วรรณกรรม สุภาษิต ข้อคิด คำคม สำนวน โวหาร งานเขียน >>
(ร่าย กาพย์ กลอน โคลง ฉันท์)
สระ
สระ คือ ตัวอักษรที่เปล่งเสียงได้เอง ใช้ประกอบกับพยัญชนะ แล้วทำให้ปรากฏเสียงได้ชัดเจน ภาษาไทยมีสระ ๓๒ ตัว คือ อะ อา อิ อี อึ อือ อุ อู เอะ เอ แอะ แอ โอะ โอ เอาะ ออ เออะ เออ เอียะ เอีย เอือะ เอือ อัวะ อัว ฤ ฤา ฦ ฦา อำ ใอ ไอ เอา แยกเป็น ๒ ประเภทคือ ที่มีเสียงสั้น เรียกว่า รัสสสระ ๑ ที่มีเสียงยาว เรียกว่า ทีฆสระ ๑
- อะ อิ อึ อุ เอะ แอะ โอะ เอาะ เออะ เอียะ เอือะ อัวะ ฤ และ ฦ รวม ๑๔ ตัว จัดเป็นรัสสสระ เพราะมีเสียงสั้น
- อา อี อื อู เอ แอ โอ ออ เออ เอีย เอือ อัว ฤา ฦา อำ ใอ ไอ และ เอา รวม ๑๘ ตัว จัดเป็นทีฆสระ เพราะมีเสียงยาว
อนึ่ง ฦ ฦา บัดนี้เลิกใช้แล้ว ส่วน อำ ใอ ไอ และ เอา บางท่านเห็นว่า เป็นรัสสสระ ส่วนข้าพเจ้าเห็นเป็นทีฆสระเพราะมีเสียงยาว โดยมาตราเท่ากับ อี อื เมื่อเข้ากับอักษรกลาง ผันได้ครบ ๕ เสียง เช่น ไป = ไป ไป่ ไป้ ไป๊ ไป๋ ดังนั้น จึงจัดเป็นทีฆสระ แม้ในมูลบทบรรพกิจ ก็จัดเป็นทีฆสระโดยแท้
โวหาร
ประเภทกวีนิพนธ์
ฉันทลักษณ์
สระ
พยัญชนะ
เครื่องประกอบอื่น
การอ่านคำประพันธ์
ร่าย
กาพย์
กลอน
โคลง
ฉันท์