ศาสนา ลัทธิ ความเชื่อ นิกาย พิธีกรรม >>
จิตปรมัตถ์
เจตสิกปรมัตถ์
รูปปรมัตถ์
นิพพานปรมัตถ์
สงเคราะห์ปรมัตถธรรม 4
สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง
สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์
ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา
ขันธ์ 5
ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา
ธรรมทั้งปวง ได้แก่ปรมัตถธรรมทั้ง 4 คือ จิต เจตสิก รูป นิพพาน
ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา คือ ไม่ใช่ตัวตน ไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชา ของบุคคลใด
นิพพานเป็นปรมัตถธรรม เป็นธรรมที่มีจริง นิพพานไม่ใช่สังขารธรรม
เป็นวิสังขารธรรม คือ เป็นธรรมที่ไม่เกิด [ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค ญาณกถา ข้อ
28] ตรงกันข้ามกับสังขารธรรม สังขารธรรม คือธรรมที่เกิดขึ้น มีปัจจัยปรุงแต่ง
วิสังขารธรรมคือธรรมที่ไม่เกิดขึ้น ไม่มีปัจจัยปรุงแต่ง
นิพพาน เป็นอสังขตธรรม ไม่ใช่สังขตธรรม [อังคุตตรนิกาย อสังขตสูตร ข้อ 487]
สังขตธรรม คือธรรมที่เกิดดับ อสังขตธรรมคือธรรมที่ไม่เกิดดับ
นิพพานไม่มีปัจจัยจึงไม่เกิดดับ
- จิต เจตสิก รูป เป็นสังขารธรรม เป็นโลกียะ คำว่าโลกียะ หมายถึงแตกดับทำลาย ส่วนนิพพานเป็นวิสังขารธรรมเป็นโลกุตตระ คำว่า โลกุตตระ หมายถึง พ้นจากโลก
- นามธรรม (รู้อารมณ์) จิตปรมัตถ์ 89 หรือ 121, เจตสิกปรมัตถ์ 52 (สังขารธรรม สังขตธรรม)
- รูปธรรม รูปปรมัตถ์ 28 (สังขารธรรม สังขตธรรม)
- นามธรรม (ไม่รู้อารมณ์) นิพพานปรมัตถ์ (วิสังขารธรรม อสังขตธรรม)
[ธรรมสังคณีปกรณ์ นิกเขปกัณฑ์ ข้อ 844 วิภังคปกรณ์ ขันธวิภังค์ ข้อ 1]
นิพพานปรมัตถ์ อสังขตธรรม