สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมือง เศรษฐศาสตร์ >>
ภาวะโลกร้อนกับชีวิตพอเพียง
เพ็ญภา ขำแก้ว วิทยาลัยเทคนิคราชบุรี
Melting Ice. A Hot Topic คือคำขวัญวันสิ่งแวดล้อมโลก ประจำปี พ.ศ.2550
เนื่องจากโลกกำลังเกิดภัยวิบัติจากธรรมชาติอย่างรุนแรงซึ่งเป็นผลการกระทบจากภาวะโลกร้อน
ดังนั้นในปีนี้ องค์การสหประชาชาติจึงได้ให้ความสำคัญต่อปัญหาโลกร้อน
เพื่อให้ประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกได้ตระหนักร่วมกันในการแก้ปัญหาโลกร้อน
ปรากฏการณ์เรือนกระจก (Greenhouse effect)
เป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติที่มีมาคู่กับโลกของเรา
เนื่องด้วยในชั้นบรรยากาศโลกมีก๊าซเรือนกระจกที่มีสมบัติดูดกลืนความร้อน
ได้แก่ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ก๊าซมีเทน ก๊าซโอโซนและไอน้ำ เป็นต้น
ดังนั้นเมื่อแสงจากดวงอาทิตย์ส่องมายังโลก
พลังงานแสงจะถูกเปลี่ยนรูปเป็นพลังงานความร้อน
ซึ่งพลังงานความร้อนจะมีการสะท้อนกลับสู่อวกาศ
หากโลกไม่มีชั้นบรรยากาศที่มีก๊าซเรือนกระจกช่วยดูดกลืนความร้อนไว้
โลกของเราก็จะเย็นยะเยือกในเวลากลางคืน ส่วนเวลากลางวันจะมีอุณหภูมิสูงมาก
จะเห็นได้ว่าปรากฏการณ์เรือนกระจกช่วยให้โลกมีอุณหภูมิพอเหมาะไม่ได้ก่อให้เกิดปัญหาโลกร้อนดังเช่นปัจจุบัน
ปัญหาโลกร้อนได้เริ่มขึ้นเมื่อชั้นบรรยากาศของโลกถูกทำลายเพราะบทบาทของบรรยากาศโลกคือการเอื้อให้กำเนิดสิ่งมีชีวิตและเอื้อให้สิ่งชีวิตดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างมีความสุขในสภาพธรรมชาติ
ที่สมดุล แต่เนื่องจากชั้นบรรยากาศบางเบามาก
จึงง่ายที่จะเกิดการเปลี่ยนแปลงขององค์ประกอบดังนั้น
เมื่อเข้าสู่ยุคอุตสาหกรรมเพื่อเพิ่มผลผลิตให้เพียงพอกับความต้องการของประชากรโลก
ทำให้มีการตัดไม้ทำลายป่าเพื่อใช้พื้นที่ในการเพาะปลูกและนำไม้มาเป็นเชื้อเพลิงในโรงงานอุตสาหกรรม
ต่อมาเมื่อมีการนำเอาปิโตรเลียมมาเป็นเชื้อเพลิงพร้อมกับความก้าวหน้าด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ยิ่งทำให้โรงงานอุตสาหกรรมปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์อย่างมหาศาล นอกจากนี้
เทคโนโลยีด้านยานยนต์เพื่อการคมนาคมและขนส่งก็ปลดปล่อย
ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จำนวนมากเช่นกัน
รวมทั้งการดำเนินชีวิตของมนุษย์เรามีกิจกรรมที่ก่อให้เกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์หลายกิจกรรมเช่น
การทำอาหารและการเผาสิ่งต่าง ๆ เป็นต้น
จะเห็นได้ว่าการดำเนินชีวิตของมนุษย์เราในปัจจุบัน
ได้ทำลายองค์ประกอบของบรรยากาศโลก ทำให้ปริมาณของก๊าซเรือนกระจกเพิ่มขึ้น
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และ ก๊าซมีเทน นอกจากนี้ยังมีสารซีเอฟซี
(CFC : Chloro fluoro carbon)
ซึ่งเป็นสารสังเคราะห์และสามารถดูดกลืนความร้อนได้ปริมาณมากได้ถูกนำมาใช้เป็นสารทำความเย็นในเครื่องทำความเย็นต่าง
ๆ และใช้ในกระบวนการผลิตโฟม เป็นต้น
สรุปเหตุแห่งปัญหาโลกร้อนที่สำคัญมีดังนี้
1. ป่าไม้ถูกทำลาย
2.
การเพิ่มขึ้นของก๊าซเรือนกระจกในชั้นบรรยากาศโลก
ป่าไม้มีบทบาทหน้าที่สำคัญหลายอย่าง เมื่อป่าไม้ถูกทำลายจึงมีผลกระทบต่อสมดุล
ธรรมชาติสร้างความเสียหายทั้งด้านภูมิประเทศและภูมิอากาศ
โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านภูมิอากาศทำให้อุณหภูมิของบรรยากาศสูงขึ้น
เพราะป่าไม้ช่วยนำก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ไปใช้เป็นวัตถุดิบในการปรับปรุงอาหารของพืชได้น้ำตาลกลูโคสแล้วเปลี่ยนเป็นแป้งและเซลลูโลส
(เนื้อไม้) ป่าไม้จึงเป็นแหล่งกักเก็บก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
ทำให้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
ในชั้นบรรยากาศลดลงอยู่ในสภาพสมดุลเพื่อรักษาอุณหภูมิของโลกให้พอเหมาะต่อการดำรงชีวิต
ดังนั้น
การตัดไม้ทำลายป่าจึงทำให้ธรรมชาติขาดสมดุลและก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สะสมเพิ่มขึ้น
แล้วดูดกลืนความร้อนไว้ในบรรยากาศจึงทำให้บรรยากาศของโลกมีอุณหภูมิสูงขึ้น
สำหรับสาเหตุการเพิ่มขึ้นของก๊าซเรือนกระจกในชั้นบรรยากาศโลกซึ่งเป็นสาเหตุทำให้เกิดปัญหาโลกร้อนโดยตรงนั้นเกิดจากการปล่อยก๊าซเรือนกระจกหลายแหล่งแต่ที่สำคัญคือ
ภาค- อุตสาหกรรม ภาคคมนาคมและขนส่งและภาคการผลิตพลังงาน
ซึ่งแหล่งเหล่านี้ล้วนดำเนินการเพื่อตอบสนองความต้องการของมนุษย์ทั้งสิ้น
ดังนั้น เมื่อมีความรู้ ความเข้าใจถึงสาเหตุของปัญหาโลกร้อนแล้ว
เราควรตระหนักร่วมกันในการแก้ปัญหา
ซึ่งคำขวัญวันสิ่งแวดล้อมโลกของประเทศไทยได้กำหนดเพื่อให้เหมาะสมและสอดคล้องชัดเจน
เพื่อให้คนไทยนำไปร่วมแก้ปัญหาโลกร้อน คือ “หยุดโลกร้อนด้วยชีวิตพอเพียง”
ซึ่งจะเห็นได้ว่าการดำเนินชีวิตพอเพียงตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ได้พระราชทานให้แก่ปวงชนชาวไทยนั้น
สามารถน้อมนำไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ได้ทั้งในระดับบุคคล ชุมชน ประเทศและโลก
ในการแก้ปัญหาโลกร้อน “หยุดโลกร้อนด้วยชีวิตพอเพียง”
นั้นทุกคนสามารถมีส่วนร่วมได้โดยการช่วยกันปลูกต้นไม้เพื่อเพิ่มพื้นที่สีเขียวและดูแลต้นไม้รวมทั้งช่วยกันดูแลรักษาป่าไม้ไม่ให้ถูกทำลายไปมากกว่านี้
และร่วมกันลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกด้วยการลดใช้พลังงานโดยตรงและโดยอ้อม ดังนี้
ลดใช้พลังงานภายในบ้านซึ่งเป็นเรื่องใกล้ตัวและเป็นชีวิตประจำวัน โดยการพาครอบครัวเข้าเป็นสมาชิกโครงการพลังงานหารสองอย่างจริงจังและได้ผลยั่งยืน ซึ่งจะทำให้การใช้พลังงานภายในบ้านเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพไม่เกิดการสูญเปล่าของพลังงาน ได้แก่ การปิดโทรทัศน์ วิทยุ คอมพิวเตอร์และเครื่องใช้ไฟฟ้าต่าง ๆ เมื่อเลิกใช้งาน ด้วยการท่องคาถาว่า “ ไม่ใช้...ปิด ” ซึ่งการประหยัดพลังงานไฟฟ้าโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ประเทศไทยของเราโรงไฟฟ้าส่วนใหญ่เป็นโรงไฟฟ้าพลังความร้อนจากการเผาไหม้ของเชื้อเพลิง ซึ่งปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จำนวนมหาศาลต่อปี ดังนั้นการลดใช้พลังงานไฟฟ้าจึงช่วยให้ลดกำลังการผลิตและชะลอการสร้างโรงไฟฟ้าเพิ่มได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการลดใช้เครื่องปรับอากาศซึ่งเป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าที่กินไฟมากที่สุดและเมื่อเกิดภาวะโลกร้อนก็เป็นความจำเป็นมากที่ต้องใช้ ดังนั้นจึงควรต้องมีความรู้ในการใช้เครื่องปรับอากาศอย่างมีประสิทธิภาพและต้องตระหนักร่วมกันว่าควรเปิดที่อุณหภูมิ 25 ํC หรือมากกว่า 25 ํC เพียงแค่ดับความร้อนและรู้สึกสบายโดยไม่ต้องทนทุกข์จากความร้อน
เมื่อออกจากบ้านการใช้รถยนต์ควรปฏิบัติตามคำแนะนำต่าง ๆ ที่มีการรณรงค์ตลอดมาแต่ไม่ค่อยได้ผลมากนัก เช่นการใช้ความเร็วไม่เกิน 90 กม. / ชั่วโมง ซึ่งคนไทยยังมีนิสัยขับรถเร็ว ซึ่งนอกจากสิ้นเปลืองน้ำมันแล้วยังมีโอกาสการเกิดอุบัติเหตุสูงด้วย เมื่อเกิดวิกฤตการณ์น้ำมันแพงร่วมกับภาวะโลกร้อน น่าจะกระตุ้นให้ทุกคนเต็มใจที่จะประหยัดน้ำมัน ดังนั้นพลังของทุกคนช่วยหยุดโลกร้อนได้ด้วยชีวิตพอเพียง ซึ่งไม่มีผลทำให้วิถีชีวิตของทุกคนเดือดร้อน
นอกจากนี้ยังมีวิธีอื่น ๆ อีกที่สามารถช่วยลดปัญหาโลกร้อนได้ เช่น การเลือกซื้อสินค้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างคุ้มค่าและการคัดแยกขยะ เป็นต้น จะเห็นได้ว่า เราทุกคนสามารถร่วมมือกัน “ หยุดโลกร้อนด้วยชีวิตพอเพียง ” ได้ด้วยวิธีง่าย ๆ ทำให้มีความหวังว่า โลกของเราจะผ่านพ้นวิกฤตจากมหันตภัยโลกร้อนได้ โดยทุกคนลงมือทำทันทีอย่างมุ่งมั่นและถือว่าเป็นหน้าที่ที่ต้องทำเพื่อโลกที่เราอาศัยอยู่และเพื่อลูกหลานที่รักของเรา “ ทุกคนมีความรู้ ทุกคนได้รับผลกระทบ รู้แล้วทำไมไม่นำมาปฏิบัติ ”
สาเหตุการเกิดมลภาวะโลกร้อน
เศรษฐกิจและการเงินโลกกับภาวะโลกร้อน
โลกร้อน สาเหตุ 10 ปรากฏการณ์ประหลาด
ภาวะโลกร้อน ผลกระทบต่อระดับน้ำทะเลขึ้นสูง
ภาวะโลกร้อนกับชีวิตพอเพียง
ภาวะโลกร้อนกับการประมง
ฟันฉลาม ไขปริศนาภาวะโลกร้อน
ถุงพลาสติกกับภาวะโลกร้อน
หลอดตะเกียบ ประหยัดไฟลดภัยโลกร้อน
กินอาหารลดโลกร้อน
80
วิธีลดภาวะโลกร้อน
10 ข้อ ใกล้ตัวลดโลกร้อน
ฉลากคาร์บอน
ผลกระทบจากภาวะโลกร้อนที่มีต่อเกษตรไทย
ประเทศไทยกับภาวะโลกร้อน
เตรียมรับมือกับภาวะโลกร้อน