วรรณกรรม สุภาษิต ข้อคิด คำคม สำนวน โวหาร งานเขียน >>

กวีนิพนธ์

(ร่าย กาพย์ กลอน โคลง ฉันท์)

โคลง

โคลง เป็นคำประพันธ์แบบไทย ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานให้ความหมายว่า เป็นนาม แล้วขยายว่า คำประพันธ์ประเภทหนึ่ง มีจำนวนคำในวรรคสัมผัสและบังคับเอกโทตามตำราฉันทลักษณ์ จัดเป็นคำประพันธ์ชั้นสูง เป็นที่นิยมของแต่ชนชั้นสามัญจนถึงองค์พระมหากษัตริย์ ผู้รู้กล่าวว่า น่าจะกำเนิดครั้งแรกที่อาณาจักรลานนา แล้วไทยฝ่ายใต้รับมาปรับปรุงใช้ เริ่มเจริญที่เห็นชัดในรัชกาลสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ และเจริญมากสุดในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เป็นคำประพันธ์ที่ใช้แต่งมีทั้งเรื่องสั้นและเรื่องยาว เช่น แต่งภาษิตกระทู้โต้ตอบกัน แต่งโอวาท แต่งเป็นนิราศ แต่งเป็นลิลิตแต่ผสมกับร่าย โคลงเป็นคำประพันธ์ที่มีฉันทลักษณ์เฉพาะ ๔ อย่าง คือ พยางค์ สัมผัส วรรณยุกต์ และคำสร้อย

พยางค์ คือ ถ้อยคำที่ใช้ประพันธ์โคลงแต่ละชนิด กำหนดจำนวนไว้ชัดเจน จะเป็นคำโดด เช่น ฉัน กิน หรือคำผสม เช่น ผดุง ราชการ ก็ได้

สัมผัส คือ ถ้อยคำที่มีเสียงคล้องจองกัน กำหนดส่งจากบาทหนึ่งไปบาทหนึ่งโดยชัดเจน บางชนิดกำหนดสัมผัสในวรรคไว้ด้วย

วรรณยุกต์ คือ เครื่องช่วยทำเสียงให้แปรเปลี่ยนจากเสียงเดิม เช่น เดิมเสียงสามัญ ลงวรรณยุกต์แล้วเสียงสูงขึ้น กำหนดไว้ชัดเจน

คำสร้อย คือ คำที่ใช้เสริมความที่ขาดให้เต็ม และที่ใช้เสริมให้คำประพันธ์ให้เพราะพริ้งขึ้น เช่น แท้แล แลนา

โคลงสุภาพ ทั้ง ๔ ชนิด ข้างต้น กำหนดบทหนึ่งมี ๔ บาท บาทที่ ๑ และ ๓ มี ๗ คำ มีสร้อยได้ บาทที่ ๒ มี ๗ คำ บาทที่ ๔ มี ๙ คำ ให้ลงวรรณยุกต์เอก ๗ คำ วรรณยุกต์โท ๔ คำ เป็นคำสุภาพ ๑๙ รวมทั้งหมด ๓๐ คำ คำสร้อยมีได้ไม่เกิน ๖ คำ ส่วนโคลง ๓ สุภาพกำหนดบทละ ๔ บาท บาทที่ ๑, ๒, ๓ มีบาทละ ๕ คำ บาทที่ ๔ มี ๔ คำ รวม ๑๙ คำ และมีสร้อยได้ ๒ คำ และโคลง ๒ สุภาพ บทหนึ่งมี ๓ วรรค วรรคที่
๑, ๒ มีวรรคละ ๕ คำ วรรคที่ ๓ มี ๔ คำ รวมเป็น ๑๔ คำ และมีสร้อยได้ ๒ คำ มีวรรณยุกต์เอก ๓ และวรรณยุกต์โท ๓

ส่วนโคลงดั้นนั้น ทั้ง ๔ ชนิดข้างต้น บทหนึ่งมี ๔ บาท ๆ ละ ๒ วรรค รวมบาทละ ๗ คำ รวมเป็น ๒๘ คำ มีคำสร้อยเฉพาะบาทคี่ มีวรรณยุกต์เอก ๗ วรรณยุกต์โท ๔ แต่เปลี่ยนจากที่โคลงสุภาพบ้าง มีกำหนดให้แต่งครั้งละ ๒ บท ส่วนโคลง ๓ ดั้น ลดจำนวนวรรคลงเป็น ๓ วรรคครึ่ง รวม ๑๗ คำ มีวรรณยุกต์เอก ๓ วรรณยุกต์โท ๓ และโคลง ๒ ดั้น ลดลงเหลือ ๒ วรรคครึ่ง รวม ๑๒ คำ มีวรรณยุกต์เอก ๓ วรรณยุกต์โท ๓ ให้มีสร้อยได้อย่างละ ๒ คำ

โคลงสุภาพ
โคลงดั้น

โวหาร
ประเภทกวีนิพนธ์
ฉันทลักษณ์
สระ
พยัญชนะ
เครื่องประกอบอื่น
การอ่านคำประพันธ์
ร่าย
กาพย์
กลอน
โคลง
ฉันท์

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย