ศาสนา ลัทธิ ความเชื่อ นิกาย พิธีกรรม
» พระสูตร
พระไตรปิฎกฉบับประชาชน
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๕
เล่มที่ ๒๓
ชื่ออังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต
สัตตกนิบาต ชุมนุมธรรมะที่มี ๗ ข้อ
พระสูตรที่ไม่จัดเข้าในวรรค
ตรัสว่า เพราะเหตุที่ทำลายธรรมะ ๗ อย่าง จึงชื่อว่า เป็นภิกษุ คือสักกายทิฏฐิ ( ความเห็นเป็นเหตุยึดถือกายของตน ), ความลังเลสงสัย, การลูบคลำศีลและพรต ( ถือโชคลาง หรือติดลัทธิพิธี ), ราคะ, โทสะ, โมหะ, มานะ.
และตรัสว่า เพราะสงบ ๗ อย่างข้างต้นได้จึงชื่อว่า สมณะ เพราะลอยธรรมเหล่านี้ได้ จึงชื่อว่า พราหมณ์ เป็นต้น.
ตรัสถึงอสัทธรรมและสัทธรรม โดย ทรงไปที่ความไม่มีศรัทธา จนถึงมีปัญญาทรามว่า เป็นอสัทธรรม ส่วนสัทธรรม ตรงกันข้าม.
ตรัสว่า บุคคลที่ควรแก่ของคำนับ ตลอดจนเป็นเนื้อ นาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก คล้ายกับที่ตรัสไว้แล้ว ( ดังที่ย่อไว้แล้วใน วรรคที่ ๒ เรื่องตรัสแสดงอนุสัย ).
ตรัสว่า ควรเจริญธรรมะ ๗ อย่าง คือ โพชฌงค์ ๗ ( ดูพระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๓ ) , สัญญา ๗ ( ดูในข้อความน่ารู้จาก ไตรปิฎก ) หมายเลข ๑๙๖ สัญญา ( ความจำ) ๗ มีอะไรบ้าง , เพื่อละอุปกิเลส ๑๖ (ดูพระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๔ ) ในข้อ๗. วัตถูปมสูตร ( สูตรอุปมาด้วยผ้าที่ย้อมสี ).
ตรัสว่า ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๗ อย่าง
ตรัสแสดงอนุสัย (กิเลสที่แฝงตัว
หรือที่นอนเนื่องในสันดาน) ๗ ประการ
พระผู้มีพระภาคประทับ ณ สารันททเจดีย์ ใกล้กรุงเวสาลี
ตรัสแสดงคารวะ (ความเคารพ) ๗ อย่าง
ตรัสแสดงที่ตั้งแห่งวิญญาณ (วิญญาณฐิติ) ๗ อย่าง
วรรคที่ไม่จัดเข้าในหมวด ๕๐
พระสูตรที่ไม่จัดเข้าในวรรค
สัตตกนิบาต ชุมนุมธรรมะที่มี ๗ ข้อ
อัฏฐกนิบาต ชุมนุมธรรมะที่มี ๘ ข้อ
นวกนิบาต ชุมนุมธรรมะที่มี ๙ ข้อ