สุขภาพ ความงาม อาหารและยา สมุนไพร สาระน่ารู้ >>

สาระน่ารู้เพื่อสุขภาพ

บุหรี่

             การสูบบุหรี่ เป็นปัญหาเกี่ยวกับ สุขภาพอนามัยที่สำคัญปัญหาหนึ่ง ของโลกในปัจจุบัน โรคภัยอันเกี่ยวเนื่องมาจากการสูบบุหรี่อาจบั่นทอน และลดอายุของผู้สูบบุหรี่โดยเฉลี่ยแล้ว 5-10 ปี

ส่วนผสมที่เป็นอันตรายในควันยาสูบ
                    ควันยาสูบมีส่วนผสมของสารต่างๆ มากกว่า 4,000 ชนิด ส่วนผสมเหล่านี้มากกว่า 30 ชนิด เป็นอันตรายต่อสุขภาพของมนุษย์ สารมากกว่า 10 ชนิด ทำให้เกิดมะเร็ง เช่น ทาร์ ฟินอล คริซอล และเบนโซไพรีน เป็นต้น อีก 10 กว่าชนิด เมื่อสูดเข้าไปจะเป็นพิษ และระคายเคือง ต่อหลอดลมและถุงลม ทำให้เกิดโรคหลอดลมอักเสบเรื้องรัง และถุงลมโป่งพอง

โรคต่างๆ ที่เกิดจากการสูบบุหรี่
               1. โรคมะเร็งปอด
                    เกิดจากสารพิษในบุหรี่ คือ "ทาร์" อัตราการตายด้วยโรคมะเร็งปอด ในผู้สูบบุหรี่ เมื่อเปรียบเทียบกับผู้ไม่สูบบุหรี่ มีอัตราส่วนสูงกว่าถึง 10:1 หากแพทย์ตรวจพบเชื้อในระยะแรก และได้รับการผ่าตัดเอาก้อนมะเร็งออกได้หมด จะยังมีโอกาสหายขาดได้ แต่ผู้ป่วยส่วนใหญ่ เมื่อมาพบแพทย์และวินิจฉัยได้ ระยะทำการรักษา หรือผ่าตัดให้หายขาดได้

               2. โรคหัวใจและหลอดเลือด
                    เกิดจากสารนิโคตินในบุหรี่ ซึ่งเป็นสารที่มีพิษและอันตราย ทำให้หัวใจ หลอดเลือด กระเพาะอาหาร ลำไส้ และระบบประสาททำงานผิดปกติ ทำให้ความดันเลือดเพิ่มขึ้น หัวใจเต้นเร็วขึ้น เกิดการระคายเคืองต่อกล้ามเนื้อหัวใจ และเกิดภาวะหลอดเลือดทั่วไปหดตัว อัตราการเป็นโรคหัวใจขาดเลือด ในชายที่สูบบุหรี่จะมีมากกว่าในชายที่ไม่สูบบุหรี่ ประมาณร้อยละ 60-70 และในหญิงที่สูบบุหรี่ ซึ่งรับประทานยาคุมกำเนิดด้วย จะมีโอกาสเป็นโรคนี้ มากกว่าหญิงที่ไม่สูบบุหรี่ และไม่รับประทานยาคุมกำเนิดถึง 10 เท่า นอกจากนี้การสูบบุหรี่ ยังทำให้เกิดหลอดเลือดใสสมองอุดตัน เป็นอัมพาต หลอดเลือดตามแขน ขา อุดตันเป็นแผลตามผิวหนัง จากการขาดเลือด และมีการสะสมของไขมัน ตามผนังของหลอดเลือด ขนาดกลางและใหญ่

               3. โรคหลอดลมอักเสบเรื้องรัง และถุงลมโป่งพอง
                    เป็นโรคที่พบบ่อยมากในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง และสาเหตุสำคัญที่สุด ของการเกิดโรคนี้ก็คือ การสูบบุหรี่ ผู้ป่วยจะมีอาการไอเรื้อรัง มีเสมหะ เหนื่อยง่าย เมื่อเป็นแล้วไม่มีทางที่แพทย์ จะรักษาให้หายขาดได้ เมื่อเป็นมากขึ้นจะทำอะไรไม่ไหว แม้จะอาบน้ำหรือหวีผมก็เหนื่อย ต้องดมอ๊อกซิเจน รอความตายอย่างทรมาน ในระยะสุดท้าย ถ้าเลิกสูบบุหรี่ได้อาจทำให้ดีขึ้น แต่ไม่หายขาด

               4. โรคแผลในกระเพาะอาหาร
                    ในปัจจุบันพบว่า มีผู้ที่เป็นโรคแผลในกระเพาะอาหาร มากขึ้นเป็น 2  เท่า ในพวกที่สูบบุหรี่ เพราะการสูบบุหรี่ ทำให้มีภาวะไม่สมดุลในการหลั่งของกรด และด่างในกระเพาะ

               5. ผลร้ายต่อเด็กในครรภ์และทารก
                    มารดาที่สูบบุหรี่ ระหว่างตั้งครรภ์มีผลต่อเด็กทารก คือ
               - ทารกเล็กกว่าปกติ และน้ำหนักตัวเด็ก เมื่อแรกเกิดต่ำกว่าเด็ก ที่มารดาไม่สูบบุหรี่
               - ระยะเวลาการตั้งครรภ์สั้นลง มีผลทำให้เด็กคลอดก่อนกำหนด และมีโอกาสเสียชีวิตได้มาก
               - อัตราการแท้งสูงขึ้น และค่อนข้างจะเรียนรู้ช้ากว่าปกติ
               - โอกาสที่จะเกิดโรคแทรกซ้อนระหว่างตั้งครรภ์ และคลอดบุตรเพิ่มขึ้น
               - มีความพิการแต่กำเนิด
               - การหลั่งน้ำนมจะลดคุณภาพของน้ำนม โดยมีสารเคมี ซึ่งไม่จำเป็นที่ต้องการไปสู่เด็ก

                    ดังนั้น การที่คนเราหายใจเอาควันบุหรี่ หรือสูดควันบุหรี่ อาจทำให้เกิดการระคายเคืองต่อตา และหลอดลม ทำให้น้ำตาไหล และไอได้ แต่ในปัจจุบันพบว่า ผู้ที่สูดควันบุหรี่เข้าไป ทำให้เกิดอันตรายเท่ากับผู้ที่สูบบุหรี่เอง และที่ร้ายกว่านั้น สูบบุหรี่ของบิดามารดาในบ้าน อาจทำให้ลูกที่สูดควันบุหรี่โดยไม่ตั้งใจ เกิดโรคทางปอด และสมรรถภาพปอดของเด็กเสื่อมได้

การเลิกบุหรี่
                    มิใช่เรื่องยากเกินความสามารถ หากมีความตั้งใจจริง ควรปฎิบัติดังนี้
               1. ตัดสินใจให้แน่วแน่ คือ " ควรงดทันที มิใช่ลด"
               2. พยามยามทำจิตใจให้แจ่มใสไม่เครียด
               3. พยายามนึกถึงผลเสียหรือโทษของบุหรี่
               4. ยึดมั่นสิ่งศักดิ์สิทธ์ที่นับถือ เพื่อเป็นสิ่งช่วยเสริมกำลัง

ข้อแนะนำในระหว่างการเลิกสูบบุหรี่
               1. ดื่มน้ำเปล่าวันละ 8-10 แก้ว ควรดื่มน้ำมากๆ จะช่วยกำจัดนิโคติน ออกจากร่างกาย
               2. งดน้ำชา กาแฟ และเครื่องดื่มที่มี "คาเฟอีน" ตลอดจนเครื่องดื่ม ที่มีแอลกอฮอล์ทุกชนิด
               3. ถ้ารู้สึกง่วงควรอาบน้ำ หรือใช้ผ้าชุบน้ำเย็นเช็ดหน้า จะทำให้รู้สึกสดชี่น
               4. อย่ารับประทานอาหาร ให้อิ่มจนเกินไปในระยะแรกของการเลิกสูบบุหรี่ หลีกเลี่ยงอาหารที่มีรสจัด
               5. รับประทานผักและผลไม้ให้มากขึ้น แทนอาหารที่รับประทานอยู่เป็นประจำ
               6. ออกกำลังกายให้เพียงพอ

» มะเร็งเต้านม

» โรคตับ

» ไวรัสตับอักเสบ บี

» กรรมพันธุ์กับภูมิแพ้

» ภูมิแพ้ไม่ใช่เรื่องธรรมดา

» โรคนิ่ว

» ความดันโลหิตสูง

» ปวดเข่า

» ไร้สมรรถภาพทางเพศ

» บุหรี่

» โรคหอบหืด

» โรคเก๊าท์

» โรคกระเพาะ

» โรคตาแดง

» เบาหวาน

» การตรวจร่างกายด้วยคลื่นสะท้อนในสนามแม่เหล็ก

» การตรวจสมองด้วยเอ็กซ์เรย์คอมพิวเตอร์

» การตรวจร่างกายด้วยเอ็กซ์เรย์คอมพิวเตอร์

» เมื่อฟันแท้หลุด

» ต้อหิน

» ท่อน้ำตาตันในเด็ก

» เลเซอร์ช่วยดวงตา

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย