สุขภาพ ความงาม อาหารและยา สมุนไพร สาระน่ารู้ >>
ไวรัสตับอักเสบ บี
ตับอักเสบ บี เป็นโรคที่เกิดจากไวรัสตับอักเสบชนิด บี ซึ่งพบได้มากในภูมิภาคนั้น ไวรัสจะเข้าทำลายตับ ซึ่งเป็นอวัยวะที่สำคัญของร่างกาย- โรคไวรัสตับอักเสบ บี ติดต่อได้อย่างไร
การติดต่อจะผ่านทางเลือดหรือน้ำหลั่งต่างๆ เช่น น้ำลาย น้ำอสุจิ หรือน้ำหลั่งในช่องคลอด ซึ่งต่างกับตับอักเสบ เอ ที่ติดต่อโดยการรับประทานหรือดื่ม - อาการของโรคไวรัสตับอักเสบ บี เป็นอย่างไร
อาการของโรคไวรัสตับอักเสบ บี จะเริ่มต้นคล้ายเป็นหวัด มีไข้ต่ำๆ เหนื่อย และอ่อนเพลีย บางรายจะเริ่มมีอาการดีซ่าน คือ ตัวเหลืองตาเหลือง สำหรับบางรายอาจไม่มีอาการที่รุนแรงและไม่รู้ตัวว่าได้รับเชื้อเข้าไปแล้ว - ทำไมคนหนุ่มสาวจึงมีความเสี่ยงสูง
จากข้อมูลพบว่า ผู้ป่วยด้วยโรคไวรัสตับอักเสบ บี ในวัยหนุ่มสาวสูงเป็น 3 เท่าของผู้ป่วยในเด็ก เหตุผลแม้ยังไม่ชัดเจน แต่พฤติกรรมของวัยรุ่นนำไปสู่โอกาสติดต่อที่สูงโดยที่ไม่รู้ตัว ทั้งนี้เนื่องจากผู้ที่เป็นพาหะสามารถแพร่กระจายโรคได้โดยไม่รู้ตัวเช่นกัน การแพร่กระจายมีโอกาสเกิดขึ้นได้ในชีวิตประจำวัน
- ทำไมตับอักเสบ บี ถึงอันตรายต่อคนหนุ่มสาว
ผู้ติดเชื้ออาจป่วยนานถึง 3-6 เดือน โดยเฉลี่ยอาจต้องนอนพักผ่อน 1-2 เดือน ซึ่งอาจจะกระทบต่อการเรียน การทำงาน บางรายอาจจะมีโอกาสกลายเป็นพาหะนำโรค กล่าวคือมีเชื้อไวรัสนี้อยู่ในเลือดและตับ โดยอาจจะมีอาการตับอักเสบเรื้อรัง หรืออาจไม่มีอาการ สามารถแพร่เชื้อให้คนอื่นต่อไปได้ ผู้ที่เป็นพาหะมีโอกาสเกิดโรคมะเร็งตับเรื้อรังและมะเร็งตับได้ - โรคตับอักเสบ บี รักษาได้หรือไม่
ในปัจจุบันยังไม่มียารักษา ที่เฉพาะเจาะจงต่อโรคนี้ - โรคไวรัสตับอักเสบ บี ป้องกันได้หรือไม่
ป้องกันได้โดยการหลีกเลี่ยง การสัมผัสทางเลือดและน้ำหลั่งต่างๆของร่างกาย ปัจจุบันมีวัคซีนที่ใช้ป้องกันโรคนั้ได้โดยตรง - การฉัดวัคซีน ทำอย่างไร
พบแพทย์เพื่อขอคำแนะนำในการฉีดวัคซีน แพทย์อาจแนะนำให้ตรวจเลือดก่อน เมื่อตรวจพบว่ายังไม่เคยได้รับเชื้อ และไม่มีภูมิคุ้มกัน ควรรับวัคซีน ปกติจะต้องฉีด 3 เข็ม เข็มแรกทันที เข็มสองห่างไป 1 เดือน และเข็มสามห่างเข็มแรก 6 เดือน เพื่อให้ได้ผลการป้องกันที่เพียงพอ การฉีดวัคซีนมีผลข้างเคียงอะไรบ้าง
ผลข้างเคียงของวัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบ บี ค่อนข้างต่ำ ส่วนใหญ่จะเป็นผลข้างเคียงบริเวณที่ฉีด เช่น บวมแดง ตึงบริเวณนั้น- ควรฉีดวัคซีนนี้ให้กับใคร เมื่อไร
เช่นเดียวกันกับวัคซีนป้องกันโรคอื่นๆ ควรป้องกันก่อนที่จะติดเชื้อเสียก่อน ดังนั้นควรฉีดวัคซีนในทารกหรือในเด็กกวัยรุ่น และผู้ใหญ่ที่ยังไม่เคยได้รับวัคซีน หรือไม่เคยติดเชื้อมาก่อน ปัจจุบันกระทรวงสาธารณสุขได้ฉัดวัคซีนนี้ให้แก่ทารกแรกเกิดทุกราย - เหตุใดคนหนุ่มสาวจึงควรฉีดวัค
เพราะวัยรุ่นเป็นคนกลุ่มที่มีโอกาสเสี่ยงต่อการติดโรคสูง อีกทั้งการหลีกเลี่ยงก็ทำได้ยาก ดังนั้นการป้องกันด้วยวัคซีนจึงเป็นการป้องกันที่คุ้มค่าและ ได้ผลดีที่สุด
โอกาสติดต่อโรค
สัมผัสถูกเลือดเมื่อเกิดอุบัติเหตุในเกมส์กีฬา
แม้จะเป็นแผลเล็กน้อยแต่ก็มีโอกาส (ผิวหนัง
ปกติเมื่อสัมผัสถูกเลือดที่มีเชื้ออยู่จะไม่ติดต่อ)
ใช้สิ่งของร่วมกัน โดยเฉพาะของมีคม เช่น กรรไกรตัดเล็บ ที่โกนหนวด แปรงสีฟัน เป็นต้น
ดื่มกินร่วมภาชนะเดียวกัน โอกาสติดต่อจะเกิดขึ้นเมื่อเชื้อที่อยู่ในน้ำลายเข้าสู่ช่องปากที่มีแผลอยู่
ทางเพศสัมพันธ์ ซึ่งเป็นโอกาสติดต่อโรคที่สูงมาก เพราะเชื้อจะผ่านเข้าสู่ผู้ที่ไม่มีภูมิคุ้นกันได้ง่าย และโอกาสจะสูงขึ้นในกลุ่มวัยรุ่นที่ชอบลองของใหม่
จากแม่ที่เป็นพาหะไปสู่ทารก
***ไวรัสตับอักเสบ บี มีการติดต่อที่คล้ายกับเอดส์ แต่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน
» โรคตับ
» โรคนิ่ว
» ปวดเข่า
» บุหรี่
» โรคตาแดง
» เบาหวาน
» การตรวจร่างกายด้วยคลื่นสะท้อนในสนามแม่เหล็ก
» การตรวจสมองด้วยเอ็กซ์เรย์คอมพิวเตอร์
» การตรวจร่างกายด้วยเอ็กซ์เรย์คอมพิวเตอร์
» ต้อหิน