สุขภาพ ความงาม อาหารและยา สมุนไพร สาระน่ารู้ >>
ปวดเข่า
ปวดเข่า จากข้อเข่าเสื่อมคุณเคยมีอาการเหล่านี้หรือไม่?
- นั่งนานๆ แล้วลุกขึ้นจะมีอาการปวดรอบเข่า
- ขึ้นลงบันได แล้วมีอาการเสียว และปวดเข่า
- เดิน หรือยืนนานๆ มีอาการปวดเข่า หรือรู้สึกเข่าอ่อน ไม่มีกำลังเดินต่อไป
- บวมและร้อนๆ รอบเข่า ถ้าเป็นมากเวลาเดิน หรือยืนเข่าจะโก่งผิดรูป
ข้อเข่า
ทำหน้าที่เกี่ยวกับการเคลื่อนไหวของร่างกาย เช่น ยืน เดิน วิ่ง กระโดด
โดยจะรับน้ำหนัก ของร่างกายทั้งหมด รวมทั้งรับแรงกดจากการหดตัว ของกล้ามเนื้อรอบๆ
เข่าตลอดเวลา เมื่อมีการเคลื่อนไหวข้อเข่า ไม่ว่านั่ง ยืน เดิน
ก็ทำให้เกิดการเสียดสี ของกระดูกข้อเข่า ข้อเข่าจึงมีโอกาสเสื่อมสภาพ จะมากหรือน้อย
ขึ้นอยู่กับอายุ เพศ น้ำหนัก และการใช้งานของข้อเข่านั้นๆ
อายุ
ส่วนใหญ่เป็นในคนอายุ 40 ปีขึ้นไป แต่อายุน้อยกว่านี้ก็พบได้
ถ้าคนนั้นมีน้ำหนักมาก หรือมีประวัติการใช้ข้อเข่ามาก เช่น นักกีฬา เป็นต้น
เพศ
ส่วนใหญ่เป็นในผู้หญิงสูงอายุ ซึ่งปล่อยให้น้ำหนักตัวมากเกินไป และมักทำงาน
โดยต้องงอเข่าอยู่เป็นประจำ
น้ำหนัก
ส่วนใหญ่เป็นในคนอ้วน คนที่มีน้ำหนักเกินมาตรฐาน ซึ่งสามารถคำนวณคร่าวๆ
โดยเอาส่วนสูงลบด้วย 100 (ในผู้ชาย) หรือลบด้วย 110 (ในผู้หญิง)
เท่ากับน้ำหนักโดยเฉลี่ยในคนนั้นๆ
การใช้งาน
คนที่มีประวัติการใช้งานของข้อเข่ามากๆ หรือมีประวัติ การบาดเจ็บบริเวณเข่า
โดยเฉพาะนักกีฬา จะมีการเสื่อมได้เร็วกว่าคนทั่วๆ ไป
หลักการปฎิบัติตน ของผู้ที่มีอาการของโรคข้อเข่าเสื่อม
หรือเพื่อมิให้ข้อเข่าเสื่อมเร็วกว่าที่ควร
1. ลดน้ำหนักตัว ในกรณีที่อ้วนหรือระวังตัว ไม่ให้น้ำหนักมากเกินไป
อย่ากินจุกจิก กินอาหารเฉพาะที่มีประโยชน์
2. หลีกเลี่ยงการใช้เข่า ในท่าที่มีการกดของกระดูก ภายในเข่ามากๆ เช่น
นั่งคุกเข่า นั่งขัดสมาธิ นั่งพับเพียบ นั่งยองๆ การยืนนานๆ การยกของหนัก ฯลฯ
การขึ้นบันได คุกเข่าสวดมนต์ นั่งซักผ้า
3. การบริหารข้อเข่าให้แข็งแรง
การบริหารข้อเข่าอย่างสม่ำเสมอ จะช่วยให้กล้ามเนื้อรอบๆ ข้อเข่าแข็งแรง
ทำให้ข้อเข่ากระชับ เคลื่อนไหวได้ดี
ท่าที่ 1 นอนหงาย เหยียดเข่าตรงบนเตียง กดเข่าลง
พร้อมกับกระดกข้อเท้าขึ้น เกร็งไว้นับ 1-3 ช้าๆ แล้วปล่อย
ท่าที่ 2 นอนเหยียดหงาย เข่าตรง กระดกข้อเท้าขึ้น
ยกขาขึ้นมาพ้นพื้นตรงๆ ที่ละข้าง เกร็งค้างไว้นับช้าๆ
ท่าที่ 3 นั่งห้อยขาข้างเตียง หรือห้อยขาที่เก้าอี้
เหยียดเข่าตรงขึ้นมา เกร็งค้างไว้โดยทำทีละข้าง
ท่าที่ 4 ยืนตรงยกขาขึ้น โดยเข่าเหยียดตรง เกร็งค้างไว้
ข้อแนะนำสำหรับผู้ที่มีอาการปวดเข่า
1. ในระยะแรกควรพักข้อเข่าไว้ก่อน อย่าพึ่งลงน้ำหนักมากที่ข้อเข่า ข้างปวดนั้น
2. ใช้ผ้ายึดแบนเดจพันรอบๆ ข้อเข่าให้กระชับ จะช่วยลดการเสียดสีของข้อเข่าได้
3. เมื่ออาการปวดเข่าทุเลาลงแล้ว ให้เริ่มบริหารข้อเข่าโดยสม่ำเสมอ วันละ 2
เวลา คือ ก่อนนอน และตอนเช้า
4. ไม่ควรใช้เข่าอยู่ในท่าใดท่าหนึ่งนานๆ เช่น ยืนนานๆ
5. ปรึกษาแพทย์เมื่ออาการไม่ดีขึ้น
» โรคตับ
» โรคนิ่ว
» ปวดเข่า
» บุหรี่
» โรคตาแดง
» เบาหวาน
» การตรวจร่างกายด้วยคลื่นสะท้อนในสนามแม่เหล็ก
» การตรวจสมองด้วยเอ็กซ์เรย์คอมพิวเตอร์
» การตรวจร่างกายด้วยเอ็กซ์เรย์คอมพิวเตอร์
» ต้อหิน