เทคโนโลยี นวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์ วิศวกรรม เกษตรศาสตร์ >>

ข้อมูลการเกษตร

การแปรรูปผลผลิต

อาหารจานเดียว

กรมส่งเสริมการเกษตร

การดำเนินงานส่งเสริมอาหารจานเดียว

วัตถุประสงค์ของการส่งเสริมอาหารจานเดียว

  1. เพื่อให้ประชาชนรู้จักความหมายและประโยชน์ของ "อาหารจานเดียว"
  2. เพื่อให้ประชาชนได้บริโภคอาหารที่มีปริมาณและสารอาหารครบถ้วนตามความต้องการของร่างกาย ซึ่งจะทำให้ร่างกายแข็งแรงและมีสุขภาพดี
  3. เพื่อให้ประชาชนรู้จักใช้อาหารพื้นบ้านและการใช้อาหารทดแทนมาประกอบอาหารครบ 5 หมู่ ในจานเดียว
  4. เพื่อให้ประชาชนเสริมสร้างอุปนิสัยในการบริโภคที่ง่าย ประหยัด และถูกหลักโภชนาการ

เป้าหมายผู้รับการส่งเสริม

  1. ครอบครัวเกษตรกร โดยผ่านทางแม่บ้านเกษตรกร
  2. นักเรียนในโครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน
  3. นักเรียนในโครงการอาหารกลางวันในโรงเรียน
  4. ประชาชนในโครงการผลิตอาหารเพื่อโภชนาการ
  5. ประชาชนทั่วไป

การนำตำรับอาหารจานเดียวไปเผยแพร่ให้เป็นที่ยอมรับของชาวชนบท ควรใช้วิธีการต่าง ๆ ในการส่งเสริมดังนี้

  1. ชี้แจงให้เห็นถึงความสำคัญของการบริโภคอาหารจานเดียวและความหมายของอาหารจานเดียว
  2. แนะนำตำรับอาหารจานเดียวที่เหมาะสมกับสภาพท้องถิ่น โดยการสาธิต จัดนิทรรศการและจัดอบรมในระดับต่าง ๆ
  3. จัดให้มีการแข่งขันการประกอบอาหารจานเดียว เพื่อเป็นการทดสอบความรู้ ความเข้าใจและให้เกิดความคิดริเริ่มในการคิดหรือดัดแปลงตำรับอาหารใหม่
  4. จัดทำเอกสารตำรับอาหารจานเดียว
  5. จัดให้มีการประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนในท้องถิ่นได้ทราบถึงความสำคัญและการบริโภคอาหารจานเดียว โดยใช้สื่อมวลชนต่าง ๆ เช่น การออกข่าววิทยุ หนังสือพิมพ์ท้องถิ่น ฯลฯ

การประเมินผล

  1. ใช้แบบสอบถามกับกลุ่มบุคคลเป้าหมาย
  2. การสังเกตการยอมรับการบริโภคอาหารจานเดียวของกลุ่มเป้าหมาย

หลักการประกอบอาหารจานเดียว

อาหารจานเดียวเป็นอาหารที่บริโภคได้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ จะแตกต่างกันที่ปริมาณและการจัดอาหาร ดังนั้นก่อนจะประกอบอาหารจานเดียวควรคำนึงถึง

ประโยชน์

  1. อาหารจานเดียวจะต้องมีคุณค่าทางโภชนาการ ประกอบด้วยอาหารหลักครบ 5 หมู่
  2. การประกอบอาหารจานเดียวต้องสงวนคุณค่าทางโภชนาการ เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อร่างกายอย่างแท้จริงและปรุงแต่งรส สี กลิ่น โดยใช้สี กลิ่น ตามธรรมชาติของอาหาร ตลอดจนการจัดอาหารให้ได้สัดส่วน น่ารับประทาน เพื่อให้เกิดการยอมรับและเชิญชวนในการบริโภค
  3. ลักษณะเนื้อสัมผัส ต้องจัดให้เหมาะสมกับการบริโภคของกลุ่มบุคคลเป้าหมาย เช่น เด็กวัยก่อนเรียน มักไม่ชอบรับประทานเนื้อสัตว์ ผักสด เพราะมีเนื้อสัมผัสแข็ง เคี้ยวยาก รสขม ประกอบกับเด็กวัยนี้ฟันผุ การเคี้ยวอาหารจึงไม่สะดวก ดังนั้นการเตรียมอาหารจึงควรหั่นชิ้นอาหารให้มีขนาดเล็กและควรหุงต้มอาหารให้มีเนื้อนุ่ม เพราะเด็กวัยนี้ฟันกำลังผุ

ประหยัด

  1. ประหยัดงบประมาณ ค่าใช้จ่าย กำลังคนหรือแรงงาน งานและประหยัดระยะเวลา โดยมีขั้นตอนและการประกอบอาหารไม่ยุ่งยาก วิธีการประกอบอาหารทำได้ง่าย สะดวก รวดเร็ว ใช้อุปกรณ์น้อยทั้งในการเตรียม การเสิร์ฟ ประหยัดน้ำในการล้างอุปกรณ์
  2. การประกอบอาหารจานเดียวควรใช้วัตถุดิบที่มีมากและหาง่าย ซึ่งทำได้โดยการใช้อาหารที่มีตามฤดูกาลหรืออาหารที่มีในท้องถิ่น เช่น การใช้ถั่วเมล็ดแห้งแทนเนื้อสัตว์ หรือการใช้ถั่วเมล็ดแห้งร่วมกับเนื้อสัตว์ เพื่อให้อาหารนั้นราคาถูกลง แต่ได้คุณค่าทัดเทียมอาหารที่ใช้เนื้อสัตว์ล้วน

ปลอดภัย

การประกอบอาหารให้ปลอดภัยจากจุลินทรีย์ พยาธิ และสารเคมีและสิ่งปนเปื้อนต่าง ๆ

» การดำเนินงานส่งเสริมอาหารจานเดียว
» ข้อแนะนำในการทำอาหารจานเดียว
» ตารางเสนอแนะสัดส่วนอาหารจานเดียว
» ข้าวผัดไข่ใส่ถั่วแดงหลวง
» ข้าวผัดพระตำหนักสวนกุหลาบ
» ข้าวผัดอนามัยสามสี
» ข้าวผัดน้ำพริกเผาเสริมถั่ว
» ข้าวผัดมังสวิรัต
» ข้าวผัดรวมมิตรเกษตร
» ผัดเส้นพระตำหนักสวนกุหลาบ
» เส้นหมี่ผัดเต้าหู้ยี้
» ผัดหมี่ชาวเหนือ
» หมี่กะทิ
» ข้าวราดหน้าไก่คะน้าถั่วแดง
» ไข่กวนถั่วเขียวราดหน้าผักคะน้า
» ข้าวราดหน้าหมูปั้นก้อนผสมถั่ว
» เส้นราดหน้าพระตำหนักสวนกุหลาบ
» ก๋วยเตี๋ยวเนื้อสับผสมถั่ว
» สุขาภิบาลอาหาร

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย