สุขภาพ ความงาม อาหารและยา สมุนไพร สาระน่ารู้ >>
ความดันโลหิตสูง
ความดันโลหิตคือความดันโลหิตภายในหลอดเลือดแดง เกิดจากหัวใจบีบตัวนำเลือด เข้าหลอดเลือดต่างๆ ขณะหัวใจบีบตัวความดันโลหิตจะสูงขึ้น เรียกความดันขณะนี้ว่า ความดันขณะหัวใจบีบตัว ขณะหัวใจคลายตัวเลือดจากหลอดเลือดแดง จะไหลออกไปสู่อวัยวะต่างๆ ทำให้ความดันโลหิตลดต่ำลง เรียกความดันขณะนี้ว่า ความดันขณะหัวใจคลายตัว หน่วยที่ใช้วัดเป็นมิลลิเมตรปรอท (มม.ปรอท)
ค่าความดันโลหิตปกติ
ความดันโลหิตจะแปรผันไม่คงที่ การวัดความดันจึงวัดค่าขณะที่พักผ่อน การตื่นเต้น
ตกใจ ดีใจ หรือออกกำลังความดันโลหิตจะสูงขึ้น และลดต่ำขณะพักผ่อน หรือนอนหลับ
ค่าความดันจึงเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา แต่ไม่ควรสูงกว่า 140 / 90 มม.ปรอท
ค่าความดันจะสูงขึ้นเมื่ออายุมากขึ้น มีน้ำหนักตัวเกิน ดื่มสุรา และมีอารมณ์เครียด
โรคความดันโลหิตสูง
ค่าความดันที่วัดได้เกิน 140 / 90 มม.ปรอท ถือว่าสูงผิดปกติ และพบว่าสูงเกิน
160 / 95 มม.ปรอท เป็นระยะเวลานาน จะเกิดภยันตราย ทำให้หัวใจโต ไตเสื่อม
และสมองเสื่อม มีอาการแทรกซ้อนต่างๆ เช่น หัวใจวาย ไตวาย และอัมพาตสมองได้
ภายในเวลาไม่กี่ปี
ส่วนใหญ่ไม่มีอาการ
ข้อนี้สำคัญมาก เพราะท่านจะไม่ทราบว่าท่านมีโรคนี้ จนกว่าหัวใจ ไต
และสมองจะเกิดอาการแทรกซ้อน ซึ่งจะรักษาได้ยาก และไม่หายขาด
ควรตรวจวัดความดันโลหิต
เป็นวิธีเดียว ที่ท่านจะทราบค่าความดันโลหิต ว่าปกติ หรือผิดปกติ
ถ้าค่าปกติควรวัอความดันซ้ำปีละครั้ง เพราะผู้ที่มีความดันโลหิตปกติ
ไม่ได้หมายความว่า จะปกติไปตลอดชีวิต
ถ้าผิดปกติควรปรึกษาแพทย์ แพทย์จะวัดความดันซ้ำ หาสาเหตุ และแนะนำให้การรักษา
สาเหตุส่วนใหญ่จะเกิดจาก ระบบควบคุมความดันโลหิต ของร่างกายผิดปกติไป
และพบได้ในโรคไต โรคต่อมไร้ท่อบางชนิด
การรักษาโรคความดันโลหิตสูง
การปฎิบัติตนเพื่อป้องกัน หรือรักษาโรคความดันโลหิตสูง ได้แก่
ลดอาหารรสเค็มที่มีเกลือโซเดียม ถ้าอ้วนให้ลดน้ำหนัก ถ้าดื่มสุราให้งด
งดสูบบุหรี่ ออกกำลังกายที่เหมาะ ต่อสภาพร่างกายของท่าน
และติดตามการรักษาอย่างสม่ำเสมอ เมื่อแพทย์ให้ยาก็รับประทานตามกำหนด
และรายงานแพทย์ถ้ามีอาการ ยาที่ลดความดันมีหลากหลาย แพทย์จะเป็นผู้ปรับขนาด
และปรับชนิดของยา เพราะการรักษาเป็นแบบลางเนื้อชอบลางยา
การรักษาจะทำอย่างต่อเนื่อง เป็นระยะเวลายาวนาน
เพื่อป้องกันการเสื่อมของอวัยวะต่างๆ
» โรคตับ
» โรคนิ่ว
» ปวดเข่า
» บุหรี่
» โรคตาแดง
» เบาหวาน
» การตรวจร่างกายด้วยคลื่นสะท้อนในสนามแม่เหล็ก
» การตรวจสมองด้วยเอ็กซ์เรย์คอมพิวเตอร์
» การตรวจร่างกายด้วยเอ็กซ์เรย์คอมพิวเตอร์
» ต้อหิน