สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมือง เศรษฐศาสตร์ >>

สงครามมหาเอเซียบูรพา

การทำความตกลงสมบูรณ์แบบ

คณะผู้แทนไทยได้เดินทางไปสิงคโปร์ เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม 2488 ได้มีการประชุมเจรจากับฝ่ายอังกฤษหลายครั้ง และในวันที่ 1 มกราคม 2489 ไทยได้ยินยอมลงนามใน ความตกลงสมบูรณ์แบบ (Formal Agreement for The Temination of The State of War Between Siam and Great Britain and India) มีสาระสำคัญดังนี้

  1. รัฐบาลไทยตกลงบอกปฏิเสธการประกาศสงคราม เมื่อวันที่ 25 มกราคม ค.ศ. 1942
  2. รัฐบาลไทยแถลงว่าเป็นโมฆะบรรดาการที่ได้มาซึ่งอาณาเขตของบริติช ที่ประเทศไทยได้กระทำหลัง
    จากวันที่ 7 ธันวาคม ค.ศ. 1941 จะถอนบรรดาเจ้าหน้าที่และทหารไทยออกจากอาณาเขตบริติช คืนทรัพย์สินที่ได้เอาไปจากอาณาเขตเหล่านี้ จะใช้ค่าทดแทนอันเกิดจากที่ประเทศไทยยึดครองอาณาเขตเหล่านี้ จะไถ่ถอนเป็นเงินสเตอร์ลิงจากทุนสำรองสเตอร์ลิงที่เคยมีอยู่ซึ่งธนบัตรไทยที่เดินสะพัดอยู่
  3. รัฐบาลไทยตกลงว่า จะยอมรับผิดชอบชดใช้บรรดาทรัพย์สิน สิทธิ และผลประโยชน์ทุกชนิด ของฝ่ายบริติชในประเทศไทย
  4. รัฐบาลไทยตกลงว่า จะเลิกพิทักษ์ธุรกิจจากธนาคารพาณิชย์ฝ่ายบริติช และยอมให้ดำเนินธุรกิจต่อไป
  5. รัฐบาลไทยตกลงยอมรับผิด โดยบวกดอกเบี้ยตามอัตราส่วนร้อยที่สมควรในส่วนการใช้เงินค้างจ่าย
    เกี่ยวกับเงินกู้
  6. รัฐบาลไทยตกลงว่า จะร่วมมือเต็มที่ในบรรดาข้อตกลงเพื่อความมั่นคงระหว่างประเทศ ซึ่งองค์การสหประชาชาติเห็นชอบแล้ว
  7. รัฐบาลไทยรับว่า จะไม่ตัดคลองข้ามอาณาเขตไทย เชื่อมมหาสมุทรอินเดีย กับอ่าวไทย โดยที่รัฐบาลแห่งสหราชอาณาจักรมิได้เห็นพ้องด้วยก่อน
  8. รัฐบาลไทยตกลงว่า จะจัดการเพื่อสถาปนา การค้าระหว่างประเทศไทย กับอาณาเขตบริติชที่ใกล้เคียง
  9. รัฐบาลไทยรับว่า จะเจรจากับรัฐบาลสหราชอาณาจักรโดยเร็วที่สุด เพื่อทำสนธิสัญญาการตั้งถิ่นฐานการพาณิชย์ และการเดินเรือฉบับใหม่
  10. ข้อความเหมือนข้อ 9 แต่ทำกับรัฐบาลอินเดีย
  11. ระหว่างที่ยังไม่ได้ทำสนธิสัญญาดังกล่าวในข้อ 9 และข้อ 10 รัฐบาลไทยรับว่าจะถือตามบทบัญญัติ แห่งสนธิสัญญาการพาณิชย์และเดินเรือ เมื่อปีวันที่ 23 พฤศจิกายน ค.ศ. 1937
  12. รัฐบาลไทยรับว่า จะมีส่วนร่วมในข้อตกลงระหว่างประเทศทั่วไปใด ๆ เกี่ยวกับดีบุกหรือยาง ซึ่งอนุโลมตามหลักการข้อตกลงว่าด้วยโภคภัณฑ์ ตามแต่องค์การสหประชาชาติหรือคณะมนตรีเศรษฐกิจและ การสังคมแห่งองค์การนั้นจะได้ตกลงกัน
  13. ไม่ช้ากว่าวันที่ 1 กันยายน 1947 รัฐบาลไทยรับว่า นอกจากจะเป็นไปตามคำแนะนำของ คณะกรรมการผสม ณ วอชิงตัน หรือองค์คณะใด ๆ ที่จะมาทำการแทน และในกรณีข้าว นอกจากจะได้เป็นไปตามคำอำนวยขององค์การพิเศษ ที่จะจัดตั้งขึ้นเพื่อการนั้นแล้ว จะห้ามบรรดาการส่งข้าว ดีบุก ยางและไม้สักออกนอก ประเทศ และจะจัดระเบียบการค้าและเร้าการผลิตโภคภัณฑ์เหล่านี้
  14. รัฐบาลไทยรับว่า เมื่อเอาข้าวไว้ให้พอเพียงแก่ความต้องการภายในของไทยแล้ว จะจัดให้มีข้าวสาร ณ กรุงเทพ ฯ โดยไม่คิดมูลค่า เพื่อให้องค์การที่รัฐบาลแห่งราชอาณาจักรจะได้แจ้งให้ทราบนั้น
    ใช้ประโยชน์ได้เป็นปริมาณเท่ากับข้าวส่วนที่เหลือ ซึ่งสะสมไว้และมีอยู่ในประเทศไทย ณ บัดนี้ แต่ไม่เกินหนึ่งกับกึ่งล้านตัน เป็นอย่างมาก หรือจะได้ตกลงกันให้เป็นข้าวเปลือก หรือข้าวกล้องอันมีค่าเท่ากันก็ได้
  15. ไม่ช้ากว่าวันที่ 1 กันยายน 1947 รัฐบาลไทยตกลงว่า จะจัดให้องค์การข้าวดังกล่าวในข้อ 13
    และข้อ 14 ใช้ประโยชน์ได้ในข้าวทั้งหมด อันเป็นส่วนที่เหลือจากความต้องการภายในประเทศไทย
  16. รัฐบาลไทยจะให้สายการเดินอากาศฝ่ายพลเรือนแห่งจักรภพประชาชาติบริติช ได้รับผลปฏิบัติ โดยความตกลงอันจะได้เจรจากันกับรัฐบาลแห่งสมาชิกของจักรภพประชาชาติบริติช
  17. รัฐบาลไทยรับว่า จะทำความตกลงกับรัฐบาลแห่งสหราชอาณาจักรและรัฐบาลอินเดีย
    เพื่อต่างฝ่ายต่างบำรุงรักษาที่ฝังศพสงคราม
  18. รัฐบาลไทยตกลงว่า ยังคงใช้อยู่ซึ่งบรรดาสนธิสัญญาสองฝ่าย ระหว่างสหราชอาณาจักรกับ ประเทศไทย และระหว่างอินเดียกับประเทศไทย ตามแต่รัฐบาลแห่งสหราชอาณาจักรและรัฐบาลอินเดียจะได้ ระบุแล้วแต่กรณี ภายใต้บังคับแห่งข้อแก้ไขใด ๆ ที่รัฐบาลแห่งสหราชอาณาจักรหรือรัฐบาลอินเดียจะแจ้ง ให้ทราบ และถือสนธิสัญญาใด ๆ ซึ่งมิได้ระบุไว้ดังกล่าวนั้น เป็นอันยกเลิกไป
  19. รัฐบาลไทยตกลงถือว่า ยังใช้อยู่ระหว่างสหราชอาณาจักรกับประเทศไทย และระหว่างอินเดียกับ ประเทศไทย บรรดาสนธิสัญญา อนุสัญญา หรือความตกลงหลายฝ่าย ซึ่งทำไว้ก่อนวันที่ 7 ธันวาคม 1941 ในกรณีที่ประเทศไทยมิได้เป็นภาคี รัฐบาลของประเทศทั้งสองดังกล่าวจะได้แจ้งให้ประเทศไทยทราบ รัฐบาลไทยจะได้จัดการที่จำเป็นโดยทันที ตามความในสนธิสัญญา อนุสัญญา หรือความตกลงดังกล่าว
  20. ในระหว่างที่ยังไม่ได้รับให้เข้าเป็นภาคีแห่งองค์การระหว่างประเทศใด ๆ ซึ่งตั้งขึ้นภายหลังวันที่ 7 ธันวาคม 1941 อันเป็นองค์การที่สหราชอาณาจักรหรืออินเดียเป็นสมาชิกอยู่ รัฐบาลไทยตกลงว่า จะปฎิบัติตามข้อผูกพันใด ๆ ซึ่งเกิดขึ้นหรือเนื่องด้วยองค์การนั้น ๆ หรือเอกสารที่จัดตั้งองค์การนั้น ๆ ขึ้นตามแต่รัฐบาลแห่งสหราชอาณาจักรหรืออินเดีย แล้วแต่กรณี จะได้ระบุในเวลาใด ๆ
  21. โดยคำนึงถึงคำมั่นสัญญาซึ่งรัฐบาลไทยให้ไว้ข้างบนนี้ รัฐบาลแห่งสหราชอาณาจักร และรัฐบาลอินเดีย ตกลงถือว่าสงครามสิ้นสุดลง และจะดำเนินการโดยทันที ในอันจะกลับเจริญความสัมพันธไมตรี กับประเทศไทย และแลกเปลี่ยนผู้แทนทางทูตกัน
  22. รัฐบาลแห่งราชอาณาจักรและรัฐบาลอินเดียรับรองด้วยว่า จะสนับสนุนการที่ประเทศไทย สมัครเข้าเป็นสมาชิกแห่งสหประชาชาติ
  23. ภาคีผู้ทำสัญญานี้ตกลงกันว่า คำว่า "บริติช" ในความตกลงนี้
    1) เมื่อใช้แก่บุคคลธรรมดา หมายความว่า บรรดาในข้อบังคับของพระมหากษัตริย์แห่งบริเตนใหญ่ไอร์แลนด์ และอาณาจักรบริติชโพ้นทะเล จักรพรรดิ์แห่งอินเดีย ตลอดจนบุคคลในอารักขาของพระมหากษัตริย์
    2) เมื่อใช้แก่อาณาเขต หมายความว่า บรรดาเขตใด ๆ ในอธิปไตย อธิราช อารักขา หรืออาณัตของพระมหากษัตริย์แล้วแต่กรณี
    3) เมื่อใช้แก่นิติบุคคล หมายความว่า บรรดานิติบุคคลซึ่งได้รับสถานภาพเช่นนั้น จากกฏหมายที่ใช้อยู่ในอาณาเขตใดๆดังกล่าวแล้ว
    4) เมื่อใช้แก่ทรัพย์สิน สิทธิ หรือผลประโยชน์ หมายความว่าทรัพย์สิน สิทธิหรือ ผลประโยชน์ ของบุคคลดังระบุไว้ใน 1) หรือ 3) ข้างต้น
  24. ความตกลงนี้ใช้ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป
    ทำควบกันเป็นสามฉบับ เป็นภาษาอังกฤษ ณ สิงคโปร์ เมื่อวันที่ หนึ่ง มกราคม คริสตศักราช พันเก้าร้อยสี่สิบหก ตรงกับ พุทธศักราชสองพันสี่ร้อยแปดสิบเก้า

การเตรียมการของไทย
การดำเนินการเจรจาทางการทูต
การปฎิบัติของสหรัฐและอังกฤษ
การเตรียมการต่อสู้ภายในประเทศ
การดำเนินการของรัฐบาลไทย เมื่อญี่ปุ่นขอเดินทัพผ่านไทย
สถานการณ์ทางทหารและการเมือง
จอมพล ป.พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีสั่งการ
ข้อตกลงระหว่างผู้แทนฝ่ายไทยและญี่ปุ่น
เหตุการณ์ขั้นต่อมา และข้อเรียกร้องของญี่ปุ่น
การร่วมวงศ์ไพบูลย์กับญี่ปุ่น
การประกาศสงคราม
การประกาศสงครามต่อบริเตนใหญ่ และสหรัฐอเมริกา
การดำเนินการของฝ่ายสัมพันธมิตร
การดำเนินสงคราม
การปฏิบัติการของกองทัพพายัพ
การจัดตั้งกองทัพพายัพ
การปกครองสหรัฐไทยเดิม
การปฏิบัติการทางอากาศ
การดำเนินการของฝ่ายไทยก่อนสงครามยุติ
ไทยประกาศสันติภาพ
ท่าทีของสัมพันธมิตรต่อไทยหลังสงครามยุติ
สภาวการณ์หลังสงคราม
การทำความตกลงสมบูรณ์แบบ
จดหมายเหตุ

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย

🍁 "บ้าน" มรดกทางวัฒนธรรม
"บ้าน" คือการบอกเล่าความเป็นมา คือการบอกล่าวถึงพัฒนาการในการดำรงชีพของมนุษย์ "บ้าน" ที่อยู่อาศัยหนึ่งในปัจจัยสี่ ซึ่งมีความจำเป็นสำหรับมนุษย์ และบ่งบอกถึงความั่นคง

🍁 ภูมิปัญญากีฬาไทย
กีฬาไทยที่บรรพชนไทยค้นคิด และถ่ายทอดมาสู่ลูกหลาน บางชนิดกลายเป็นตำนานและความทรงจำ และบางชนิดยังคงมีการเล่นกันอยู่

🍁 สะพานสู่ฟ้าใหม่
สะพานข้ามน้ำเป็นสัญลักษณ์การข้ามอุปสรรคขวางกั้นไปสู่จุดหมาย และการเชื่อมโยงสิ่งตรงข้ามมา เพื่อสร้างเอกภาพอันกลมกลืนมั่นคง

🍁 ทิวธงมงคลชัย
สิ่งสะท้อนความคิด และสืบทอดคติความเชื่อ ขนบธรรมเนียมประเพณี ของชนรุ่นแล้วรุ่นเล่า จากยุคสมัยหนึ่งสู่อีกยุคสมัยหนึ่ง ดุจตัวแทนที่น้อมนำสู่มงคลแห่งชีวิต

🍁 พระราชลัญจกรประจำรัชกาล
ตราประจำพระมหากษัตริย์ แต่ละรัชกาล ซึ่งจะทรงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเมื่อเริ่มต้นรัชกาล เพื่อประทับกำกับพระปรมาภิไธย ในเอกสารสำคัญต่างๆของชาติ ที่เกี่ยวกับราชการแผ่นดิน

🍁 สามล้อไทย
วิถีหนึ่งของสายทาง ซึ่งแม้เวลาจะหมุนเวียนเปลี่ยนไป หากสายทางของสามล้อยังคงผูกพัน เป็นส่วนหนึ่งของสังคมไทย

🍁 กีฬาสัตว์
ด้วยนิสัยช่างสังเกตของคนไทย จึงเป็นที่มาของกีฬาซึ่งใช้สัตว์เป็นผู้แข่งขัน จนกลายเป็นกิจกรรมบันเทิงพื้นบ้าน ยามว่างนับแต่อดีต

🍁 ตาลปัตร พัดรอง
พัดที่ทำจากใบตาลมีหลายรูปแบบ สำหรับใช้โบกให้ความเย็น และใช้เป็นการบ่งบอกถึงฐานะ บรรดาศักดิ์ของผู้ใช้

🍁 การออกกำลังสมอง
ถ้าเรามีการเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆอยู่ตลอดเวลา ไม่ทำอะไรซ้ำซาก จะเป็นการกระตู้นให้สมองมีการแตกกิ่งก้านสาขาเพิ่มขึ้น

🍁 กฎของนิวตัน
วัตถุที่หยุดนิ่งจะพยายามหยุดนิ่งอยู่กับที่ ตราบที่ไม่มีแรงภายนอกมากระทำ ส่วนวัตถุที่เคลื่อนที่จะเคลื่อนที่เป็นเส้นตรงด้วยความเร็วคงที่ ตราบที่ไม่มีแรงภายนอกมากระทำเช่นกัน

🍁 ปรมาณู
สสารใด ๆ ก็ตาม จะต้องมีขนาดจำกัด คือไม่สามารถตัดแบ่งให้เล็กลง ๆ อย่างไม่มีที่สิ้นสุดได้

🍁 โครโมโซม

🍁 หลุมดำ

🍁 การค้นพบเด่นในวงการดาราศาสตร์

🍁 วิหคมงคล

🍁 ธนาคารขยะรีไซเคิล

🍁 ลักษณะทั่วไปของปรัชญาจีน

🍁 นักปรัชญา

🍁 ปรัชญาเปรียบเทียบ

🍁 ตำราพิชัยสงคราม ซุนวู

🍁 โลกทัศน์อภิปรัชญาของเพลโต

🍁 โสกราตีส

🍁 การฟอกเงิน

🍁 นันทนจิต

🍁 ศาสตร์และศิลป์ทางการพูด

🐍 โปรดระวังงูฉก

ชีวิตคือการเดินทาง

ส่วนหนึ่งของการเดินทางเริ่มต้น
เมื่อตอนที่เราลืมตาขึ้นมาดูโลก
ตั้งแต่ตอนที่เราเกิด...

จากอดีตข้ามมาถึงปัจจุบัน
และกำลังจะไปสู่อนาคต
เพื่อที่จะเปลี่ยนมันให้กลายเป็นอดีต

วนเวียนเป็นวัฏจักรแห่งกาลเวลา
ที่ไม่สามารถย้อนกลับคืนไปได้
และเป็นอยู่อย่างนั้น

จนกว่าจะสิ้นสุดการเดินทาง
ที่ไหนสักแห่งบนโลกนี้
ที่ซึ่งเรามา

จากความว่างเปล่าสู่ความว่างเปล่า.

🐍 งูเขียว หางบอบช้ำ : เขียน

เชิญแวะอ่านสักนิดสักหน่อยก็ยังดี...

🌿 ฉายเดี่ยว (รวมงานเขียน)
อย่ารอให้ผีปู่ผีย่าต้องลุกขึ้นมาเอากระโถนน้ำหมากเขกกบาล สยามของท่านให้เราอยู่กิน ไม่ได้ให้มางี่เง่ากันเยี่ยงนี้

🌿 ตำนานบันลือโลก
เรื่องสั้น : เกรียงไกร รักมิตร : เขียน
ตาเฒ่านักเล่านิทานจากไปอย่างไร้ร่องรอย คงทิ้งไว้เพียงเรื่องราว ของกระต่ายกับเต่า กับความเพ้อฝันของนักเผชิญโชค ในโลกแห่งความจริง

🌿 บันทึกทรราชย์
เรื่องสั้น : เกรียงไกร รักมิตร : เขียน
โลกยังคงหมุนตัวเองรอบดวงอาทิตย์กับบาดแผลร้าวรานที่เกิดจากการกระทำอันเป็นปิตุฆาตของมวลมนุษย์

🌿 ผมเกือบได้เป็นนักแต่งเพลงชื่อดังเสียแล้ว
เรื่องสั้น : ภูเกรียงไกร หน่อรักมิตร : เขียน
ไปไม่ถึงตึกแกรมมี่ แบบไม่มีสิ่งใดให้ต้องกังวล ที่เหลือคือความทรงจำที่ลางเลือนเต็มที ผมเกือบได้เป็นนักแต่งเพลงชื่อดังเสียแล้ว

ยังมีอีก »


ชีวิตเริ่มต้นอีกครั้งหลังเกษียณ
ภูจอมยุทธ | Podcast

ชีวิตในแบบฉบับของตัวเอง หิวก็กินง่วงก็นอน อยากทำอะไรก็ทำ เบียดเบียนสภาพแวดล้อมแต่พองาม ประสบการณ์แบ่งปันผู้คน มากบ้างน้อยบ้าง วัดกับร้านเหล้าถือเป็นสถานอโคจร ที่ต้องรักษาระยะห่าง คลิกดู👆