกัน และมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
ภาพหัวรถจักรไอน้ำยุคแรก
การปฏิวัติอุตสาหกรรม ทำให้ชนชั้นกลางร่ำรวยและมีเวลาท่องเที่ยวมากขึ้นใน
เช่นคริสต์ศักราชที่ 1829 นักธุรกิจชาวลอนดอนได้เสนอรายการนำเที่ยว
สวิสเซอร์แลนด์เป็นเวลา 16 วันในรูปเหมาจ่าย (packaged tour) ซึ่งรวมขนส่ง ที่พัก
และอาหารไว้ด้วย ซึ่งนับว่าเป็นจุดเริ่มต้นของธุรกิจท่องเที่ยวแบบเหมาจ่าย (Joseph
D. Fridgen ,1991 :13)
นอกจากนี้ ยังทำให้เกิดการนำเครื่องจักรมาใช้ในระบบการขนส่ง ในปี ค.ศ. 1814
ยอร์จ สตีเฟนสัน (George Stephenson) ได้ผลิตรถจักรไอน้ำได้สำเร็จ และต่อมา ในปี
ค.ศ. 1830 ได้เกิดขบวนรถไฟขนส่งผู้โดยสารขึ้นครั้งแรกแล่นระหว่างเมืองแมนเชสเตอร์
(Manchester) และลิเวอร์พูล (Liver Pool) ในประเทศอังกฤษ ต่อมาในปี ค.ศ. 1841 โธมัส
คุก (Thomas Cook) ได้เปิดธุรกิจบริษัทนำเที่ยวขึ้นเป็นครั้งแรก
โดยเริ่มต้นนำเที่ยวโดยทางรถไฟในประเทศอังกฤษก่อน
แล้วขยายการนำเที่ยวไปสู่ประเทศอื่นๆ ในยุโรป และสหรัฐอเมริกาในปี ค.ศ. 1879
(Davidson, 1994 : 7)
การทำงานในระบบอุตสาหกรรม และพาณิชยกรรม ทำให้คนมีเวลาทำงานที่แน่นอน ไม่ได้ขึ้นอยู่กับดินฟ้าอากาศหรือฤดูกาล เช่น สังคมเกษตร ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 19 การทำงานได้ลดลงจากวันละ 12 ชั่วโมง เหลือเพียงวันละ 10 ชั่วโมง และมีวันหยุด (Mill, 1990 : 11) จึงทำให้คนเดินทางเพื่อการพักผ่อนเพิ่มขึ้น
ในปีคริสต์ศตวรรษ 1902 เฮนรี่ ฟอร์ด (Henry Ford) ได้ผลิตรถยนต์คันแรกขึ้นในสหรัฐอเมริกา และในปี ค.ศ. 1903 พี่น้องสกุลไรท์ (Wright) ได้ผลิตเครื่องบินลำแรก หลังจากนั้นประมาณสองทศวรรษ ยานพาหนะดังกล่าวก็ได้แพร่หลายไปยังส่วนต่างๆ ของโลก เครื่องบินได้พัฒนาขึ้นตามลำดับ
ภาพรถฟอร์ดรุ่นแรกๆ
ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง (ค.ศ. 1939 - 1945)
ได้มีการผลิตเครื่องบินไอพ่น (Jet) และได้พัฒนาขึ้นจนกระทั่งบินเร็วกว่าเสียง ในปี
ค.ศ. 1969 เครื่องบินคองคอร์ด (Concord) สามารถบินได้ในอัตราความเร็ว 1,950
กิโลเมตรต่อชั่วโมง จึงทำให้การเดินทางด้วยเครื่องบินดังกล่าวแล้วระหว่างลอนดอน
(London) ถึงนิวยอร์ก (New York) ใช้เวลาเพียง 3 ชั่วโมง ต่อระยะทางการบิน 5,850
กิโลเมตร (Davidson, 1994 : 48 - 49) ในระหว่างปี 1970 1979
ได้มีการพัฒนาเครื่องบินไอพ่นให้มีขนาดใหญ่ขึ้นสามารถบรรจุผู้โดยสารได้จำนวนมาก
เครื่องบินไอพ่นแบบโบอิ้ง 747 (Boeing 747) ในปัจจุบัน สามารถบรรจุผู้โดยสารได้ถึง
500 คน การพัฒนาทางด้านเครื่องบิน เป็นพื้นฐานสำคัญของการท่องเที่ยวระหว่างประเทศ
เพราะการเดินทางโดยเครื่องบิน ประหยัด รวดเร็ว ปลอดภัย และมีความสะดวกสบาย (Collier
and Harraway, 1997 : 31)
ในยุคศตวรรษที่ 18
กระแสอิทธิพลของการปลุกเร้าให้เกิดการเดินทางคือแนวคิดทางด้านสุนทรียนิยม
(Romanticism) ที่ให้ความนิยม ชื่นชมกับความงดงามของธรรมชาติ ป่าเขาลำนำไพร แม่น้ำ
ความมีคุณค่าของมนุษย์ และจินตนาการไปยังดินแดนที่ไกลโพ้น
เรื่องราวผจญภัยในต่างแดนได้กลายเป็นแนวทางในการออกเดินทาง ดังปรากฏในคำกล่าวของ
จอห์น คีทส์
ผู้ชื่นชอบการเดินทางท่องเที่ยวได้กล่าวถึงความรู้สึกที่จะสัมผัสได้ด้วยการเดินทางและท่องเที่ยวเป็นภาอังกฤษว่า
Beauty is truth, truthis beauty that is all you know on earth, and all you
need to know.
การคมนาคม ทั้งทางบก ทางน้ำ และทางอากาศ
เป็นปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่งในการเดินทางท่องเที่ยว ทั้งในประเทศและระหว่างประเทศ
ดังปรากฏในวรรณกรรมที่โน้มน้าวให้เกิดการตื่นตัวเพื่อการท่องเที่ยวได้แก่เรื่อง 80
วันรอบโลก ซึ่งเป็นงานเขียนของ จูลส์ เวิร์น
นักเขียนชาวฝรั่งเศสผู้ชื่นชอบการเดินทางท่องเที่ยวเช่นกัน
ได้เขียนถึงเรื่องราวการเดินทางเชิงผจญภัยของฟีเลียส ฟอกก์
ตัวเอกของเรื่องที่กล้ารับคำท้าพนันจากเพื่อน สมาชิกของสโมสรปฏิรูปลอนดอน
ว่าตนเองสามารถเดินทางรอบโลกได้ภายในเวลา 80 วัน
เพราะในขณะนั้นบุคคลไม่เชื่อว่าจะสามารถทำได้
แต่ด้วยความเชื่อมั่นในโลกสมัยใหม่และความเจริญของเทคโนโลยี ทำให้ฟอกก์
วางแผนการเดินทางด้วยเครื่องจักรกลสมัยใหม่ ทั้งรถไฟ เรือกลไฟ
ที่ฟอกก์เชื่อว่าสามารถเชื่อมโลกเข้าด้วยกันได้
การเดินทางของฟอกก์ได้สะท้อนให้เห็นถึงจินตนาการและการรับรู้ของชาวยุโรปที่มีต่อการท่องเที่ยวในโลกสมัยใหม่ได้อย่างน่าสนใจที่สุด