วรรณกรรม สุภาษิต ข้อคิด คำคม สำนวน โวหาร งานเขียน >>
(ร่าย กาพย์ กลอน โคลง ฉันท์)
ประเภทกวีนิพนธ์
ตำรากวีนิพนธ์ ซึ่งว่าด้วยแบบแผน ว่าด้วยหลักวิชา ว่าด้วยการแต่งกวี ทั้งที่เป็นหลักเกณฑ์และวิธีการ คำกวีนิพนธ์นั้น มีทั้งในภาษามคธและในภาษาไทย ภาษามคธนั้นมีมานมนาน เมื่อพระพุทธเจ้าทรงประกาศพระพุทธศาสนา ทรงแสดงธรรมด้วยคาถาที่เป็นภาษามคธ ก็เป็นคำกวีนั่นเอง เพียงแต่มีคัมภีร์วุตโตทัยกำหนดหลักเกณฑ์ขึ้นภายหลังเท่านั้น และในภาษาไทย เห็นจะเกิดมีขึ้นในสมัยต้นกรุงสุโขทัย กวีในภาษาไทยนั้น เห็นจะเป็นร่ายที่เกิดก่อนอย่างอื่น เพราะในศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแหง ทำให้มองเห็นชัดว่ามีร่ายเกิดขึ้นแล้ว ชนิดอื่น ๆ ตามมาภายหลัง และเห็นจะมีมากและเกือบสมบูรณ์แต่สมัยกรุงศรีอยุธยา
ในการจัดประเภทกวีในภาษาไทยนั้น เพียงจัดของเดิมเข้าที่ กวีนิพนธ์ในภาษาไทยนั้น บางอย่างได้แบบจากภาษามคธ คือฉันท์และกาพย์ แม้จะแยกกล่าวเฉพาะของไทย ก็จำเป็นต้องพูดถึงภาษามคธบ้างเป็นธรรมดา คำประพันธ์แบบร้อยกรองเป็นภาษาไทยนั้น ไทยได้แบบจากภาษามคธ ซึ่งมี ๒ แบบ คือ คาถาหรือฉันท์ และกาพย์ โดยมีคัมภีร์วุตโตทัย คัมภีร์กาพย์สารวิลาสินี และคัมภีร์กาพย์คันถะ เป็นหลัก ในปัจจุบันนี้ ไทยคงเรียนฉันท์ภาษามคธเฉพาะที่ใช้เป็นหลักสูตรบาลีชั้นประโยค ป.ธ.๘ เท่านั้น
ส่วนคำกวีในภาษาไทย หรือคำร้อยกรองในภาษาไทยนั้น มี ๕ ประเภท คือ ร่าย ๑ กาพย์ ๑ กลอน ๑ โคลง ๑ ฉันท์ ๑ และทั้ง ๕ ประเภทนี้ มีฉันทลักษณ์แตกต่างกัน บางประเภทยึดฉันทลักษณ์ของคาถาและของกาพย์ภาษามคธเป็นหลัก แต่ปรับปรุงเพิ่มเติมฉันทลักษณ์อื่น ให้เหมาะสมกับภูมิปัญญาไทย บางประเภทได้กำหนดขึ้นใหม่ ทั้ง ๕ ประเภทนี้เป็นคำประพันธ์ที่มีสุนทรียรสหรือสุนทรียารมณ์มากกล่าวรรณกรรมแบบร้อยแก้ว
โวหาร
ประเภทกวีนิพนธ์
ฉันทลักษณ์
สระ
พยัญชนะ
เครื่องประกอบอื่น
การอ่านคำประพันธ์
ร่าย
กาพย์
กลอน
โคลง
ฉันท์