สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมือง เศรษฐศาสตร์ >>
การเดินทางในสมัยโบราณ
การเดินทางในสมัยกลาง
การเดินทางเพื่อทำสงครามครูเสด
การเดินทางเพื่อจาริกแสวงบุญ
การเดินทางในยุคฟื้นฟูศิลปะวิทยาการ
การเดินทางในสมัยใหม่
การท่องเที่ยวในประเทศไทย
อนุสาร อ.ส.ท.
การทำงานท่องเที่ยว
ปีท่องเที่ยวไทย
การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ
การท่องเที่ยวแบบยั่งยืน
วิวัฒนาการการท่องเที่ยว
การเดินทางเพื่อทำสงครามครูเสด
สงครามครูเสดเกิดจากความคิดของผู้มีอำนาจในรัฐต่างๆ ของยุโรป และคริสตจักรแห่งกรุงโรมที่ต้องการช่วงชิงดินแดนอันศักดิ์สิทธิ์คือ นครเยรูซาเลมคืนจากการยึดครองของผู้ปกครองที่นับถือศาสนาอิสลามและสถาปนาการปกครองโดยผู้ที่นับถือศาสนาคริสต์แทน ความคิดดังกล่าวได้มาถึงจุดสูงสุดของความรู้สึกร่วมเมื่อสันตะปาปาเออร์บันที่ 2 แถลงที่เมืองเคลมองต์ (Clemont) ที่ตั้งอยู่ทางตอนใต้ของฝรั่งเศส ในปีคริสต์ศักราช 1095 เรียกร้องให้บรรดาผู้มีอำนาจและกำลังทหารได้แก่ กษัตริย์ เจ้าชาย ขุนนาง อัศวิน เลิกทำสงครามระหว่างกัน แล้วหันมาผนึกกำลังเพื่อต่อสู้กับศัตรูต่างศาสนาในแดนไกล และให้ถือว่าเป็นผู้จาริกแสวงบุญที่ติดอาวุธ มีสถานะเป็นทหารของพระคริสต์ภายใต้การนำของสันตะปาปา
สงครามครูเสดได้เริ่มขึ้นในศตวรรษที่ 11 และสิ้นสุดในศตวรรษที่ 13
จึงมีการเดินทางของนักรบไปยังดินแดนปาเลสไตน์และเมืองต่างๆ
ที่เกี่ยวข้องกับศาสนาคริสต์
นับได้ว่าการเดินทางดังกล่าวมีส่วนส่งเสริมในการเดินทางระหว่างยุโรป
และเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ เกิดการแลกเปลี่ยนและผสมผสานทางวัฒนธรรม
ระหว่างโลกตะวันตกกับโลกอาหรับ นอกจากนี้ยังทำให้เมืองท่าสำคัญของอิตาลี เช่น เวนิส
(Venice) เจนัว (Genoa) และปิซา (Pisa)
เป็นศูนย์กลางการค้าในบริเวณทะเลเมดิเตอร์เรเนียน และทำให้การค้าในทะเลเมดิเตอร์
เรเนียนมาเจริญรุ่งเรืองอีกครั้งหนึ่ง (นันทนา กปิลกาญจน์, 2539 : 273)
ภาพจำลองการรบในสงครามครูเสด