สุขภาพ ความงาม อาหารและยา สมุนไพร สาระน่ารู้ >>
โรคเก๊าท์
"โรคเก๊าท์" เป็นอาการผิดปกติของร่างกาย ที่เนื่องมาจากการกิน ชนิดอิ่มหมีพีมันเกินไป กินดีอยู่ดีเกินไป และไม่ค่อยได้ออกกำลังกาย ส่วนใหญ่มักจะเกิดกับผู้ชาย ในวัยประมาณ 40 ปี แต่ถ้าเกิดกับผู้หญิง มักจะพบในผู้หญิงวัยหมดประจำเดือนแล้ว
สาเหตุของโรค
เกิดจากกระบวนการใช้ และขับถ่ายสารพวกพิวรีนของร่างกายผิดปกติไป
พิวรีนเป็นธาตุอาหารที่พบได้ในเนื้อสัตว์ ข้าวสาลี เครื่องในสัตว์ (ตับ ,
เซี่ยงจี้) เป็นต้น ซึ่งจะถูกย่อยจนกลายเป็นกรดยูริค
และจะขับออกมาพร้อมกับปัสสาวะ ในคนปกติกรดยูริค จะถูกสร้างขึ้นในอัตราช้า
พอที่ไตจะขับออกได้หมดทัน กับการสร้างขึ้นพอดี
สำหรับบางรายที่กรดยูริคถูกสร้างขึ้น แต่ไตทำหน้าที่ขับถ่ายออกมาได้ช้า
หรือเร็วก็ตาม จะทำให้เกิดการสะสม ของกรดยูริคมากขึ้นในร่างกาย
เป็นเหตุให้เกิดการเจ็บปวดอย่างรุนแรง ในข้อกระดูก หรือรอบๆ ข้อกระดูก
โรคนี้สามารถถ่ายทอดกันได้ทางกรรมพันธุ์
อาการของโรค
มีอาการปวด บวม แดง ร้อนตามข้อและเจ็บ อาจจะรุนแรงถึงขั้นเดินไม่ได้
อาการจะเป็นๆหายๆ ทิ้งช่วงระยะเป็นอาทิตย์ เป็นเดือน หรือเป็นปีก็ได้
อาการปวดอาจเป็นข้อเดียวหรือหลายข้อก็ได้ ข้อที่เป็นบ่อยเช่น ข้อเท้า
ข้อหัวแม่มือ หรือข้อเท้า นอกจากอาการปวดตามข้อแล้วอาจจะมี
อาการของนิ่วในทางเดินปัสสาวะได้ด้วย
การรักษา
โรคนี้เป็นแล้วรักษาให้หายขาดได้ยาก ต้องรับการรักษาไปตลอดชีวิต
ทั้งนี้เพราะเป็นโรคที่เกี่ยวกับพันธุกรรม วิธีจะช่วยได้ดีที่สุดคือ
พยายามปฎิบัติตามคำแนะนำของแพทย์และทานยาตามแพทย์สั่ง
ข้อพึงปฎิบัติ
เป็นที่น่าแปลกใจไม่น้อยที่ท่านสามารถจะอยู่เป็นปกติสุขได้
ถ้าเพียงแต่ท่านปฎิบัติตนกลางๆ อย่างพอสัณฐานประมาณ
เพื่อบรรเทาและควบคุมอาการของโรคเก๊าท์ ควรปฎิบัติดังนี้
- รับประทานอาหารตามปกติ และให้ร่างกายได้รับคุณค่าอาหารที่เพียงพอ ไม่ควรรับประทานอาหารมากหรือน้อยเกินไป ไม่ควรรับประทานอาหารที่แพทย์สั่งห้าม
- นอนหลับให้เพียงพอ การที่ร่างกายได้รับการพักผ่อนนอนหลับไม่เพียงพอ จะทำให้เกิดอาการโรคเก๊าท์ชนิดเฉียบพลันได้ง่าย
- สวมรองเท้าขนาดพอเหมาะ ความชอกช้ำที่ร่างกายได้รับ จากการสวมรองเท้าคับเกินไป จะเป็นสาเหตุของโรคเก๊าท์ชนิดเฉียบพลัน
- ควบคุมน้ำหนักของร่างกาย การรับน้ำหนักตัวมากเกินไป จะทำให้การรักษายุ่งยากซับซ้อนมาก และอาจทำให้อาการรุนแรงยิ่งขึ้น
- ควรดื่มน้ำมากๆ ผู้ป่วยมักจะมีก้อนนิ่วในเกิดขึ้นในไตได้ง่าย การดื่มน้ำมากๆ อย่างน้อยวันละ 8 แก้ว จะช่วยได้มากในเรื่องนี้
- ใช้ยาตามแพทย์สั่ง เมื่อจะเดินทางไกลควรนำยาติดตัวไปด้วย เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหายาหมด
- ควรแจ้งให้ศัลยแพทย์ทราบว่าท่านเป็นโรคเก๊าท์ ในกรณีที่ท่านจะได้รับการผ่าตัด แม้การผ่าตัดเล็กน้อย ก็อาจกระตุ้นให้เกิดอาการโรคเก๊าท์ชนิดเฉียบพลันได้
» โรคตับ
» โรคนิ่ว
» ปวดเข่า
» บุหรี่
» โรคตาแดง
» เบาหวาน
» การตรวจร่างกายด้วยคลื่นสะท้อนในสนามแม่เหล็ก
» การตรวจสมองด้วยเอ็กซ์เรย์คอมพิวเตอร์
» การตรวจร่างกายด้วยเอ็กซ์เรย์คอมพิวเตอร์
» ต้อหิน