สุขภาพ ความงาม อาหารและยา สมุนไพร สาระน่ารู้ >>

สมุนไพร

สมุนไพรน่ารู้

นายปิยะปัญญา ภู่ขวัญเมือง กรมชลประทาน

ประสพการณ์จากการนำการแพทย์แผนปัจจุบันมาใช้ในวงการร่วม 100 ปี และปัญหาวิกฤติเศรษฐกิจในปี 2540 ทำให้นักคิดกลุ่มหนึ่งเริ่มมองเห็นแนวทางในการปฏิรูปสาธารณสุข โดยการผสมผสานการแพทย์แผนปัจจุบัน เข้ากับภูมิปัญญาไทย เนื่องจากการแพทย์ 2 ระบบมีจุดแข็ง และจุดอ่อนแตกต่างกัน ซึ่งเห็นได้ชัดว่าการแพทย์ปัจจุบันแม่นยำ รวดเร็วและสิ้นเปลือง ส่วนการแพทย์แผนไทยสิ้นเปลืองน้อย ผสมผสานเข้ากับวัฒนธรรม รักษาเป็นองค์รวม โรคหายช้ากว่า แต่ยืนนานมั่นคงและไม่ทำลายทรัพยากรสิ่งแวดล้อม แนวทางการผสมผสานแพทย์ทั้ง 2 ระบบน่าจะเป็นได้ง่ายยิ่งขึ้นหากผู้ปฏิบัติเข้าใจในข้อดีข้อเสียของแต่ละระบบ และประยุกต์มาใช้ให้เหมาะสมกับสถานการณ์

ภูมิปัญญาไทยในที่นี้จะรวมถึงการแพทย์แผนโบราณหรือการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้าน ยาสมุนไพร และยาจากสมุนไพร ยาแผนโบราณ การนวดไทย รวมถึงการอบสมุนไพร การประคบ ฤาษีดัดตน และการกินอาหารไทย แต่จะไม่ร่วมถึงการฝังเข็ม การนวดฝ่าเท้า การอบรมเซาน่า การดึงหลัง(chiropractor) การกดจุดซึ่งได้เข้ามาผสมผสานในภายหลัง

การผสมผสานการแพทย์ทั้ง 2 ระบบคือ การเปิดคลินิกรักษาโดยให้การตรวจวินิจฉัยตามแผนตะวันตก แต่ใช้การวิเคราะห์ทางห้องทดลอง และเอ็กซเรย์แต่เพียงเล็กน้อยเท่าที่จำเป็น และการใช้ยา ทั้ง 2 อย่างคือ ยาจากเคมี หรือยาแผนปัจจุบัน กินยาสมุนไพร หรือยาจากสมุนไพร โดยเน้นหนักที่อย่างหลัง ประกอบกับนำการแนะนำเรื่องการกินอาหาร การออกกำลังกาย การฝึกสมาธิ มาให้คนไข้ได้รับทราบและปฏิบัติด้วย

ยาสมุนไพรที่ใช้รักษา แบ่งใช้ตามหมวดหมู่ของโรคและอาการดังนี้

ความดันโลหิตสูง

  • ขึ้นฉ่าย ต้นสด 60 กรัมต้มน้ำดื่ม

  • ขลู่ ต้นและใบแห้ง 15 - 20 กรัม ต้มน้ำดื่ม หรือผงชา 4 - 6 กรัม ชงน้ำ 250 ซีซี. ดื่มวันละ 3 เวลา

  • ดอกคำฝอย ดอกแห้ง 2 กรัมในถุงชา 1 - 2 ถุง ชงน้ำดื่มตลอดวัน

  • กระเทียม สะกัดแห้ง 2 แคปซูลต่อวัน

  • ระย่อม รากแห้งบดเป็นผง ใส่แคปซูลหรือคลุกน้ำผึ้ง 200 มิลลิกรัมต่อวัน

โรคข้อและรูมาติซั่ม

  • สะเดา ดอกและใบแห้งแคปซูล 500 มก. 2 แคปซูล วันละ 2 ครั้ง

  • เถาวัลย์เปรียง เถาแห้งบดเป็นผง แคปซูล 2 - 4 แคปซูลวันละ 1 - 2 ครั้ง

  • ไพล ใช้เหง้าสด ตำ คั้นน้ำถูกนวดหรือทำลูกประดมห่อรวมกัน เกลือ ใบเหงือกปลาหมอ พิมเสน

  • หญ้าหนวดแมว ใช้ใบแห้ง 4 กรัม ต้มน้ำ 75 ซีซี. ดื่มตลอดวัน

โรคระบบทางเดินอาหาร

  • เปล้าน้อย ใบอ่อนต้มน้ำดื่ม หรือยาเคลเนด 1 - 2 เม็ด วันละ 3 เวลาหลังอาหาร

  • ขมิ้นชัน พอแห้งแคปซูล 2 แคปซูล วันละ 3 ครั้งอาหาร

  • กล้วย ผงกล้วยดิบ 1 - 2 ซ้อนโต๊ะ ก่อนนอน โรงท้องผูก

  • มะขามแขก ฝักแห้งอัดเม็ด 500 มิลลิกรัม 2 - 4 แคปซูลก่อนนอน

  • เม็ดแมงลัก 2 ช้อนชา ใส่น้ำจนพองดื่มก่อนนอน

โรคติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบน (หวัด ไอ เจ็บคอ ภูมิแพ้)

  • ฟ้าทะลายโจรผง 350 มก. ขนาด 3 - 4 แคปซูลวันละ 3 ครั้ง

  • มะแว้งเครือ ผลสด 5 - 6 เม็ด เคี้ยวกลืน หรือยามะแว้งวันละ 1 - 3 เม็ดอม

  • หนุมานประสานกาย สด 1 ก้าน ใบต้มน้ำ 3 ถ้วยให้เหลือ 1 ถ้วย ดื่มวันละ 2 ครั้ง เพื่อขยายหลอดลม

  • ปีบ ดอกแห้ง 6 -7 ดอก เผาไฟสูดดมควันเพื่อขยายหลอดลม

โรคนิ่วโรคระบบทางเดินปัสสาวะ

  • หญ้าหนวดแมว ใบแห้ง 4 กรัม ต้มกับน้ำ 750 ซีซี. ดื่ม

  • กระเจี๊ยบแดง ผงแห้ง 5 แคปซูล วันละ 3 ครั้ง

  • ผักกาดน้ำ สดทั้งต้น 130 กรัม ต้มกับน้ำ 1 ลิตร ดื่มสัปดาห์ละ 2 ครั้ง

โรคเครียด นอนไม่หลับ

  • ขี้เหล็ก ใบแห้งอัดเม็ดแคปซูล 500 มก. 2 - 4 เม็ดก่อนนอน

  • สะเดา ใบแห้ง 500 มก. กิน 1 แคปซูลวันละ 2 ครั้ง ร่วมกับขี้เหล็ก

เสริมสร้างภูมิต้านทานของร่างกาย

  • หญ้าปักกิ่ง ทั้งต้นสด 7 ต้น ตำคั้นน้ำดื่มวันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น

  • ขมิ้นชัน 2 แคปซูลวันละ 3 ครั้ง หลังอาหาร

  • ฟ้าทะลายโจร 2 แคปซูลวันละ 3 ครั้ง หลังอาหาร

โรคผิวหนังไฟไหม้ น้ำร้อนลวก

  • ว่านหางจรเข้ วุ้นสด หรือครีมทาแผล

  • พญายอ หรือเสลดพังพอนตัวเมีย ครีมทาแผล เริม งูสวัด

  • บัวบก ครีมทาแผลเป็น แผลหลังผ่าตัด แผลเรื้อรัง

  • พลู เจลพลูทาผื่นคัน กลาก เกลื้อน

โรคหลอดเลือดสมอง

  • กระเทียม แคปซูลวันละ 2 แคปซูล

  • บัวบก เป็นอาหารหรือ 30 กรัม ตำคั้นน้ำดื่ม

  • แปะก๊วย สารสะกัด อัดเม็ด 40 มก. รับประทาน 1 เม็ดวันละ 1 - 2 ครั้ง

  • โสม วันละ 3 - 4 แว่น เคี้ยวกลืน

โรคเบาหวาน

  • บอระเพ็ด แคปซูล 500 มก. 2 แคปซูล วันละ 3 ครั้ง

  • มะระขี้นก ผลแห้งผง แคปซูล 500 มก. 2 แคปซูลวันละ 3 ครั้งพร้อมอาหาร


เพื่อรองรับการปฏิรูประบบสารณสุข เชื่อว่าในอนาคตจะมีโรงเรียนฝึกอบรมการแพทย์ผสม ผสาน มีการปลูกสมุนไพร การเก็บเกี่ยว การผลิตเป็นอาหารสุขภาพ และยาจากสมุนไพร การวิจัยทาง คลินิก และนำมาใช้รักษาอย่างครบวงจรในสถานพยาบาลทั่วไป ทั้งนี้ประชาชนซึ่งมีความรู้มากขึ้นจะ เป็นผู้แสวงหาทางเลือกในการรักษาตนเอง อย่างไรก็ตามรัฐต้องเป็นแกนนำ เป็นผู้ชี้นำและจัดหาการ แพทย์ที่ประชาชนต้องการที่มีคุณภาพ เชื่อถือได้ และรักษาโรคหายได้ให้แก่ประชาชน เพราะปัญหาการ แพทย์ที่ลึกซึ้งนั้นย่อมเป็นการยากลำบางที่ประชาชนจะเข้าใจให้หมด

อ้างอิง

“การรักษาผสมผสานการแพทย์แผนปัจจุบันกับภูมิปัญญาไทย”
โดย ศาสตราจารย์นายแพทย์วีระสิงห์ เมืองมั่น
บรรยายในที่ประชุม ชมรมร้านขายยาขอนแก่น โรงแรมโฆษะ ขอนแก่น
วันอาทิตย์ที่ 24 กันยายน 2543

» กานพลู

» สมุนไพรช่วยย่อยอาหาร

» หางไหลกำจัดศัตรูพืช

» สมุนไพรกำจัดไรฝุ่น

» สมุนไพรแก้ท้องผูก

» สมุนไพรน่ารู้

» สมุนไพรเพื่อความงาม

» สมุนไพรเพื่อวัยสูงอายุ

» สมุนไพรรักษาโรคแผลในกระเพาะอาหารและลำไส้

» สมุนไพรลดความอ้วน

» สมุนไพรใกล้ตัว

» สมุนไพรกับชีวิตประจำวัน

» สมุนไพรแก้อาการหวัด

» สมุนไพรรักษาน้ำกัดเท้า

» รางจืดสมุนไพรล้างพิษ

» สมุนไพรไทย ต้านโรคมะเร็ง

» สมุนไพรไล่แมลง

» ประโยชน์และโทษ สรรพคุณสมุนไพรจีน

» น้ำตะไคร้

» ทำยาอมสมุนไพร

» ลูกประคบสมุนไพร

» การแปรสภาพสมุนไพร

» สาระน่ารู้เกี่ยวกับสมุนไพร

» ยาสมุนไพร

» สมุนไพรพื้นบ้าน

» ชะคราม วัชพืชสมุนไพรต้านอนุมูลอิสระในป่าชายเลน

» บทบาทของพืชสมุนไพร

» มะรุม

» หญ้าปักกิ่ง

» สมุนไพรยอบ้าน

» สมุนไพรและเครื่องเทศ

» สะระแหน่

» มะระขี้นก

» สมุนไพรขิง

» แคลเซียมจากพืชสมุนไพร

» เคล็ดลับยาสมุนไพรรักษาโรค

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย