ศาสนา ลัทธิ ความเชื่อ นิกาย พิธีกรรม

หอพระไตร

หอพระไตร

» พระวินัยปิฎก

» พระสุตตันตปิฎก

» พระอภิธรรมปิฎก

» พระสูตร

พระไตรปิฎกฉบับประชาชน

พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๔

เล่มที่ ๒๒

อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต

จตุตถปัณณาสก์ หมวด ๕๐ ที่ ๔

๕.ตรัสแสดงธรรมเก่าแก่ของพราหมณ์ ๕ ประการ

ซึ่งในบัดนี้ไม่ ปรากฏในพราหมณ์ คือ

๑. พราหมณ์ย่อมอยู่ร่วมกับพราหมณี ไม่อยู่ร่วมกับคนที่มิใช่พราหมณี

๒. พราหมณ์ย่อมอยู่ร่วมกับพราหมณี ผู้มีระดู ไม่อยู่ร่วมกับพราหมณีผู้ไม่มีระดู ( ยังเด็กเกินไป ถือความสมควรเมื่อมีระดูแล้ว คือสามารถมีบุตรได้ )

๓. พราหมณ์ย่อมไม่ซื้อ ขายพราหมณี ย่อมอยู่ร่วมกันด้วยความรักใคร่ สัมพันธ์กัน

๔. พราหมณ์ย่อมไม่สะสมทรัพย์ ข้าวเปลือก ทองเงิน

๕. พราหมณ์ย่อม หาอาหารเย็นกินเย็น หาอาหารเช้ากินเช้า ( ถือการภิกขาจารไม่สะสมหรือขอเอาไว้กินในมื้ออื่น ).

ตรัสแสดงธรรมแก่โทณพราหมณ์ เรื่องคุณธรรมของพราหมณ์ในทางที่ เนื่องด้วยการอบรมจิต.

ตรัสแสดงธรรมแก่สังคารวพราหมณ์ เรื่องคุณธรรมที่ทำให้มนต์แม้ที่ไป ท่องบ่น ยังคงแจ่มแจ้งอยู่ตลอดกาลนาน โดยชี้ไปที่การทำให้จิตปราศจากนีวนณ์ ๕ ( เฉพาะข้อ ๑ ทรงใช้คำว่า กามราคะ แทนคำว่า กามฉันท์๑.( นิวรณ์ ๕ อย่างล้วนเป็นอกุศลราศี คือ :-

๑. กามฉันท์ ความพอใจในกาม
๒. พยาบาท ความคิดปองร้าย
๓. ถีนมิทธะ ความหดหู่ง่วงงุน
๔. อุทธัจจะกุกกุจจะ ความฟุ้งสร้านรำคาญใจ
๕. วิจิกิจฉา ความลังเลสงสัย )

๒. ( พึงสังเกตว่า ในที่นี้ ไม่ใช้คำว่า กามฉันท์ ความพอใจในกาม แต่ใช้ อภิชฌา แทน )

๓. ( นิวรณ์คือกิเลสอันกั้นจิตให้บรรลุความดี โดยปกติแสดงว่ากามฉันท์ความพอใจเป็นข้อแรก บางแห่งก็ใช้คำว่าอภิชฌา ( ความเพ่งเล็งหรือโลภ ) ในที่นี้ใช้อภิชฌาวิสมโลภ ( โลภขนาดรุนแรง ) เป็นข้อแรก )

พราหมณ์ชื่อการณปาลี ถามพราหมณ์ชื่อปิงคิยานีถึงคุณงามความดีของ ของพระพุทธเจ้า เมื่อได้ฟังคำอธิบายก็เลื่อมใส แสดงตนเป็นอุบาสก.

ตรัสแสดงความปรากฏแห่งรัตนะ ๕ ที่หาได้ยากแก่เจ้าลิจฉวี มีความ ปรากฏแห่งพระพุทธเจ้า เป็นต้น.

ตรัสแสดงความฝันเรื่องใหญ่ ( มหาสุบิน ) ๕ ประการ ก่อนที่จะตรัสรู้ คือ

๑. ทรงฝันว่ามีมหาปฐพีเป็นที่บรรทม มีขุนเขาหิมพานต์เป็นหมอน, พระหัตถ์ซ้ายขวาพาดมหาสมุทรด้านตะวันออกตะวันตก พระบาททั้งคู่พาดมหาสมุทรด้านใต้

๒. ทรงฝันว่ามีหญ้าชื่อติริยา เกิดขึ้นจากพระนาภี สูง ขึ้นไปจดท้องฟ้า

๓. ทรงฝันว่ามีหนอนสีขาวมีหัวดำไต่ขึ้นมาจากพระบาทปกคลุมจนถึงชานุมณฑล ( บริเวณเข่า )

๔. ทรงฝันว่ามีนก ๔ ชนิดมีสีต่าง ๆ มาจาก ๔ ทิศ ตกลงมาแทบบาทมูลแล้วกลายเป็นสีขาวทั้งหมด

๕. ทรงฝันว่าทรงเดินไปมาบนภูเขาอุจจาระลูกใหญ่ แต่ไม่เปื้อนอุจจาระ แล้วทรงอธิบายว่า

ข้อ ๑ หมายความว่า จะได้ตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ ข้อ ๒ หมายความว่าจะได้ตรัสรู้ อริยมรรคมีองค์ ๘ ข้อที่ ๓ หมายความว่า พวกคฤหัสถ์นุ่งผ้าขาวจะมาถึงพระตถาคตเป็นสรณะตลอดชีวิต ข้อที่ ๔ หมายความว่า วรรณะทั้งสี่มีกษัตริย์ เป็นต้น จะมาบวชในพระธรรมวินัยที่พระตถาคตประกาศแล้ว และได้ทำให้แจ้งวิมุติอันยอดเยี่ยม ข้อที่ ๕ หมาย ความว่า พระองค์จะได้ลาภปัจจัย ๔ แต่ไม่ติดอยู่ในสิ่งเหล่านั้น. และได้ตรัสแสดงเรื่องอื่น ๆ เช่น

ลักษณะ ๕ ของวาจาสุภาษิต (ซึ่งได้แปลเอาไว้แล้วว่าลักษณะ ๕ ของวาจาสุภาษิต

" ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! วาจาที่ประกอบด้วยองค์ ๕ นับเป็นสุภาษิต ไม่เป็นทุพภาษิต ไม่มีโทษ อันผู้รู้ติไม่ได้ คือ :-

๑ . วาจาที่กล่าว ( ถูกต้อง ) ตามกาล
๒. วาจาที่กล่าว เป็นความจริง
๓ . วาจาที่กล่าว อ่อนหวาน
๔ . วาจาที่กล่าว ประกอบด้วยประโยชน์
๕ . วาจาที่กล่าว ด้วยจิตประกอบด้วยเมตตา. )

และนิสสารณธาตุ ( ธาตุคือความแล่นออก, ได้แก่พ้นไป ) คือการที่จิตของ บุคคลแล่นออกไป ( หรือพ้นไป ) จากกาม ( ความใคร่ ), พยาบาท ( ความคิดปองร้าย ), วิเหสา ( ความคิดเบียดเบียน ). รูป, สักกายะ ( กายของตน ).

<< ย้อนกลับ || หน้าถัดไป >>

- ตรัสแสดงถึงผู้ฟังธรรมที่ไม่ดีและที่ดี หลายนัย
- ตรัสสอนวิธีนำออกซึ่งความอาฆาต ๕ อย่าง
- ตรัสแสดงอุบาสกผู้ประกอบด้วยศีล ๕ ว่า เป็นผู้ก้าวลงสู่ความแกล้วกล้า ตลอดจน ได้ตรัสถึงการค้าขายที่อุบาสกไม่ควรทำ
- ตรัสแสดงเรื่องภิกษุผู้อยู่ป่า ๕ ประเภท
- ตรัสแสดงธรรมเก่าแก่ของพราหมณ์ ๕ ประการ

ปฐมปัณณาสก์ หมวด ๕๐ ที่ ๑
ทุติยปัณณาสก์ หมวด ๕๐ ที่ ๒
ทุติยปัณณาสก์ หมวด ๕๐ ที่ ๓
จตุตถปัณณาสก์ หมวด ๕๐ ที่ ๔
ปัญจมปัณณาสก์ หมวด ๕๐ ที่ ๕
ฉักกนิบาต ชุมนุมธรรมะที่มี ๖ ข้อ
ทุติยปัณณาสก์ หมวด ๕๐ ที่ ๒
หมวดนอกจาก ๕๐
พระสูตรที่ไม่จัดเข้าวรรค


» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๓

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๔

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๕

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๖

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๗

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๘

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๙

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๐

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๑

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๒

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๓

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๔

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๕

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๖

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๗

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๘

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๙

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๐

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๑

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๒

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๓

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๔

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๕

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย