สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมือง เศรษฐศาสตร์ >>
เศรษฐกิจและการเงินโลก กับ ภาวะโลกร้อน
ในปัจจุบันผู้คนจำนวนมากกำลังตื่นตัวกับภาวะโลกร้อน (global
warming)
กันเป็นอย่างมากเนื่องจากเรื่องนี้เป็นปัญหาใหญ่ที่กระทบต่อทุกประเทศทั่วโลก
ปรากฎการณ์การโลกร้อน หรือ สภาวะโลกร้อน (global warming) คือ
ปรากฎการณ์ที่อุณหภูมิเฉลี่ยของผิวโลกและผืนมหาสมุทรสูงขึ้น
โดยมีก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และ ก๊าซเรือนกระจกอื่นๆ
เป็นตัวการกักเก็บความร้อนจากแสงอาทิตย์ไว้ไม่ให้คายออกไปสู่บรรยากาศ
ส่วนสาเหตุของโลกร้อนก็มาจาก
มนุษย์เป็นหลักเพราะการใช้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งมาจากการเผาไหม้ของเชื้อเพลิง
เช่น เครื่องยนต์ของรถยนต์ และการใช้ก๊าซเรือนกระจก เช่น สารทำความเย็นในตู้เย็น
ซึ่งก๊าซเหล่านี้โดยความเป็นจริงก็มีอยู่ในชั้นบรรยากาศโลกอยู่แล้ว
ทำหน้าที่คอยควบคุมอุณหภูมิของโลกเราให้คงที่
แต่ในปัจจุบันได้มีการเพิ่มขึ้นของก๊าซเหล่านี้มากเกินไป
จนทำให้ความร้อนไม่สามารถออกไปจากโลกได้
สาเหตุที่นำมาสู่การเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิโลก ภูมิอากาศ ปริมาณน้ำฝน
ระดับน้ำทะเล จนในที่สุดก็เกิดผลกระทบต่อมนุษย์ สัตว์ และ พืชในที่สุด
จากสภาวะโลกร้อนที่ทำให้น้ำแข็งขั้วโลกละลาย
ระดับน้ำทะเลสูงขึ้นสิ่งเหล่านี้มีส่วนในการเปลี่ยนแปลงระบบนิเวศ
ทำให้บางพื้นที่น้ำท่วม บางพื้นที่แห้งแล้ง สิ่งเหล่านี้ล้วนมีผลให้ผลิตภาพการผลิต
(productivity) ของโลกลดลง โลกจนขาดแคลนอาหารเนื่องจากความผันผวนของสภาพอากาศ
ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบอาชีพเกษตรกรรมทั่วโลก
และจากภาวะที่กระทบต่อสุขภาพของมนุษย์และสภาพแวดล้อมของโลก
จะทำให้โลกต้องใช้เงินจำนวนมากในเพื่อป้องกัน และแก้ไขแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น
ทั้งนี้ภาวะโลกร้อนยังเอื้อประโยชน์ต่อเศรษฐกิจของประเทศร่ำรวย กล่าวคือ
กระแสที่ให้ความสนใจของสิ่งแวดล้อมที่มากขึ้นทำให้ธุรกิจที่เป็นอยู่ต้องปรับเปลี่ยนให้เข้ากับสภาพแวดล้อมมากขึ้น
เช่น รถยนต์พลังงานแสงอาทิตย์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
การใช้พลังงานสะอาดอย่างอื่น เช่น พลังงานหมุนเวียน ได้แก่ พลังงานชีวมวล
พลังงานน้ำ พลังงานลม พลังงานแสงอาทิตย์ที่เป็นมิตรกับโลกแทนการใช้น้ำมันปิโตรเลียม
สิ่งเหล่านี้เป็นนวัตกรรมใหม่ที่มีต้นทุนสูงการค้นคว้า ทดลอง วิจัยต่างๆมากมาย
สิ่งเหล่านี้ทำให้ประเทศที่มีทุนน้อยกว่าสู้ไม่ได้
โลกร้อนยังมีผลต่อทิศทางการเงินของโลก
โดยธนาคารโลกได้ออกโครงการวางแผนจัดสรรเงินจำนวน 250 ล้านดอลลาร์ให้กับ อินโดนีเซีย
บราซิล และสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก้เพื่อให้หลีกเลี่ยงการตัดไม้ทำลายป่า
ที่เป็นตัวการสำคัญในการแพร่กระจายของก๊าวคาร์บอนไดออกไซด์
โดยธนาคารกลางจะประสานงานกับรัฐบาลประเทศเป้าหมาย
ชุมชนท้องถิ่นในการติดตามโครงการและสร้างความมั่นใจว่าเงินสนับสนุนนี้จะลงไปถิ่นพื้นที่
และก่อนหน้านี้แบงค์ ออฟ
อเมริกาและซิตี้กรุ๊ปได้จัดทำโครงการเงินกู้เพื่อต่อสู้โลกร้อนออกมาเช่นเดียวกัน
แต่จากโครงการนี้อีกนัยหนึ่งก็เหมือนต้องการกระตุ้นเศรษฐกิจของสหรัฐไปในตัวอีกด้วย
แม้แต่บริษัทต่างๆก็หันมาอินเทรนด์การรักษาและปรับปรุงสภาพแวดล้อมที่กำลังมาแรงโดยออกกลยุทธ์ให้สอดคล้องกับการเป็นองค์กรสีเขียวเพื่อสร้างภาพลักษณ์
เช่น บริษัท บริติช เทเลคอม และบริษัทดูปองท์ ทุ่มงบประมาณ 11
พันล้านดอลล่าร์ในการลดการใช้พลังงานสิ้นเปลืองหันมาให้ความสำคัญกับพลังงานแสงอาทิตย์แทน
การลงนามในพิธีสารโตเกียว (Kyoto protocol) ของบรรดาประเทศสมาชิก
ซึ่งมีผลบังคับใช้ เมื่อ 16 กุมภาพันธ์ 2549
เพื่อหาแนวทางร่วมกันในการลดการปล่อยก๊าซต่างๆที่มีผลทำให้โลกร้อน
จากตัวอย่างที่กล่าวมานี้แสดงให้เห็นว่าโลกได้มีการตื่นตัวกับภาวะโลกร้อนกันมากขึ้น
แต่อย่างไรก็ตามมีนักวิทยาศาสตร์อีกกลุ่มที่ออกมากล่าวว่าโลกร้อนเป็นปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้นมานานแล้วครั้งล่าสุดเกิดเมื่อ
18,000 ปีก่อน ช่วงที่โลกกำลังก้าวผ่านยุคPleistocene Ice Age
ซึ่งเป็นเวลาที่ดินแดนส่วนใหญ่ของทวีปอเมริกาเหนือ ยุโรปและเอเชีย
ถูกปกคลุมไปด้วยน้ำแข็ง
ซึ่งปัจจุบันที่เป็นอยู่เป็นช่วงเว้นว่างจากยุคน้ำแข็งชั่วคราว
ซึ่งในความเป็นจริงทุก 100,000 ปี อากาศของโลกจะอุ่นขึ้นระยะหนึ่ง
นักวิทยาศาสตร์เรียกช่วงนี้ว่า Interglacier periods
ซึ่งจะเกิดก่อนที่สภาพอากาศจะหวนกลับเข้าไปสู่ยุคน้ำแข็งอีกครั้ง
การออกมารณรงค์เรื่องสิ่งแวดล้อม
บางทีดูจะเป็นการออกมาอ้างเพื่อเป็นข้อกีดกันกีดกันทางการค้าโดยมีนัยแอบแฝง
เนื่องจากในขณะที่ประเทศที่กำลังพัฒนาต้องผลิตสินค้าโดยมีข้อกำหนดกฎเกณฑ์มากมาย
ขณะที่ประเทศพัฒนาที่มีอำนาจต่อรองสูงกลับขายสินค้าได้อย่างสบาย
เพราะประเทศกำลังพัฒนามีกฎระเบียบ มาตราฐานในเรื่องนี้น้อยมาก
ประกอบกับเทคโนโลยีการตรวจสอบที่ไม่ทันสมัย ตามทันไม่ทันประเทศที่พัฒนาแล้ว
ท้ายที่สุดแล้วประเทศจนก็เป็นผู้ได้รับผลกระทบมากที่สุด
ทั้งที่เป็นคนทำให้เกิดภาวะโลกร้อนน้อยที่สุด
สาเหตุการเกิดมลภาวะโลกร้อน
เศรษฐกิจและการเงินโลกกับภาวะโลกร้อน
โลกร้อน สาเหตุ 10 ปรากฏการณ์ประหลาด
ภาวะโลกร้อน
ผลกระทบต่อระดับน้ำทะเลขึ้นสูง
ภาวะโลกร้อนกับชีวิตพอเพียง
ภาวะโลกร้อนกับการประมง
ฟันฉลาม ไขปริศนาภาวะโลกร้อน
ถุงพลาสติกกับภาวะโลกร้อน
หลอดตะเกียบ ประหยัดไฟลดภัยโลกร้อน
กินอาหารลดโลกร้อน
80
วิธีลดภาวะโลกร้อน
10 ข้อ ใกล้ตัวลดโลกร้อน
ฉลากคาร์บอน
ผลกระทบจากภาวะโลกร้อนที่มีต่อเกษตรไทย
ประเทศไทยกับภาวะโลกร้อน
เตรียมรับมือกับภาวะโลกร้อน