ศาสนา ลัทธิ ความเชื่อ นิกาย พิธีกรรม >>
โดย สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
จิตแม้เป็นธาตรู้ก็ต้องฝึก
จิตใจนี้ก็เช่นเดียวกัน ก็ต้องฝึก
เพราะจิตใจนี้แม้เป็นจิตใจที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสไว้ว่าเป็นธาตุรู้
และเป็นธรรมชาติที่ปภัสสรคือผุดผ่อง แต่ก็ยังเป็นจิตใจที่ยังมีอวิชชาคือความไม่รู้
ฉะนั้น จึงมีอุปกิเลสคือเครื่องเศร้าหมองจรเข้ามา ตั้งอยู่ในจิตใจได้
ปรากฏเป็นอาสวะอนุสัยกิเลสอย่างละเอียดที่ดองสันดานอยู่ ก็มีอยู่เป็นอันมาก
เมื่อเป็นดั่งนี้ จิตใจนี้จึงเป็นเหมือนอย่างต้นไม้ที่เกิดขึ้นในป่า
ก็เป็นไปตามธรรมชาติ
จะพึงเห็นได้จากกิริยาของเด็ก ที่แสดงอาการของจิตใจต่างๆ
เด็กอยากจะร้องก็ร้อง หิวขึ้นมาก็ร้อง อยากจะถ่ายก็ถ่าย
และเมื่อเริ่มที่จะเดินได้วิ่งได้ อยากจะวิ่งไปไหนก็วิ่ง อยากจะนอนก็นอน
เพราะว่าจิตใจเกิดความคิดขึ้นอย่างไรก็ทำอย่างนั้น
อันอาการของเด็กที่แสดงออกนี้ ก็เพราะว่ายังมีสติความระลึกได้
และปัญญาความรู้ยังอ่อน ซึ่งเรียกกันว่ายังไม่เดียงสา
เมื่อค่อยรู้เดียงสาขึ้นจึงค่อยอยู่ในระเบียบขึ้น
และความรู้เดียงสาขึ้นนี้ก็เพราะว่าได้รับฝึก มาตั้งแต่ฝึกได้
ดังที่บิดามารดาคอยสั่งสอน คอยเตือนคอยหัดให้พูด หรือพูดด้วย
ให้บังเกิดความรู้ต่างๆ ดีขึ้น ก็แปลว่าฝึก ถ้าไม่ฝึกเลยปล่อยให้โตขึ้นมาเอง
ก็คงจะแสดงกิริยาต่างๆ ไม่ต่างจากดิรัจฉานเท่าไรนัก
เหมือนอย่างคนป่าที่แม้ยังมีอยู่น้อยก็เป็นเครื่องแสดงได้
ว่าคงเป็นอยู่แบบสัตว์ป่าเหมือนกัน
แต่การที่คนเราประพฤติอยู่ในระเบียบดีขึ้นนั้นก็เพราะการฝึกนี้เอง
พ่อแม่เป็นต้นก็ค่อยๆ ฝึกมา ครูบาอาจารย์ก็ฝึกมา และประกอบกับคนเองเกิดมาเป็นคน
ก็มีปัญญาที่เกิดมากับชาติคือความเกิดดีกว่าสัตว์เดรัจฉาน จึงรับรู้การฝึก
เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่ามนุษย์ที่แปลว่าผู้มีใจสูง มี มนะสูง
บัณฑิตย่อมฝึกตน
จิตแม้เป็นธาตรู้ก็ต้องฝึก
กุศล กิจของคนฉลาด
กุศลมูล อกุศลมูล
อานาปานสติขั้นระงับกายสังขาร
กายสังขาร