สุขภาพ ความงาม อาหารและยา สมุนไพร สาระน่ารู้ >>
มะเร็งเต้านม
มะเร็งเต้านม พบบ่อยในหญิงไทยวัยตั้งแต่ 30 ปี ขึ้นไป นับเป็นอันดับสองรองจากมะเร็งปากมดลูก มักพบในหญิงที่ไม่มีบุตรหรือบุตรน้อย และมีประวัติครอบครัวเป็นมะเร็งเต้านม
ลักษณะของโรค
เริ่มด้วยการมีก้อนเล็กๆ ที่เต้านม มักไม่มีอาการเจ็บปวด บวมหรืออักเสบ
ก้อนจะโตขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้เต้านมมีลักษณะผิดไป บริเวณเต้านมมองดูหยาบและขรุขระ
ในบางรายเมื่อบีบหัวนมจะมีน้ำเหลืองหรือเลือดไหลซึม
มะเร็งเต้านมจะแพร่กระจายไปตามหลอดเลือดและน้ำเหลืองสู่อวัยวะอื่นๆ
มะเร็งเต้านมรักษาให้หายขาดได้ ถ้าพบในระยะเริ่มแรก
ปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งเต้านม
- อายุมากว่า 35 ปี
- เริ่มมีประจำเดือนครั้งแรกเมื่ออายุยังน้อย
- หมดประจำเดือนเมื่ออายุมาก
- ไม่มีบุตร หรือมีบุตรคนแรกเมื่ออายุมากกว่า 30 ปี
- มีญาติเป็นมะเร็งเต้านม ตั้งแต่ก่อนวัยหมดประจำเดือน
- ยาคุมกำเนิดและการรักษาด้วยฮอร์โมนทดแทนหลังวัยหมดประจำเดือน มีผลทำให้มีอัตราเสี่ยงเป็นมะเร็งเต้านมมากขึ้นกว่าคนปกติประมาณ 1.5 เท่า แต่พบว่าประโยชน์ของยาคุมกำเนิด และการักษาด้วยฮอร์โมนทดแทนมีมากกว่า เมื่อเทียบกับอัตราเสี่ยงการเกิดโรคมะเร็งเต้านม ที่เพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อย
การตรวจเต้านมอย่างง่ายๆด้วยตนเอง
1)
ตรวจในอ่างน้ำ
ใช้ปลายนิ้วมือาวงราบบนเต้านม คลำและเคลื่อนนิ้วมือในลักษณะคลึงเบาๆ
ให้ทั่วทุกส่วนของเต้านมทีละข้าง เพื่อค้นหาก้อนหรือเนื้อที่แข็งเป็นไต
2) ตรวจหน้ากระจก
ยืนตัวตรงแนบลำตัว แล้วยกแขนเหนือศรีษะ สังเกตลักษณะของเต้านมทั้งสองข้าง
การเคลื่อนยกแขนขึ้นนั้นสามารถมองเห็นความผิดปกติได้ง่าย
ยกมือเท้าเอว เอามือกดสะโพกแรงๆ เพื่อให้เกิดการเกร็งและหดตัวของกร้ามเนื้ออก แล้วสังเกตดูลักษณะผิดปกติ
3)
การตรวจในท่านอน
นอนราบยกมือข้างหนึ่งไว้ใต้ศรีษะ
แล้วใช้มือข้างหนึ่งตรวจคลำให้ทั่วทุกส่วนของเต้านมทีละข้าง
การตรวจเริ่มจากบริเวณส่วนนอก และเหนือสุดของเต้านม (จาก X ในภาพ) เวียนไปโดยรอบเต้านมเคลื่อนมือเข้ามาเป็นวงแคบเข้าจนถึงบรเวณเต้านม พยายามตรวจให้มั่วทุกส่วน
แล้วค่ยๆ บีบหัวนมโดยใช้นิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้ เพื่อสังเกตดูสิ่งผิดปกติ ซึ่งจะไหลออกมา
การตรวจเต้านมควรทำอย่างสม่ำเสมอ เดือนระครั้ง
ควรเลือกเวลาที่ว่างและเลือกสถานที่ที่ไม่มีผู้อื่นรบกวน
ห้องน้ำหรือห้องนอนนับเป็นสถานที่ที่เหมาะสม
แต่ควรมีกระจกเงาเพื่อให้การมองเห็นเต้านมอย่างชัดเจน
ระยะที่เหมาะสมในการตรวจคือ 1 สัปดาห์หลังหมดประจำเดือนแต่ละเดือน
ซึ่งในระยะเวลาดังกล่าวเต้านมจะมีลักษณะอ่อนตัวมากกว่าระยะอื่น
และถึงแม้จะเข้าสู่วัยหมดประจำเดือนแล้วก็ควรตรวจเต้านมอย่างสม่ำเสมอ
ประโยชน์ของการตรวจพบมะเร็งเต้านมระยะแรกเริ่มคือ
สามารถทำการวินิจฉัยได้ตั้งแต่มะเร็งยังมีขนาดเล็กและ
ยังไม่แพร่กระจายไปยังอวัยวะอื่นๆ เช่น ตับ ปอด กระดูก สมอง เป็นต้น
การรักษาอาจเป็นเพียงตัดเฉพาะก้อนมะเร็งออก ไม่ต้องทำการผ่าตัดทั้งเต้านม
และอาจจะรักษาให้หายขาดได้ การรอจนมีอาการโดยไม่เคยตรวจเช็คเต้านม
จะพบก้อนก็ต่อเมื่อก้อนมีขนาดใหญ่ ซึ่งการตรวจพบในระยะนี้
มะเร็งอาจจะแพร่กระจายไปยังอวัยวะอื่นๆแล้ว จนไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้
สิ่งผิดปกติที่จะต้องรีบปรึกษาแพทย์
1) พบก้อนหรือเนื้อที่เป็นไตแข็งผิดปกติ
2) มีน้ำเหลืองหรือเลือดไหลออกมาจากหัวนม
3) ผิวหนังบริเวณเต้านมมีรอยบุ๋ม
4) หัวนมถูกดึงรั้งจนผิดปกติ
5) เต้านมทั้งสองข้างไม่อยู่ในระดับเดียวกัน
6) ขนาดและรูปร่างต่างกันอย่างผิดปกติ
*****การตรวจพบความผิดปกติดังกล่าวควรรีบปรึกษาแพทย์ทันที
เพื่อการวินิจฉัยและการักษาที่รวดเร็ว
» โรคตับ
» โรคนิ่ว
» ปวดเข่า
» บุหรี่
» โรคตาแดง
» เบาหวาน
» การตรวจร่างกายด้วยคลื่นสะท้อนในสนามแม่เหล็ก
» การตรวจสมองด้วยเอ็กซ์เรย์คอมพิวเตอร์
» การตรวจร่างกายด้วยเอ็กซ์เรย์คอมพิวเตอร์
» ต้อหิน