ศาสนา ลัทธิ ความเชื่อ นิกาย พิธีกรรม
» พระสูตร
พระไตรปิฎกฉบับประชาชน
เล่มที่ ๒๒
ทุติยปัณณาสก์ หมวด ๕๐ ที่ ๒
๒. ตรัสว่า ผู้ละธรรม ๖ อย่างไม่ได้ ไม่ควรทำให้แจ้งอนาคามิผล
คือความ ไม่ศรัทธา ( เชื่อสิ่งที่ควรเชื่อ ), ความไม่ละอาย, ความไม่เกรงกลัวต่อบาป, ความเกียจคร้าน, ความหลงลืมสติ, ความมีปัญญทราม.
ฝ่ายดี ทรงแสดงตรงกันข้าม.
ทรงแสดงว่า บุคคนละธรรม ๖ อย่างไม่ได้ ไม่ควรทำให้แจ้งความเป็นพระอรหันต์ คือความหดหู่, ความง่วงงุน, ความฟุ้งสร้าน, ความรำคาญใจ, ความไม่ศรัทธา, ความประมาท.
ฝ่ายดีทรงแสดงตรง กันข้าม.
ตรัสว่า ภิกษุคบมิตรชั่ว ดำเนินตามมิตรชั่ว เป็นไปไม่ได้ที่จะทำธรรมะเกี่ยว กับความประพฤติและมารยาท ( อภิสมาจาริกธรรม ), ธรรมของพระเสขะ, และทำศีลให้บริบูรณ์ และเป็นไปไม่ได้ที่จะละกามราคะ ( ความ กำหนัดในกาม ), รูปราคะ ( ความกำหนัดในรูป ), อรูปราคะ ( ความกำหนัดในสิ่งที่มิใช่รูป ).
ในทางดีทรงแสดงตรงกันข้าม.
ตรัสว่า ภิกษุผู้คลุกคลีด้วยหมู่ เป็นไปไม่ได้ที่จะยินดีในความสงัด, ที่จะถือเอา นิมิตแห่งจิตไว้, ที่จะทำสัมมาทิฏฐิ ( ความเห็นชอบ ) ให้บริบูรณ์, ที่จะทำสัมมาสมาธิ ( ความ ตั้งใจมั่นชอบ ) ให้บริบูรณ์, ที่จะละสัญโญชน์ ( กิเลสเครื่องร้อยรัด ) ได้, ที่จะทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพานได้. ฝ่ายดีทรงแสดงตรงกันข้าม.
เทวดากราบทูลถึงธรรม ๖ อย่างที่เป็นไปเพื่อความไม่เสื่อมของภิกษุ คือ ความเคารพในพระศาสดา, พระธรรม, พระสงฆ์, การศึกษา, ความเป็นผู้ว่าง่าย และการคบเพื่อนที่ดี. เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสเล่า พระ สาริบุตรจึงกราบทูลว่า ท่านเข้าใจว่าขยายความได้ คือทำเช่นนั้นด้วยตนเอง, พรรณนาคุณของการนั้น, ชักชวนผู้อื่นเพื่อทำ เช่นนั้น รวมทั้ง สรรเสริญผู้ทำเช่นนั้นตามความจริงตามกาลอันสมควร.
ตรัสว่า ถ้าไม่มีสมาธิอันสงบระงับ ประณีต ก็ไม่ได้เสวยอภิญญา ๖ ( มีแสดง ฤทธิ์ได้ เป็นต้น ) ต่อมีสมาธิเช่นนั้นจึงได้อภิญญา ๖.
ตรัสว่า ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๖ อย่าง ไม่ควรบรรลุความเป็นผู้เห็นแจ่ม แจ้งในคุณวิเศษนั้น ๆ คือไม่รู้จักธรรมที่เป็นส่วนแห่งความเสื่อม, ความเสมอตัว, ความก้าวหน้า, การทำลายกิเลส ตามความเป็นจริง, ไม่ทำการโดยเคารพ, ไม่ทำการให้เป็นที่สบาย ( ไม่เป็นอุปการะแก่การปฏิบัติธรรม ).
ในฝ่ายดีทรงแสดง ตรงกันข้าม.
ตรัสว่า ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๖ อย่าง ไม่ควรบรรลุความเป็นผู้มีกำลังสมาธิ คือไม่ฉลาดในการเข้า, ในการตั้งอยู่, ในการออกเกี่ยวกับสมาธิ, ไม่ทำการโดยเคารพ, ไม่ทำการโดยติดต่อ, ไม่ทำการให้เป็นที่สบาย. ในฝ่ายดีทรงแสดงตรงกันข้าม.
ตรัสว่า ภิกษุละธรรม ๖ อย่างไม่ได้ ไม่ควรเข้าฌานที่ ๑ คือนีวรณ์ ๕ กับ ไม่เห็นโทษของกาม ตามเป็นจริงด้วยปัญญาอันชอบ. ในฝ่ายดีทรงแสดงตรงกันข้าม.
ตรัสว่า ภิกษุละธรรม ๖ อย่างไม่ได้ ไม่ควรเข้าฌานที่ ๑ อีกอย่างหนึ่ง คือ ความตรึกในกาม, ในการพยาบาท, ในการเบียดเบียน, ความกำหนดหมายในกาม, ในการพยาบาท, ในการเบียดเบียน และฝ่ายดีทรงแสดง ตรงกันข้าม.
- ตรัสสอนพระโสณะ
- ตรัสว่า ผู้ละธรรม ๖ อย่างไม่ได้ ไม่ควรทำให้แจ้งอนาคามิผล
- ตรัสว่า ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๖ อย่าง
- ตรัสว่า ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๖ อย่าง
ไม่ควรทำให้แจ้งความเห็นอันยอดเยี่ยม
- ตรัสว่า ความปรากฏขึ้นแห่งสิ่ง ๖ สิ่ง หาได้ยากในโลก
ปฐมปัณณาสก์ หมวด ๕๐ ที่ ๑
ทุติยปัณณาสก์ หมวด ๕๐ ที่ ๒
ทุติยปัณณาสก์ หมวด ๕๐ ที่ ๓
จตุตถปัณณาสก์ หมวด ๕๐ ที่ ๔
ปัญจมปัณณาสก์ หมวด ๕๐ ที่ ๕
ฉักกนิบาต ชุมนุมธรรมะที่มี ๖ ข้อ
ทุติยปัณณาสก์ หมวด ๕๐ ที่ ๒
หมวดนอกจาก ๕๐
พระสูตรที่ไม่จัดเข้าวรรค