ศาสนา ลัทธิ ความเชื่อ นิกาย พิธีกรรม
» พระสูตร
พระไตรปิฎกฉบับประชาชน
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๕
เล่มที่ ๒๓
ชื่ออังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต
สัตตกนิบาต ชุมนุมธรรมะที่มี ๗ ข้อ
๔. ตรัสแสดงคารวะ (ความเคารพ) ๗ อย่าง
ตามที่เทวดามากราบทูลว่า เป็นไปเพื่อความไม่เสื่อมแห่งภิกษุ คือความเคารพในพระศาสดา, ในพระธรรม, ในพระสงฆ์, ในการศึกษา, ในสมาธิ, ในความไม่ประมาท, ในการต้อนรับ.
แล้วตรัสแสดงถึงธรรม ๗ ประการ ที่เป็นไปเพื่อความไม่เสื่อมของภิกษุ คือ ๕ ข้อแรก พ้องกันกับคารวะที่แสดงมาแล้ว เปลี่ยนแต่ข้อ ๖-๗ คือเคารพในความละอาย, ในความเกรงกลัวต่อบาป.
อีกนัยหนึ่ง เปลี่ยนเฉพาะข้อ ๖-๗ อีก คือว่าง่าย, คบคนดีเป็นมิตร. พระสาริบุตร กราบทูลขยายความตามความเข้าใจของท่าน ( ท่านเข้าใจว่าขยายความได้ คือทำเช่นนั้นด้วยตนเอง, พรรณนาคุณของการนั้น, ชักชวนผู้อื่นเพื่อทำ เช่นนั้น รวมทั้งสรรเสริญผู้ทำเช่นนั้นตามความจริงตามกาลอันสมควร ) ตรัสประทาน สาธุการ
ตรัสว่า มิตรประกอบด้วยองค์ ๗ ควรคบ คือให้สิ่งที่ให้ยาก, ทำสิ่งที่ทำยาก, อดทนสิ่งที่ทนยาก, เปิดเผยความลับแก่เพื่อน, ปกปิดความลับของเพื่อน, ไม่ละทิ้งในยามมีอันตราย, ไม่ดูหมิ่นเพื่อนเพราะสิ้นทรัพย์.
ตรัสว่า ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๗ ควรคบเป็นมิตร แม้จะถูกกีดกัน ( ให้ ออกห่าง ) คือเป็นที่รัก เป็นที่พอใจ, เป็นที่เคารพ, เป็นที่สรรเสริญ, เป็นผู้ว่ากล่าว, เป็นผู้อดทนต่อถ้อยคำ, เป็นผู้กล่าวถ้อยคำอันลึกซึ้ง ( ใน ทางธรรม ), ไม่ชักชวนในฐานะอันไม่สมควร
ตรัสว่า ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๗ อย่าง จะทำให้แจ้งปฏิสัมภิทา ( ความแตกฉาน ) โดย กาลไม่นาน คือ
๑-๓. รู้ตามความจริงว่า จิตท้อแท้, หดหู่, ฟุ้งสร้าน,
๔-๖. เวทนา สัญญา ความตรึกของเธอ เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป อันเธอรู้แจ้งแล้ว,
๗. เธอถือเอาด้วยดี ใส่ใจด้วยดี ทรงจำดี
ใช้ปัญญาแทงทะลุด้วยดีซึ่งนิมิตในธรรมอันเป็นที่สบาย และไม่เป็นที่สบาย ดีเลว ดำขาว
และมีส่วนเปรียบ.
ตรัสสรรเสริญพระสาริบุตรว่ามีคุณธรรมข้างบนทั้งเจ็ดข้อ. ตรัสว่า ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๗ ย่อมทำจิตไว้ในอำนาจได้ ไม่เป็นไปตามอำนาจของจิต คือฉลาดในสมาธิ, ในการเข้า, ในการตั้งอยู่, ในการออก, ในความสมควรแก่กาล, ในโคจร ( อารมณ์ ) และในอภินิหารของสมาธิ.
ตรัสสรรเสริญพระสาริบุตรว่ามีคุณธรรมข้างบนทั้งเจ็ดข้อ. นักบวชศาสนาอื่นสนทนา กันว่า ผู้ประพฤติพรหมจรรย์บริสุทธิ์บริบูรณ์ตลอด ๑๒ ปี ย่อมเป็นผู้ควรแก่ถ้อยคำว่าภิกษุ " ผู้ไม่มีสิบ " ( ไม่ต้องเวียนว่าย ตายเกิดมาให้ถูกนับอายุอีก อรรถกถา ) พระสาริบุตรนำความมากราบทูลพระผู้มีพระภาค ตรัสว่า ภิกษุที่จะชื่อว่านิททสะ ( ผู้ไม่มีสิบ ) ใน พระธรรมวินัยนี้ มิใช่ด้วยการนับพรรษา ( แต่ด้วยคุณธรรม ) แล้วตรัสแสดงนิททสวัตถุ ๗ ประการ ( ดังที่ตรัสไว้แล้วในวรรคที่ ๒ข้างบน )
ตรัสแสดงนิททสวัตถุอีก ๗ ประการ แก่พระอานนท์ผู้ได้ฟังนักบวชศาสนาอื่น พูดกันทำนองเดียวกับพระสาริบุตร เป็นแต่เปลี่ยนแสดงคุณธรรม คือ มีศรัทธา, มีความละอาย, มีความเกรงกลัวต่อบาป, มีการสดับมาก, ปรารภความเพียร, มีสติ, มีปัญญา.
ตรัสว่า ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๗ อย่าง
ตรัสแสดงอนุสัย (กิเลสที่แฝงตัว
หรือที่นอนเนื่องในสันดาน) ๗ ประการ
พระผู้มีพระภาคประทับ ณ สารันททเจดีย์ ใกล้กรุงเวสาลี
ตรัสแสดงคารวะ (ความเคารพ) ๗ อย่าง
ตรัสแสดงที่ตั้งแห่งวิญญาณ (วิญญาณฐิติ) ๗ อย่าง
วรรคที่ไม่จัดเข้าในหมวด ๕๐
พระสูตรที่ไม่จัดเข้าในวรรค
สัตตกนิบาต ชุมนุมธรรมะที่มี ๗ ข้อ
อัฏฐกนิบาต ชุมนุมธรรมะที่มี ๘ ข้อ
นวกนิบาต ชุมนุมธรรมะที่มี ๙ ข้อ