สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมือง เศรษฐศาสตร์ >>
การเดินทางในสมัยโบราณ
การเดินทางในสมัยกลาง
การเดินทางเพื่อทำสงครามครูเสด
การเดินทางเพื่อจาริกแสวงบุญ
การเดินทางในยุคฟื้นฟูศิลปะวิทยาการ
การเดินทางในสมัยใหม่
การท่องเที่ยวในประเทศไทย
อนุสาร อ.ส.ท.
การทำงานท่องเที่ยว
ปีท่องเที่ยวไทย
การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ
การท่องเที่ยวแบบยั่งยืน
วิวัฒนาการการท่องเที่ยว
การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ
ปีพ.ศ.2530 คณะรัฐมนตรีมีมติให้ประกาศเป็นปีท่องเที่ยวไทย
ทำให้ในปีนี้มีการจัดทำโครงการพิเศษ ๆ เกี่ยวกับการท่องเที่ยวร่วมกัน ทั้ง ททท. เอง
ตลอดจนภาครัฐและภาคเอกชนต่างๆ ที่เข้ามาร่วมสนับสนุนมากมาย การประกาศปีท่องเที่ยว
หรือ Visit Thailand Year นี้ ได้ก่อให้เกิดกระแสนิยมที่ไหลตามกัน
เป็นการประกาศปีท่องเที่ยวของจังหวัด อำเภอ
และแม้กระทั่งประเทศบ้านใกล้เรือนเคียงติดตามกันต่อมาอีกมากมาย ประสบความสำเร็จบ้าง
ไม่ประสบความสำเร็จบ้างในจุลสารการท่องเที่ยว ฉบับตุลาคม ธันวาคม 2540 ระบุว่า
พ.ศ.2530 2435 รายได้จากอุตสาหกรรมท่องเที่ยวสูงเป็นอันดับ 1
แต่ก็เกิดผลกระทบเชิงลบจากสิ่งแวดล้อม สังคม และวัฒนธรรม
ซึ่งกระจายในพื้นที่ท่องเที่ยวอย่างถ้วนทั่ว
อันเป็นที่มาของการศึกษาวิจัยเรื่องEcotourism
นั่นคือการปรากฏขึ้นครั้งแรกของคำว่า Ecotourism ในประเทศไทยก็ว่าได้
ขณะนั้นเอง หลายคนถึงกับกล่าวว่า
การท่องเที่ยวเชิงนิเวศเป็นทางออกหรือทางรอดเพียงทางเดียวที่จะนำพาให้การท่องเที่ยวเกิดความยั่งยืนได้
หลายฝ่ายใน ททท. มีการขานรับความคิดนี้ในวงกว้าง
มีการจัดตั้งมูลนิธิพิทักษ์สิ่งแวดล้อมและการท่องเที่ยว (พ.ส.ท.) กลางปี พ.ศ. 2535
โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อดำเนินกิจกรรมอันเนื่องด้วยการพิทักษ์สิ่งแวดล้อมและทรัพยากรการท่องเที่ยว
เกิดสมาคมไทยท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์และผจญภัย (สอท.)
องค์กรเอกชนที่ก่อตั้งโดยกลุ่มผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยว
มีหน้าโฆษณากลุ่มบริษัทท่องเที่ยวที่ให้บริการแนวนี้แยกออกมาโดยเฉพาะ 1
หน้าในอนุสาร อ.ส.ท.
ขณะเดียวกันการพัฒนาด้านการท่องเที่ยวก็ขยายไปสู่ลุ่มน้ำโขง ในเดือนกรกฎาคม
พ.ศ.2536 ขณะที่รัฐบาลในสมัยนั้นเปิดนโยบายเปลี่ยนสนามรบเป็นสนามการค้า ในส่วนของ
ททท. ก็ได้เตรียมการร่วมเฉลิมฉลองการเปิดสะพานมิตรภาพไทย-ลาว
และนับจากตรงนี้เป็นต้นไปที่ทำให้เกิดโครงการในลักษณะเปิดประตูสู่อินโดจีน
และทำให้ไทยเป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ขึ้นอีกหลายรายการด้วยกัน
เช่น นโยบายสี่เหลี่ยมเศรษฐกิจ สามเหลี่ยมเศรษฐกิจ และหกเหลี่ยมเศรษฐกิจ เป็นต้น
คุณเสรี วังส์ไพจิตร (ผู้ว่าการ ททท. พ.ศ. 2537 - 2542) ให้สัมภาษณ์เมื่อครั้งเข้ารับตำแหน่งผู้ว่าการ ททท. ในอนุสาร อ.ส.ท. ฉบับสิงหาคม 2537 ว่า เราจะต้องไม่คำนึงถึงจำนวนนักท่องเที่ยวมากจนลืมความสำคัญของทรัพยากรด้านการท่องเที่ยว ถ้าต้องการการพัฒนาระยะยาว ก็ต้องให้ความสำคัญต่อคุณภาพของการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
เป้าหมายนี้นำมาสู่นโยบายและแนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ (Ecotourism) (ปี พ.ศ. 2538 - 2539) โดยให้คำจำกัดความของ Ecotourism หรือการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ว่า หมายถึงการเดินทางไปยังสถานที่ท่องเที่ยวแห่งใดแห่งหนึ่ง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษา ชื่นชม และเพลิดเพลินไปกับทัศนียภาพ สภาพธรรมชาติ สภาพสังคม วัฒนธรรม วิถีชีวิตของคนในท้องถิ่น บนพื้นฐานของความรู้และความรับผิดชอบต่อระบบนิเวศ จากแนวความคิดดังกล่าวไปสู่การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน ดูจะเป็นเป้าหมายรวมของการแก้ไขปัญหาในเรื่องการท่องเที่ยวที่ดูดีที่สุด ทั้งในเรื่องแนวคิดและหลักการ ซึ่งทาง ททท. เองก็ได้เรียนรับปรับใช้ และได้ส่งเสริมให้แต่ละชุมชนเจ้าของพื้นที่แหล่งท่องเที่ยวก้าวเดินไปร่วมกัน การหันกลับมามองถึงปัจจัยพื้นฐานว่าตัวเรามีอะไรที่มีค่ามากที่สุด คำตอบที่เห็นได้ชัดนอกจากธรรมชาติอันหลากหลายที่โอบล้อมอยู่ ก็หนีไม่พ้นเรื่องราวของความเป็นอยู่เฉพาะ ซึ่งจะกล่าวกันอย่างกว้างก็คือประเพณี ความเป็นอยู่ และศิลปวัฒนธรรมที่หล่อหลอมจนเป็นเอกลักษณ์เฉพาะถิ่นเฉพาะตน โลกมันเปลี่ยน เราเองก็ต้องเดินตาม เมื่อเห็นว่ามันเหมาะควรกับบ้านเรา และเป็นทางพัฒนาที่เกิดประโยชน์ เราเองก็พร้อมจะเรียนรู้
กระแสการพัฒนาอย่างยั่งยืนของโลกเมื่อครั้งมีการประชุมสุดยอดสิ่งแวดล้อมโลก หรือ Earth Summit เมื่อปี พ.ศ. 2535 ที่เมืองริโอ เดอ จาเนโร ประเทศบราซิล มีส่วนผลักดันให้ทั่วโลกเกิดกระแสการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ไม่เฉพาะในเรื่องของการดูแลโลก แต่ยังหมายย่อยถึงเรื่องของการท่องเที่ยวอันเป็นทิศทางที่แทบทุกประเทศมุ่งเน้นที่จะพัฒนา
กระแสการพัฒนาการท่องเที่ยวจึงมุ่งเน้นไปที่ 3 ข้อหลัก คือ
-
กระแสความต้องการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ
-
กระแสความต้องการในด้านการศึกษาเรียนรู้
-
กระแสความต้องการพัฒนาคน
จากกระแสพัฒนาดังกล่าว มีผลต่อการปรับตัวของระบบการท่องเที่ยวบ้านเรา เราเริ่มหันมาหา Ecotourism กันเป็นหลัก เรียกว่าตอนนั้นในบ้านเราเกิดเป็นกระแสท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ บางคนก็นิยามว่าเป็นท่องเที่ยวเชิงนิเวศ หลากหลายคำ ซึ่งนิยามทั้งหมดทั้งมวลล้วนหมายถึงการที่เราจะเริ่มหันมาใส่ใจกับคนทั้งประเทศ ไม่มีการแยกนักท่องเที่ยวกับเจ้าของพื้นที่ออกเป็นส่วนใดส่วนหนึ่ง