สุขภาพ ความงาม อาหารและยา สมุนไพร สาระน่ารู้ >>
โรคกระเพาะ
โรคแผลในกระเพาะอาหาร หรือโรคกระเพาะ มีสาเหตุได้หลายประการ
และมีกลไกของพยายธิกำเนิดซับซ้อนมาก
สาเหตุที่สำคัญคือกรดและน้ำย่อยที่หลั่งออกมาในกระเพาะอาหาร
ไม่ว่ากรดนั้นจะมากน้อยเพียงใด ก็จะเป็นตัวทำลายเยื่อบุกระเพาะอาหาร
ร่วมกับมีความบกพร่องของเยื่อบุกระเพาะที่สร้างแนวต้านทานกรดได้ไม่ดี
นอกจากนี้ยังมีปัจจัยอื่นส่งเสริมให้เกิดแผลในกระเพาะอาหารได้อีก เช่น
ยาแอสไพริน ยารักษาโรคกระดูกอละข้ออักเสบ การสูบบุหรี่ ความเครียด อาหารรสเผ็ด
สุรา ซึ่งปัจัยเหล่านี้ทำให้เกิดการระคายต่อเยื่อบุกระเพาะอาหาร
เกิดการอักเสบเรื้อรัง นำไปสู่การเกิดแผลในกระเพาะ และแผลในลำไส้เล็กส่วนต้น
ปัจจุบันพบว่า เชื้อโรคเฮลิโคแบคเตอร์ ไพโลไร ซึ่งเป็นแบคทีเรียชนิดหนึ่ง
ในกระเพาะอาหารของคนปกติ มีบทบาทสำคัญโดยตรง
และถือเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดแผลในกระเพาะ และเชื้อนี้อาจทำให้แผลหายช้า
หรือทไให้แผลที่หายแล้วเกิดอีกได้
ยังเป็นปัจจัยเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งกระเพาะอาหารได้อีกด้วย
แผลในกระเพาะทักเกิดกับส่วนใดของกระเพาะ
โรคแผลในกระเพาะอาหารเป็นคำรวม หมายถึงแผลที่เกิดขึ้นในเยื่อบุทางเดินอาหาร
ส่วนที่สัมผัสน้ำย่อยของกระเพาะ อาหารที่มีกรดเป็นองค์ประกอบสำคัญ
จึงพบแผลตั้งแต่ส่วนล่างของหลอดอาหาร กระเพาะอาหาร และลำไส้เล็กส่วนต้น
ส่วนตำแหน่งที่พบแผลได้บ่อยคือกระเพาะอาหารส่วนปลาย และลำไส้เล็กส่วนต้น
ระหว่างรอยต่อกระเพาะอาหารกับลำไส้เล็กส่วนต้น พบได้บ่อยในทุกอายุตั้งแต่ 20-70 ปี
อาการสำคัญของโรคกระเพาะอาหาร
- ปวดหรือจุกแน่นท้องบริเวณใต้ลิ้นปี่ หรือหน้าท้องช่วงบน เป็นอาการที่พบบ่อยที่สุด มักเป็นเวลาท้องว่าง หรือหิว อาการจะไม่เป็นตลอดวัน
- อาการปวดแน่นท้อง มักจะบรรเทาด้วยอาหารหรือยาลดกรด ผู้ป่วยบางคนอาการจะปวดมากขึ้นหลังอาหาร โดยเฉพาะอาหารรสเผ็ดหรือเปรี้ยวจัด
- อาการปวดมักเป็นๆหายๆ มานานเป็นปี โดยมีช่วงเว้นปลอดอาการค่นข้างนาน เช่นปวดอยู่ 1-2 สัปดาห์ และหายไปเป็นเดือนจึงกลับมาปวดอีกก็ได้
- ปวดแน่นท้องตอนดึกหลังจากหลับไปแล้ว
- บางรายไม่มีอาการปวดท้อง แต่จะมีอาการแน่นท้อง หรือรู้สึกไม่สบายท้อง มักเป็นบริเวณใต้ลิ้นปี่ หรือกลางท้องรอบสะดือ มักจะมีท้องอืดร่วมด้วย โดยเฉพาะหลังอาหาร ผายลมจะดีขึ้น อาจจะคลื่นไส้ อาเจียน
- แม้จะมีอาการเรื้อรังเป็นปี สุขภาพโดยทั่วไปจะไม่ทรุดโทรม ไม่มีหนักลด ไม่ซีดลง
ภาวะแทรกซ้อนของโรคแผลในกระเพาะอาหาร
- ตกเลือดในกระเพาะอาหาร พบได้บ่อยที่สุด ผู้ป่วยจะมีอาเจียนเป็นเลือด ถ่ายดำเหลว หน้ามืด วิงเวียน เป็นลม
- กระเพาะอาหารทะลุ จะมีอาการปวดท้องช่วงบนเฉียบพลันรุนแรง หน้าท้องแข็งตึง กดเจ็บมาก
- กระเพาะอาหารอุดตัน จะกินได้น้อย อิ่มเร็ว อาเจียนหลังอาหาร เบื่ออาหาร น้ำหนักลด
หลักการรักษาโรคแผลในกระเพาะอาหาร
- กินอาหารอ่อน ย่อยง่าย
- กินอาหารจำนวนน้อยๆ แต่กินให้บ่อยมื้อ ไม่ควรกินอิ่มมากในแต่ละมื้อ
- หลีกเลี่ยงอาหารรสเผ็ดจัด เปรี้ยวจัด ของดอง น้ำอัดลม
- งดสูบบุหรี่ สุรา
- งดการใช้ยาแก้ปวดทุกชนิด และยารักษาโรคกระดูก ไขข้ออักเสบ
- ผ่อนคลายความเครียด วิตกกังวล พักผ่อนให้เพียงพอ
- กินยาลดกรด หรือยารักษาโรคกระเพาะ ติดต่อกันอย่างน้อย 4-8 สัปดาห์ รวมทั้งใช้ยากำจัดเชื้อ เฮลิโคแบคเตอร์ ไพโลไร ด้วย
- ถ้ามีอาการโรคแทรกซ้อน ปวดท้องรุนแรง หรือเบื่ออาหาร น้ำหนักลดลงมาก ควรรีบปรึกษาแพทย์
» โรคตับ
» โรคนิ่ว
» ปวดเข่า
» บุหรี่
» โรคตาแดง
» เบาหวาน
» การตรวจร่างกายด้วยคลื่นสะท้อนในสนามแม่เหล็ก
» การตรวจสมองด้วยเอ็กซ์เรย์คอมพิวเตอร์
» การตรวจร่างกายด้วยเอ็กซ์เรย์คอมพิวเตอร์
» ต้อหิน