ศาสนา ลัทธิ ความเชื่อ นิกาย พิธีกรรม >>

เต๋าแห่งฟิสิกส์

บทที่ 1 ฟิสิกส์สมัยใหม่
บทที่ 2 การรู้และการเห็น
บทที่ 3 พ้นภาษา
บทที่ 4 ฟิสิกส์แนวใหม่
บทที่ 5 ศาสนาฮินดู
บทที่ 6 พุทธศาสนา
บทที่ 7 ปรัชญาจีน
บทที่ 8 ลัทธิเต๋า
บทที่ 9 นิกายเซน
บทที่ 10 เอกภาพแห่งสรรพสิ่ง
บทที่ 11 เหนือโลกแห่งความขัดแย้ง
บทที่ 12 จักรวาลอันเคลื่อนไหว
บทที่ 13 ความว่างและรูปลักษณ์

บทที่ 10 เอกภาพแห่งสรรพสิ่ง

4

10.3 แยกออกจากการเตรียม

ในอีกแง่หนึ่ง เมื่อเราพูดถึง”อนุภาค” หรือระบบที่ถูกสังเกตอื่นใดก็ตาม นั่นแสดงให้เห็นว่า เรามีวัตถุทางฟิสิกส์อย่างหนึ่งอย่างใดที่เป็นอิสระในใจ แรกทีเดียวถูกสร้างขึ้น และต่อมาถูกตรวจวัด ดังนั้นปัญหาพื้นฐานในกระบวนการสังเกตของวิชาฟิสิกส์ที่ว่าด้วยอะตอมก็คือ “ ระบบที่ถูกสังเกตต้องเป็นสิ่งที่ถูกแยกให้เป็นอิสระเพื่อที่จะอธิบายมัน แต่ต้องให้เข้าทำปฏิกิริยาเพื่อที่จะสังเกตได้ “ ตามคำกล่าวของเฮนรี แสตป ในทฤษฎีควอนตัม ปัญหานี้ถูกแก้ไปโดยการกำหนดให้ระบบที่ถูกสังเกต เป็นอิสระจากการรบกวนจากภายนอก ซึ่งเกิดจากกระบวนการในการสังเกตในช่วงใดช่วงหนึ่ง ระหว่างกระบวนการเตรียมการและกระบวนการตรวจวัดผล เงื่อนไขเช่นนั้นจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่ออุปกรณ์ในการเตรียมการและการตรวจวัดผลอยู่ห่างจากกันมาก เพื่อให้วัตถุที่ถูกสังเกตเดินทางจากบริเวณในการเตรียมการไปสู่บริเวณในการตรวจวัดผล ระยะทางดังกล่าวควรจะเป็นเท่าไร? ในหลักการแล้ว มันควรจะเป็นอนันต์ ( infinite ) ในโครงร่างของทฤษฎีควอนตัม เราจะอธิบายความคิดเรื่องวัตถุทางฟิสิกส์ที่แยกจากวัตถุอื่นได้อย่างถูกต้องแม่นยำ ถ้าหากวัตถุนั้น ๆ อยู่ห่างจากส่วน ที่ทำหน้าที่สังเกตเป็นระยะทางอนันต์ ในทางปฏิบัติมันเป็นไปไม่ได้ และไม่จำเป็นต้องเป็นเช่นนั้นด้วย เราจะต้องนึกถึงทัศนะคติพื้นฐานของวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ที่ว่า แนวคิดและทฤษฎีทั้งมวลล้วนเป็นการประมาณ ในกรณีนี้หมายความว่า ความคิดเรื่องวัตถุทางฟิสิกส์ที่แยกจากวัตถุอื่น ไม่จำเป็นต้องมีความหมายเที่ยงตรงแน่นอน แต่อาจจะให้ความหมายโดยประมาณ ซึ่งทำได้ดังต่อไปนี้

วัตถุที่ถูกสังเกตเป็นสิ่งแสดงปฏิกิริยาระหว่างกระบวนการเตรียมการและกระบวนการตรวจวัดผล ปฏิกิริยาดังกล่าวโดยทั่ว ๆไปแล้วจะเป็นปฏิกิริยาที่ซับซ้อนและเกี่ยวเนื่องกับกระบวนการต่าง ๆ มากมาย ซึ่งใช้ระยะทางต่าง ๆ กัน ในฟิสิกส์เราเรียกว่ามี “ช่วง” ( ranges ) ต่าง ๆ กัน หากส่วนที่สำคัญของปฏิกิริยามีช่วงยาว นั่นคือ ใช้ระยะทางมาก มันก็จะเป็นอิสระจากสิ่งรบกวนภายนอก และจะถือว่าวัตถุที่แยกเป็นอิสระต่างหากจากวัตถุอื่นได้ ในโครงร่างของทฤษฎีควอนตัม วัตถุอิสระจึงเป็นสิ่งในอุดมคติซึ่งจะมีความหมายก็แต่ในขอบเขตที่ส่วนสำคัญของปฏิกิริยามีช่วงยาว สภาพการณ์ดังกล่าวเราสามารถแสดงอย่างละเอียดด้วยคณิตศาสตร์ ในทางฟิสิกส์มันหมายความว่า อุปกรณ์ในการตรวจวัดผลอยู่ห่างมากจนปฏิกิริยาสำคัญเกิดขึ้นโดยผ่านการแลกเปลี่ยนอนุภาค หรือร่างแหของอนุภาค ในกรณีที่ซุบซ้อนยิ่งขึ้น มันอาจะมีปฏิกิริยาอื่นเกิดขึ้นด้วยแต่ตราบเท่าที่อุปกรณ์ในการตรวจวัดผลยังอยู่ห่างออกไปมากเพียงพอ สิ่งเหล่านี้ก็ไม่สำคัญจนอาจจะตัดทิ้งไปได้ เมื่ออุปกรณ์นั้นอยู่ห่างออกไปไม่มากพอเท่านั้น ที่จะทำให้ปฏิกิริยาซึ่งมีช่วงสั้น กลายเป็นส่วนสำคัญ ในกรณีเช่นนั้น ระบบทั้งหมดจะหลอมรวมเป็นอันเดียวกัน และความคิดเรื่องวัตถุที่ถูกสังเกตจะหมดความหมายลง ดังนั้นทฤษฎีควอนตัมจึงเปิดเผยให้เห็นถึงความเกี่ยวพันเชื่อมโยงกันของสรพสิ่งจักรวาล มันแสดงให้เห็นว่าเราไม่อาจย่อยสลายโลกลงเป็นหน่วยเล็ก ๆ ที่เป็นอิสระได้ เมื่อเราเจาะลึกลงไปในวัตถุ เราพบว่ามันประกอบด้วยอนุภาคแต่ทว่ามิใช่ “ หน่วยพื้นฐาน ” ในความหมายตามแบบของเดโมคริตัสและนิวตัน มันเป็นสิ่งในอุดมคติซึ่งมีคุณประโยชน์ในแง่ของการปฏิบัติ แต่ไม่มีความหมายสำคัญในขั้นพื้นฐาน นีลส์ บอหร์ กล่าวว่า “อนุภาคของวัตถุซึ่งเป็นอิสระไม่เกี่ยวกับสิ่งอื่น เป็นผลของความคิดแบบย่อสรุป เราจะอธิบายและสังเกตคุณสมบัติของมันได้ก็แต่ในปฏิกิริยาของมันกับระบบอื่น”

<< ย้อนกลับ | หน้าถัดไป >>

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย