วิทยาศาสตร์ ดาราศาสตร์ ฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา >>
ประเทศไทยกับภาวะโลกร้อน
การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) ตามกรอบอนุสัญญาสหประชาชติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (United Nation Framework Convention on Climate Change : UNFCCC) คือ การเปลี่ยนแปลงใดๆ ของอากาศซึ่งเกิดจากกิจกรรมของมนุษย์ทั้งทางตรงและทางอ้อม อันทำให้ส่วนประกอบของบรรยากาศโลกเปลี่ยนแปลงไป นอกเหนือจากการเปลี่ยนแปลงโดยธรรมชาติในช่วงเวลาเดียวกัน
สาเหตุ
ปรากฏการณ์เรือนกระจก
นับเป็นสาเหตุพื้นฐานของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลก
โดยที่โลกมีระบบควบคุมอุณหภูมิของสภาพบรรยากาศอยู่แล้ว
โดยรังสีจากดวงอาทิตย์จะแผ่เข้าสู่ชั้นบรรยากาศและให้ความร้อนแก่โลก
พลังงานบางส่วนทำให้โลกอบอุ่น ก่อนจะถูกแผ่กลับออกห้วงอวกาศในรูปรังสีอินฟราเรด
โดยในภาวะปกติรังสีอินฟราเรดที่ถูกแผ่ออกไปบางส่วนจะถูกชั้นบรรยากาศของโลกกักเก็บไว้ตามธรรมชาติ
ซึ่งจะช่วยให้อุณหภูมิของโลกอยู่ในระดับพอเหมาะ
ปัญหา
โลกกำลังเผชิญกับปัญหาที่ชั้นบรรยากาศของโลกกลับหนาขึ้น
เนื่องจากก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และก๊าซเรือนกระจกอื่น ๆ ที่มนุษย์เป็นผู้ก่อ
เมื่อชั้นบรรยากาศหนาขึ้น จะกักเก็บรังสีอินฟราเรดซึ่งควรจะหลุดลอดไปสู่ห้วงอวกาศ
ผลที่ตามมา คืออุณหภูมิของบรรยากาศโลก และมหาสมุทร
กลับอุ่นขึ้นจนอยู่ในระดับอันตราย
สถานการณ์ภาวะโลกร้อน (Climate Change 2007 : Synthesis Report IPCC4th
Assessment )
ภาวะโลกร้อนส่งผลให้โลกมีอุณหภูมิสูงขึ้น โดยในช่วงสิบปีที่ผ่านมา พ.ศ.
2538 2549 เป็นปีที่ร้อนที่สุดเท่าที่เคยบันทึกได้ตั้งแต่ พ.ศ. 2539
และเกิดเหตุการณ์น้ำแข็งขั้วโลกละลายระดับน้ำทะเลสูงขึ้น
รวมทั้งเกิดภัยธรรมชาติรุนแรงจากเหตุการณ์เปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศไปทั่วโลก เช่น
เฮอริเคน ไต้ฝุ่น โคลนถล่ม ภัยแล้ง และน้ำท่วม ในทั่วภูมิภาคเอเชียและอเมริกากลาง
ในขณะที่ทวีปยุโรปต้องเผชิญกับคลื่นความร้อนรุนแรงขึ้น
ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความอ่อนไหวของกลไกธรรมชาติของโลกที่นับวันจะมีความรุนแรงมากขึ้นเรื่อย
ๆ
จากสถานการณ์โลกร้อน
จะส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตและการพัฒนาเศรษฐกิจสังคมของมนุษย์ในหลายด้าน (IPCC, 2002)
คือ
- ผลกระทบต่อความมั่นคงของแหล่งอาหารและน้ำจืด ผลผลิตทั้งปริมาณและคุณภาพทางการเกษตร ปศุสัตว์และการประมงลดลง
- ผลกระทบต่อระบบนิเวศน์และความหลากหลายทางชีวภาพ พืชและสัตว์บางชนิดสูญพันธ์ มีผลต่อสมดุลระบบนิเวศน์
- ผลกระทบต่อการอพยพถิ่นฐานของประชากรโลกเนื่องจากภัยธรรมชาติ เช่น น้ำท่วม ความแห้งแล้ง และความขัดแย้งจากการขาดแคลนอาหารเพื่อแย่งหาแหล่งน้ำและพื้นที่ทำกิน
- ผลกระทบต่อสุขภาพอนามัย การแพร่ระบาดของโรคต่าง ๆ เจ็บป่วยจากอุณหภูมิสูง และเครียดจากการปรับตัวทางเศรษฐกิจและสังคม และภัยธรรมชาติที่เกิดบ่อย
แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของโลกต่อภาวะโลกร้อน
ปัจจุบันการรับรู้และทัศนคติของสาธารณชนในความห่วงใยต่อสาเหตุและความสำคัญของปรากฏการณ์โลกร้อนมีมากขึ้น
และการค้นพบทางวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับปรากฏการณ์โลกร้อนที่เพิ่มมากขึ้นทำให้ชาติต่าง
ๆ รวมทั้งชุมชนและองค์การในภูมิภาคต่าง ๆ
เริ่มปฏิบัติการเพื่อหยุดการร้อนขึ้นของโลก
ข้อตกลงอันกับต้นของโลกว่าด้วยการต่อสู้เพื่อลดก๊าซเรือนกระจกคือ
พิธีสารเกียวโต (Kyoto Protocal)
ซึ่งเป็นกฏหมายระหว่างประเทศเพื่อให้เกิดพันธกรณีที่จะทำให้การลดก๊าซเรือนกระจกเป็นจริงในทางปฏิบัติมากขึ้นจากอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
(UNFCCC) โดยได้เจรจาต่อรองและตกลงกันเมื่อปี พ.ศ. 2540
ปัจจุบันพิธีสารดังกล่าวครอบคลุมประเทศ ต่าง ๆ ทั่วโลกมากกว่า 160
ประเทศและรวมปริมาณการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากกว่า 65 % ของทั้งโลก
หลักการสำคัญของพิธีสารฯ
ใช้หลักการรับผิดชอบโดยแบ่งกลุ่มประเทศตามระดับแตกต่างกันทั้งจากปัจจัยเกี่ยวกับฐานะทางเศรษฐกิจ
และสัดส่วนการปล่อยก๊าซเรือนกระจกกล่าวคือ
ประเทศอุตสาหกรรมต้องเป็นผู้นำในการต่อสู้กับปัญหา
และประเทศกำลังพัฒนาดำเนินการตามกำลังและความสามารถ
นโยบายและข้อตกลงในการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก คือให้ประเทศที่พัฒนาแล้ว (43 ประเทศ)
มีพันธกรณีที่ต้องลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกตามอนุสัญญาฯ
ในขณะที่ประเทศกำลังพัฒนาอื่น ๆ (เช่น ASEAN จีน อินเดีย)
ไม่มีพันธกรณีในการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก ทำให้สหรัฐฯ
ใช้อ้างเป็นเหตุผลที่ยังไม่ยอมให้สัตยาบันในพิธีสารดังกล่าว ทั้งที่สหรัฐฯ
เป็นประเทศที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากที่สุดในโลก (IPCC.2002)
สหรัฐฯ
ให้เหตุผลว่าจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจอย่างรุนแรงเพราะยังมีการยกเว้นให้ประเทศอื่น ๆ
ในโลกมากกว่าร้อยละ 80 ของประเทศที่ลงนามทั้งหมด
รวมทั้งประเทศที่เป็นศูนย์รวมประชากรที่ใหญ่ที่สุดในโลกคือ จีน และอินเดีย
อย่างไรก็ดี ยังมีรัฐและรัฐบาลท้องถิ่นจำนวนมากในสหรัฐฯ
ที่ริเริ่มโครงการรณรงค์วางแนวปฏิบัติของตนเองให้เป็นไปตามพิธีสารเกียวโตตัวอย่างเช่น
การริเริ่มก๊าซเรือนกระจกภูมิภาค
ซึ่งเป็นโปรแกรมการหยุดและซื้อเครดิตการปล่อยก๊าซเรือนกระจกระดับรัฐ
นอกจากนี้
ประเด็นปัญหาการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศนำไปสู่การอภิปรายเกี่ยวกับกลุ่มประเทศเศรษฐกิจพัฒนาใหม่
(nowly developed economies) อย่างประเทศจีนและอินเดีย
ว่าควรบังคับระดับการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเท่าใด
โดยมีการคาดกันว่าการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์รวมของประเทศจีนจะสูงกว่าอัตราการปล่อยของสหรัฐฯ
ภายในไม่กี่ปีข้างหน้านี้
การเคลื่อนไหวของไทยต่อภาวะโลกร้อน
สถานการณ์ภาวะโลกร้อน ทำให้เกิดความแปรปรวนของภูมิอากาศ ฤดูกาล และปริมาณน้ำฝน ล้วนมีผลกระทบต่อประเทศไทยไม่ต่างจากประเทศอื่น ๆ ในโลก โดยสังเกตุได้จากภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้นในช่วงหลายปีที่ผ่านมาประเทศไทยมีทั้งภัยแล้ง พายุ และน้ำท่วม ผลกระทบจากภาวะโลกร้อนที่เห็นได้ชัดเจนในระยะสั้นแก่ประเทศไทยได้ก่อให้เกิดความเสียหายต่อผลผลิตทางการเกษตรจำนวนมาก โดยผลกระทบดังกล่าว อาจส่งผลต่อสถานะของไทยในการเป็นผู้ผลิตสินค้าเกษตรอันดับต้นของโลก รวมถึงการส่งเสริมยุทธศาสตร์การค้าครัวไทยสู่ครัวโลก
โดยเฉพาะพืชเศรษฐกิจสำคัญของไทย ได้แก่ ข้าว เนื่องจากมีรายงานการวิจัยจากสถาบันข้าวนานาชาติในประเทศจีนพบว่า อุณหภูมิที่สูงขึ้นในนาข้าวมีผลต่อละอองเรณูซึ่งอ่อนไหวต่ออุณหภูมิอย่างมาก ทำให้ผสมไม่ติดข้าว โดยในรวงข้าวไม่มีเมล็ด จากผลรายงานดังกล่าวย่อมมีผลต่อภาคการผลิตและการส่งออกข้าวของไทยในอนาคต หากปัญหาโลกร้อนทวีความรุนแรงมากขึ้น
ประเทศไทยได้ร่วมลงนามและให้สัตยาบันต่อพิธีสารเกียวโตเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ปี พ.ศ. 2542 และเดือนสิงหาคม ปี พ.ศ. 2545 ตามลำดับ พิธีสารดังกล่าวมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ แม้จะถูกจัดอยู่ในกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาตามบัญชีประเทศของอนุสัญญาฯ ที่ไม่มีพันธกรณีในการลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก แต่มีส่วนร่วมในการลดก๊าซเรือนกระจกผ่านกลไกการพัฒนาที่สะอาด (Clean Development Mechanism : CDM) ตามพิธีสาร ฯ ได้ ทั้งนี้สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้เริ่มวางแผนการดำเนินงานตามพิธีสาร ฯ ในการทำ CDM เพื่อให้ประเทศไทยได้ประโยชน์จากโครงการนี้ในหลายด้าน เช่น ก่อให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืนให้กับประเทศ มีการพัฒนาด้านเทคโนโลยีที่สะอาด และถ่ายทอดเทคโนโลยี และความรู้ด้านการจัดการ เพื่อลดก๊าซเรือนกระจกให้แพร่หลายในประเทศ เป็นต้น
ข้อเสนอแนะ
จากการศึกษาสถานการณ์ภาวะโลกร้อนข้างต้น แม้จะเป็นภัยคุกคามต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ แต่ในขณะเดียวกันประเทศไทยอาจสร้างโอกาสทางการค้าและการลงทุนในด้านต่าง ๆ จากภาวะโลกร้อนได้ โดยจะเชื่อมโยงโอกาสดังกล่าวตามการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ของกระทรวงพาณิชย์ ดังนี้
การผลิตสินค้าตามความต้องการของตลาด
- สร้างมูลค่าเพิ่มและสร้างความแตกต่างให้กับสินค้าไทยในตลาดต่างประเทศ
โดยพัฒนาสินค้า/เทคโนโลยีที่สามารถลดก๊าซเรือนกระจก
หรือสินค้าที่กระบวนการผลิตมีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกปริมาณน้อยลง
โดยครอบคลุมสินค้าตั้งแต่ของใช้สอยประจำวัน
จนถึงภาคอุตสาหกรรมและภาคอสังหาริมทรัพย์รวมทั้งภาคบริการที่เน้นกิจกรรมช่วยลดภาวะโลกร้อน
เป็นต้น
- เตรียมความพร้อมผู้ประกอบการไทยต่อการค้าระหว่างประเทศในอนาคตที่อาจมีการพัฒนาเงื่อนไขของการกีดกันการค้าที่เข้มงวดมากขึ้นในด้านสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะมาตรการป้องกันภาวะโลกร้อน โดยอาจระบุสินค้าที่จะนำเข้าประเทศนั้น ในกระบวนการผลิตต้องไม่มีส่วนในการทำลายชั้นบรรยากาศ หากผู้ประกอบการในประเทศไทยไม่สามารถปรับตัวให้เข้ากับมาตรฐานเหล่านี้ อาจสูญเสียโอกาสทางการตลาดของโลกได้
มุ่งพัฒนาตลาดสินค้าเกษตร
- สร้างเกราะป้องกันแก่สินค้าเกษตรไทยจากภาวะโลกร้อน
โดยประสานหน่วยงานภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้อง
ให้ตระหนักต่อผลกระทบของโลกร้อนต่อผลผลิตทางการเกษตรเพื่อกระตุ้นให้มีการวิจัยด้านการพัฒนาพันธุ์พืชเศรษฐกิจของไทยมากขึ้น
โดยเฉพาะพันธุ์ข้าว ให้มีความทนต่ออุณหภูมิสูง แต่ยังให้ผลผลิตที่ดีมีคุณภาพ
เพื่อประเทศไทยจะมีผลผลิตทางการเกษตรสนองตอบต่อความต้องการของตลาดในประเทศ
และสามารถรักษาตลาดส่งออกสินค้าเกษตร
แม้จะมีการแปรปรวนทางสภาพอากาศมากขึ้นในอนาคต
- ปัจจัยด้านสภาพภูมิอากาศมีอิทธิพลต่อผลผลิตทางการเกษตร การติดตามสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศของประเทศคู่แข่งทางด้านสินค้าเกษตร ควบคู่ตัวเลขชี้นำทางเศรษฐกิจอื่น ๆ ช่วยให้สามารถประเมินสถานการณ์อุปสงค์อุปทานของสินค้าเกษตรในตลาดโลก และกำหนดกลยุทธ์ทางการตลาดให้สอดคล้องกับสถานการณ์จริงมากขึ้น
เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันจากโครงการ กลไกการพัฒนาที่สะอาด
การใช้ประโยชน์จากโครงการกลไกการพัฒนาที่สะอาด (Clean Development Mechanism: CDM)
ตามพิธีสารเกียวโต
ซึ่งเป็นกลไกตามข้อตกลงเกียวโตที่ให้ประเทศพัฒนาแล้วสามารถดำเนินการลดปริมาณก๊าซเรือนกระจกในประเทศกำลังพัฒนา
และนำปริมาณก๊าซฯ
ที่ลดได้ไปคำนวณเป็นเครดิตของประเทศตนเองเพื่อบรรลุเป้าหมายตามพันธกรณี
ซึ่งประเทศไทยในฐานะประเทศกำลังพัฒนาจะได้รับประโยชน์ด้านการลงทุน เช่น
เทคโนโลยีพลังงานที่สะอาด การถ่ายทอดเทคโนโลยี การจ้างงาน และสิ่งแวดล้อมที่ดีขึ้น
สาเหตุการเกิดมลภาวะโลกร้อน
เศรษฐกิจและการเงินโลกกับภาวะโลกร้อน
โลกร้อน สาเหตุ 10 ปรากฏการณ์ประหลาด
ภาวะโลกร้อน
ผลกระทบต่อระดับน้ำทะเลขึ้นสูง
ภาวะโลกร้อนกับชีวิตพอเพียง
ภาวะโลกร้อนกับการประมง
ฟันฉลาม ไขปริศนาภาวะโลกร้อน
ถุงพลาสติกกับภาวะโลกร้อน
หลอดตะเกียบ ประหยัดไฟลดภัยโลกร้อน
กินอาหารลดโลกร้อน
80
วิธีลดภาวะโลกร้อน
10 ข้อ ใกล้ตัวลดโลกร้อน
ฉลากคาร์บอน
ผลกระทบจากภาวะโลกร้อนที่มีต่อเกษตรไทย
ประเทศไทยกับภาวะโลกร้อน
เตรียมรับมือกับภาวะโลกร้อน