วรรณกรรม สุภาษิต ข้อคิด คำคม สำนวน โวหาร งานเขียน >>
(ร่าย กาพย์ กลอน โคลง ฉันท์)
ฉันท์
คำประพันธ์หรือคำร้อยกรอง ซึ่งเรียกกันว่า คำประพันธ์ บทกวี หรือ บทกานท์ ซึ่งหมายถึงถ้อยคำที่เรียบเรียงเป็นคำร้อยกรอง โดยมีฉันทลักษณ์เป็นหลัก คำร้อยกรองดังว่านี้ จัดเป็นประเภทได้ ๕ คือ ร่าย กาพย์ กลอน โคลง และฉันท์
พยางค์ ได้แก่ ถ้อยคำหรือคำพูดที่ปรากฏเป็นตัวหนังสือ และที่ไม่ปรากฏชัด เช่นคำว่า ไป ไหน มา เป็นคำโดด ๆ นับคำต่อคำ และคำรวมกัน เช่น ผดุง บำรุง ราชการ สัตยา เป็นคำผสม เรียกพยางค์ผสมบ้าง นับเอาตามจำนวนเสียงที่เปล่งออก ผดุง บำรุง นับเป็น ๒ คำ ราชการ สัตยา นับเป็น ๓ คำ ในกวีบางประเภท ราชการ และสัตยา นับเป็น ๒ คำได้ในบางกรณี แต่ในฉันท์นับเป็น ๓ คำอย่างเดียว
วรรค ได้แก่ พยางค์ที่รวมกันแล้ว นับจำนวนได้ครบตามที่กำหนด เรียกว่า วรรค แต่ละฉันท์กำหนดแตกต่างกัน รวม ๒ วรรคเป็นหนึ่งบาท รวม ๔ วรรคเป็นหนึ่งบทบ้าง รวม ๓ วรรคเป็นหนึ่งบทบ้าง
บาท ได้แก่ การรวม ๒ วรรค ในฉันท์ที่มี ๔ บาท รวม ๒ วรรคแล้วเป็น ๑ บาท รวมอีก ๒ บาทจึงเป็นหนึ่งบท ฉันท์ที่มี ๔ บาท มีชื่อเรียกในวงนักกวี คือ บาทเอกและบาทโท บาทคี่และบาทคู่ กับ บาทคี่และบาทขอน บาทคี่คือบาทที่ ๑ และที่ ๓ บาทคู่และบาทขอนคือบาทที่ ๒ และที่ ๔ ซึ่งในฉันท์ภาษามคธเรียกว่า วิสมบาท และสมบาท
บท ได้แก่ การรวมบาททั้งหลาย หรือรวมวรรคทั้งหลายเข้าเป็นบทตามฉันทลักษ์แล้ว ถือเป็นฉันท์บทหนึ่ง บางกรณีรวมหลายวรรคเข้าเป็นบท บางกรณีรวมหลายบาทเข้าเป็นบท
คำว่า ฉันท์ หมายถึงถ้อยคำที่ร้อยกรองโดยปราศจากข้อบกพร่อง กล่าวคือ ปิดเสียซึ่งโทษ จึงเป็นคำร้อยกรองชั้นสูง ที่ละเอียดและสำคัญกว่าบทกวีประเภทอื่น เพราะในฉันทลักษณ์ของฉันท์ไทย กำหนดไว้โดยละเอียดชัดเจน ทั้งเสียงหนักเสียงเบา (ครุ-ลหุ) ทั้งการสัมผัส กล่าวคือคำที่สำเร็จมาจากสระเสียงเดียวกัน อันเป็นการนับเสียงไว้ชัดเจน จำนวนคำจะขาดหรือจะเกินมิได้ ดังคำกวีประเภทอื่น
ฉันท์ไทยนั้น เราได้แบบมาจากฉันท์ภาษามคธ ซึ่งปรากฏในคัมภีร์ วุตโตทัย และในคัมภีร์วุตโตทัยนั้น โบราณาจารย์ท่านรจนาฉันทลักษณ์ไว้ เรียกว่าคาถา จัดเป็น ๒ ประเภท คือ คาถาวรรณพฤติและคาถามาตราพฤติ
ในพฤติทั้งสองนี้ วรรณพฤติมี ๘๑ คาถา มาตราพฤติมี ๒๗ คาถา มีชื่อฉันท์คุมกลุ่มคาถาอีกชั้นหนึ่ง รวมคาถาทั้ง ๒ ประเภทนี้ เป็น ๑๐๘ คาถา วรรณพฤติ คือ การกำหนดคำที่มีเสียงหนัก (ครุ) และคำที่มีเสียงเบา (ลหุ) บังคับคำที่หนัก-เบา เป็นหลัก มาตราพฤติ คือการนับคำเสียงหนัก (ครุ) เป็น ๒ มาตรา คำที่เสียงเบา (ลหุ) คำหนึ่งเป็น ๑ มาตรา จึงมีข้อแตกต่างกัน ไทยเรานำเอาซึ่งคาถานั้น ๆ และฉันทลักษณ์ แห่งคาถานั้น ๆ มาบัญญัติเรียกว่า ฉันท์ เช่น วสันตดิลกฉันท์ ๑๔ ในคัมภีร์วุตโตทัย เรียกว่า วสันตดิลกคาถา อยู่ในหมวดฉันท์ ๑๔ พยางค์ ซึ่งเรียกฉันท์ว่า สักกรีฉันท์ ไทยเรานำมาบัญญัติใหม่เรียกว่า วสันตดิลกฉันท์ ๑๔ โดยนำเอาฉันทลักษณ์ของวสันตดิลกคาถามาเพียงครึ่งเดียว คือ ๒ บาท มาแบ่งเป็น ๒ บาท ๆ ละ ๒ วรรค เพิ่มสัมผัสในบาทและต่างบาททั้งต่างบทไว้ชัด แม้ฉันท์อื่น ๆ ก็เป็นโดยลักษณะนี้
คาถาในภาษามคธนั้น บังคับเฉพาะจำนวนคำ คือคำที่มีเสียงหนัก (ครุ) คำที่มีเสียงเบา (ลหุ) ไว้ชัดเจนว่า ฉันท์ใดมีจำนวนคำที่มีเสียงหนักเท่าใด มีจำนวนคำที่มีเสียงเบาเท่าใด รวมแล้วเป็นกี่คำอย่างชัดเจน จะขาดหรือจะเกินมิได้ แต่มิได้บังคับให้มีสัมผัส ทั้งภายในวรรคทั้งนอกวรรคไว้เลย เพราะสระมาตรา (แม่) อันเป็นเครื่องทำเสียงมีน้อย บางคราวย่อมมีคำสัมผัสอยู่ภายใน แต่มิได้บังคับ
แต่ฉันท์ในภาษาไทยเรานั้น เราได้นำฉันทลักษณ์จากคัมภีร์วุตโตทัยเป็นหลักในเรื่องจำนวน และเสียงหนักเบา แล้วกำหนดเพิ่มสัมผัสนอกวรรคและนอกบทไว้ กล่าวคือจัดให้มีสัมผัสในบาทหรือในวรรคในบทเดียวกัน และการส่งและรับสัมผัสต่างบทไว้ตามลักษณะของแต่ละฉันท์ ตามที่เห็นว่าพอเหมาะสมแก่ภูมิปัญญาของคนไทยและเสียงดนตรีไทย
การนำฉันทลักษณ์ในภาษามคธ มาปรับปรุงเป็นฉันทลักษณ์ไทยนั้น บางชนิดนำมาเพียงครึ่งเดียว แล้วแบ่งให้ครบบทฉันท์ไทย เช่น วสันตดิลก ในภาษามคธ บทหนึ่งหรือคาถาหนึ่งมี ๔ บาท ๆ ละ ๑๔ คำ รวมเป็น ๕๖ คำ เป็นคาถาหนึ่ง ไทยเรานำเอามาเพียง ๒ บาท ๒๘ คำ มาจัดเป็น ๒ บาท แบ่งออกเป็น ๔ วรรค แต่ละบาท วรรคแรก ๘ คำ วรรคที่สอง ๖ คำ ๒ บาท ๔ วรรค รวมเป็น ๒๘ คำ เท่านั้น แต่บางฉันท์นำมาครบทั้ง ๔ บาท เช่น วิปริตปัฐยาวัตรฉันท์ ๓๒ นำมาทั้ง ๔ บาท ๆ ละ ๘ คำ รวมเป็น ๓๒ คำ บางฉันท์นำมาเพียง ๑ บาท เช่น สัทธราฉันท์ ๒๑ ในภาษามคธ เป็นฉันท์ ๔ บาท ๆ ละ ๒๑ คำ รวมเป็น ๘๔ คำ ไทยเรานำเอาเพียง ๑ บาท จำนวน ๒๑ คำ จัดแบ่งเป็น ๔ วรรค และจัดวางแยกวรรค และบังคับสัมผัสให้เหมาะสม
ในการบัญญัติเสริมฉันทลักษณ์ของแต่ละฉันท์นั้น เป็นเพียงการเสริมให้เหมาะสมกับเสียงดนตรี เช่น การจัดวรรคตอน การให้สัมผัสระหว่างบาท ระหว่างวรรค ระหว่างบทต่อบท ฉันทลักษณ์ไทยจึงมีลักษณะละเอียดยิ่งขึ้น ผู้ประสงค์จะเรียนแต่งหรืออ่านฉันท์ไทย จะต้องเรียนให้ทราบหลักเกณฑ์อย่างถูกต้อง และครบถ้วน จึงขอนำมาแสดงพอเป็นแนวทางแห่งการศึกษา
คณะฉันท์
ครุและลหุ
ศัพท์ลอย
ยัติภังค์
สัมผัส
- ตนุมัชฌาฉันท์ ๖
- กุมารลลิตาฉันท์ ๗
- จิตรปทาฉันท์ ๘
- วิชชุมมาลาฉันท์ ๘
- มาณวกฉันท์ ๘
- สมานิกาฉันท์ ๘
- ปมาณิกาฉันท์ ๘
- หลมุขีฉันท์ ๙
- ภุชคสุสุสฏาฉันท์ ๙
- สุทธวิราชิตฉันท์ ๑๐
- ปณวฉันท์ ๑๐
- รุมมวดีฉันท์ ๑๐
- มัตตาฉันท์ ๑๐
- จัมปกมาลาฉันท์ ๑๐
- มโนรมาฉันท์ ๑๐
- อุพภาสกฉันท์ ๑๐
- อุปัฏฐิตาฉันท์ ๑๑
- อินทรวิเชียรฉันท์ ๑๑
- อุเปนทรวิเชียรฉันท์ ๑๑
- อุปชาติฉันท์ ๑๑
- สุมุขีฉันท์ ๑๑
- โทธกฉันท์ ๑๑
- สาลินีฉันท์ ๑๑
- วาโตมมีฉันท์ ๑๑
- สิรีฉันท์ ๑๑
- รโถทธฏาฉันท์ ๑๑
- สวาคตาฉันท์ ๑๑
- ภัททิกาฉันท์ ๑๑
- อินทรวงศ์ฉันท์ ๑๒
- วังสัฏฐฉันท์ ๑๒
- โตฎกฉันท์ ๑๒
- ทุตวิลัมพิตฉันท์ ๑๒
- ปุฏฉันท์ ๑๒
- กุสุมวิจิตตาฉันท์ ๑๒
- ภุชงคประยาตฉันท์ ๑๒
- ปิยังวทาฉันท์ ๑๒
- ลลิตาฉันท์ ๑๒
- ปมิตักขราฉันท์ ๑๒
- อุชชลาฉันท์ ๑๒
- เวสสเทวีฉันท์ ๑๒
- ตามรสฉันท์ ๑๒
- กมลาฉันท์ ๑๒
- ปหัสสิณีฉันท์ ๑๓
- รุจิราฉันท์ ๑๓
- อปราชิตาฉันท์ ๑๔
- ปหรณกลิกาฉันท์ ๑๔
- วสันตดิลกฉันท์ ๑๔
- สสิกลาฉันท์ ๑๕
- มณิคุณนิกรฉันท์ ๑๕
- มาลินีฉันท์ ๑๕
- ปภัททกฉันท์ ๑๕
- วาณินีฉันท์ ๑๖
- ปัฐยาวัตรฉันท์ ๑๖
- จปลาวัตตฉันท์ ๑๖
- วัตตฉันท์ ๑๖
- สิขริณีฉันท์ ๑๗
- หริณีฉันท์ ๑๗
- มันทักกันตาฉันท์ ๑๗
- กุสุมิตลตาเวลลิตาฉันท์ ๑๘
- เมฆวิปผุชชิตาฉันท์ ๑๙
- สัททูลวิกกีฬิตฉันท์ ๑๙
- วุตตฉันท์ ๒๐
- เวควดีฉันท์ ๒๑
- เกตุมดีฉันท์ ๒๑
- ภัททวิราชฉันท์ ๒๑
- สัทธราฉันท์ ๒๑
- ภัททกฉันท์ ๒๒
- อุปจิตตฉันท์ ๒๒
- อาขยานกีฉันท์ ๒๒
- วิปริตาขยานกีฉันท์ ๒๒
- ทุตมัชฌาฉันท์ ๒๓
- หริณปลุตาฉันท์ ๒๓
- อปรวัตตฉันท์ ๒๓
- ปิงคลวิปุลาฉันท์ ๒๔
- ปุปผิตัคคาฉันท์ ๒๕
- ยวมดีฉันท์ ๒๕
- นการวิปุลาฉันท์ ๓๒
- ตการวิปุลาฉันท์ ๓๒
- ภการวิปุลาฉันท์ ๓๒
- รการวิปุลาฉันท์ ๓๒
- วิปรีตปัฐยาวัตรฉันท์ ๓๒
- อุปัฏฐิตาฉันท์ ๑๐
- อินทรลีลาศฉันท์ ๑๑
- อุปชาติฉันท์ ๑๒
- อินทรวงศลีลาศฉันท์ ๑๒
- เหมันตดิลกฉันท์ ๑๓
- ติลกัฏฐฉันท์ ๑๓
- อุปชาติฉันท์ ๑๓
- เหมันตลีลาศฉันท์ ๑๓
- อุปดิลกฉันท์ ๑๔
- อุปชาติฉันท์ ๑๔
- วสันตลีลาศฉันท์ ๑๔
- สุรางคนางค์ฉันท์ ๒๘
โวหาร
ประเภทกวีนิพนธ์
ฉันทลักษณ์
สระ
พยัญชนะ
เครื่องประกอบอื่น
การอ่านคำประพันธ์
ร่าย
กาพย์
กลอน
โคลง
ฉันท์